เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: กรกฎาคม 2018

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทบรรณาธิการเนติ เล่มที่2 ภาค1 สมัยที่71


    บทบรรณาธิการเนติ เล่มที่2 ภาค1 สมัยที่71
-------------------------

    คำถาม ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่ผู้ให้กู้ ผู้กู้เรียกให้คืนเงินดอกเบี้ยได้หรือไม่ และผู้ให้กู้มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดงกล่าวหรือไม่
        คำตอบ ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ชำระไปจึงเกิดจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะ
        ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่ผู้ให้กู้ซึ่งตกเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑๑ ผู้กู้หาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากผู้กู้ เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ และผู้กู้ไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ ผู้ให้กู้ก็ย่อมไม่มีสิทธิ์ได้ดอกเบี้ยดงกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ไปหักเงินต้น ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๗๖/๒๕๖๐ โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ ๕ ต่อเดือน และโจทก์ยังเบิกความว่า หลังจากทำหนังสือสัญญากู้เงินแล้ว จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เดือนละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเวลา ๓ เดือน รวมเป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท ดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปจึงเกิดจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ (เดิม)
        จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ซึ่งตกเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑๑ จำเลยหาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ และจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิ์ได้ดอกเบี้ยดงกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ไปหักเงินต้น ตามหนังสือสัญญากู้เงิน

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๓๑/๒๕๖๐ โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้จำเลยกู้ยืมรวมค่าใช้จ่ายร้อยละ ๑.๓ ต่อเดือน หรือ อัตราร้อยละ ๑๕.๖ ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์นั้นคืน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๐๗ เมื่อดอกเบี้ยของโจทก์ เป็นโมฆะเท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
        สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ โจทก์ บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือในวันที่ ๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๗ พ้นกำหนด รยะเวลา ๗  วัน ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ เมื่อหนี้ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในระหว่างเวลาผิดนัดอัตรา ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗  เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ


        คำถาม ชื้อที่ดินซึ่งตกอยู่ในทางจำเป็น โดยผู้ซื้อ ซื้อที่ดินโดยสุจริต  ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจะยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่หรือไม่
        คำตอบ แม้ขายที่ดินโดยสุจริต ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่นั่นเอง เพราะทางจำเป็น เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัย ไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๘๖/๒๕๖๐ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินของจำเลยร่วมเป็นทางจำเป็นเพื่อเป็นทางออกจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะซึ่งติดต่อกับที่ดินของจำเลยร่วม โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางในที่ดินของจำเลยร่วมด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป แม้จำเลยร่วมจะโอนที่ดินให้แก่ ส. แล้ว ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องจะซื้อที่ดินโดยสุจริตก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่นั่นเอง ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางเป็นทางจำเป็นหาได้ไม่ แม้ผู้ร้องอ้างว่าทางจำเป็นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อเพิกถอนการบังคับคดีของโจทก์มิให้โจทก์ใช้ทางจำเป็นตามคำพิพากษาหาได้ไม่
        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๙ วรรคสี่ ผู้มีสิทธิจะผ่านจะต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อชั้นบังคับคดีผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นทางจำเป็นผู้ร้องในฐานะเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนตามคำพิพากษาศาลฏีกาได้

        คำถาม ผู้ถือหุ้นเพียงคนเดียวถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัทจำกัด จะดำเนินการประชุมและมีมติใดๆ ตามกฎหมายได้หรือไม่
        คำตอบ การประชุมเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือซึ่งที่ประชุมจะต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองคนเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินข้อมติต่างๆ  ที่เสนอต่อที่ประชุม หาใช่บุคคลเพียงคนเดียวจะทำการประชุมได้โดยลำพังไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘, ๑๑๘๐ และ ๑๑๙๐ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกฎหมายบุ่งประสงค์ให้บรรดาผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโดยมีประธานดำเนินการประชุมและมีการเสนอข้อมติให้ที่ประชุม ออกเสียงลงคะแนน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๗๔/๒๕๖๐ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘, ๑๑๘๐ และ ๑๑๙๐ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกฎหมายบุ่งประสงค์ให้บรรดาผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโดยมีประธานดำเนินการประชุมและมีการเสนอข้อมติให้ที่ประชุม ออกเสียงลงคะแนน การประชุมจึงเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือซึ่งที่ประชุมจะต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองคนเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินข้อมติต่างๆ  ที่เสนอต่อที่ประชุม หาใช่บุคคลเพียงคนเดียวจะทำการประชุมได้โดยลำพังไม่
        การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านมี ว ผู้รับมอบฉันทะของ ง. เป็นผู้ถือหุ้นที่มาประชุมเพียงคนเดียว แม้ ง. ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด แต่ผู้ถือหุ้น เพียงคนเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการประชุมและมีมติใดๆ ตามกฎหมายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘   ๑๑๘๐  และ ๑๑๙๐ การประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นและการลงมติจึงเป็นไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติอันเป็นข้อปฏิบัติของการประชุมใหญ่ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุม อันผิดระเบียบนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๕

        คำถาม ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กับผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวโดยสุจริต  ใครจะมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน
        คำตอบ ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกล่าวอ้างว่าได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นขอต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว 
        ดังนั้น เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๑๕๐/๒๕๕๙ ที่ดินทั้งสามแปลงมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของต่อมาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินทั้งสาม แปลงไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวโดยได้รับการยกให้จากพลตำรวจโท ก. และทำประโยชน์ปลูกมันสำปะหลังมาตั้งแต่ก่อนโจทก์จะรับจำนอง ที่ดิน เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา   ๑๒๙๙ วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นขอต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว   ซึ่งในคดีร้องขัดทรัพย์ ป.วิ.พ. มาตรา ๒๘๘  อยู่ภายใต้ บทบัญญัติแห่งมาตรา   ๕๕ เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยแจ้งชัดว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่งอย่างไรอันเป็นข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแหล่งข้อหาเช่นว่านั้น ผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ตามที่กล่าวอ้าง การที่ผู้ร้องบรรยายในคำร้องขอว่าคดีอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย   มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ ริบจำนองไว้โดยไม่สุจริต เมื่อผู้ร้องมิได้ตั้งประเด็นในคำร้องขอว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอก และรับจำนองโดยไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นด้งกล่าวได้ จึงต้องฟังว่าโจทก์รับจำนองโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐาน ของ ป.พ.พ. มาตรา  และเมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้ สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ 7 ก.ค 61 ภาคค่ำ กฎหมายอาญา มาตรา 288-366 อ.สุรสิทธิ์ สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ 7 ก.ค61 ภาคค่ำ กฎหมายอาญา มาตรา 288-366 อ.สุรสิทธิ์ สมัยที่71

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2503 การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพนั้น สำหรับมาตรา309 วรรคแรกจะต้องมีข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าจำเลยได้ข่มขืนใจ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ฯลฯ และสำหรับมาตรา 310 นั้น ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกายถ้าข้อเท็จจริงปรากฏตามฟ้องว่า โจทก์มีทางเข้าออกได้ แต่ไม่สะดวกและปลอดภัยเท่ากับทางเข้าออกทางประตูเดิม ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ยังไม่พอแสดงถึงการกระทำของจำเลยอันจะเป็นผิดทางอาญาตามขอได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2510 การที่จำเลยบอกกับโจทก์ว่าได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจกับจำเลย จำเลยจะนำตำรวจมาจับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยจับโจทก์ดังที่เจ้าพนักงานจับผู้ต้องหาไม่ ไม่เป็นการข่มขู่หน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้โจทก์ไปไหนไม่ได้ และไม่เป็นการทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518  (อ.เน้น น่าสนใจ) จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397

.... อ่านต่อ.....


 ----------------

***ทยอยอัพเดท...ติดตามโหลดถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น**
สรุปย่อคำบรรยายเนติ เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ LawSiam.com