เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ถอดไฟล์เสียง อ.ประเสริฐ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดไฟล์เสียง อ.ประเสริฐ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดไฟล์เสียง อ.ประเสริฐ แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1

 ถอดไฟล์เสียง เนติ  วิชา ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) สมัยที่70
วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1 
---------------------------


        ทางสำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภายินดีต้อนรับนักศึกษาทุกท่าน ในปีที่ผ่านมาในการเปิดการบรรยายในวันแรก คือ วันจันทร์ ชั่วโมงแรก ทางเลขาธิการสำนักอบรมก็ได้ขึ้นมาพูดคุยกับนักศึกษา ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้บรรยายหลายท่าน ยกตัวอย่าง กฎหมายอาญาในวันเสาร์ ได้ มี อ.ทวีเกียรติฯ มาบรรยาย และในอาจารย์ในภาคค่ำ ได้เลื่อนไปบรรยายในภาคปกติ รวมถึงตลอดภาคทบทวนทางเนติฯ ได้คัดสรร ผู้บรรยายเก่งๆ หลายท่าน ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ มาบรรยาย ผู้สนใจก็สมัครฟังคำบรรยายได้ รวมถึง หนังสือรวมคำบรรยาย ผู้สนใจก็สั่งจองได้ เพราะมีกฎหมายแก้ไขใหม่
        กฎหมายตั๋วเงิน เป็นหัวข้อหนึ่งที่ใช้สอบในชั้นเนติบัณฑิต ระดับผู้ช่วยผู้พิพากษาหลายครั้งก็มีกฎหมายตั๋วเงิน เป็นต้น
        เนื่องจากวันนี้เป็นการบรรยายในครั้งแรก จึงพูดถึงเรื่องทั่วไป หรือเรียกว่าภาพรวมก่อน เริ่มต้นที่มาตราแรก คือ มาตรา ๘๙๘
๑. ตั๋วเงิน
        มาตรา ๘๙๘  อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือ เช็ค
        อันดับแรกเราก็มาดูในเรื่องของตั๋วแลกเงิน ตาม มาตรา ๙๐๘ จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคน หนึ่งเรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าเรื่องของตั๋วแลกเงินนั้นบุคคลผู้เกี่ยวข้องมีอยู่ ๓ คน
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน
        มาตรา ๙๘๒ บัญญัติว่า อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าตั๋วสัญญาใช้ เงินมีอยู่ ๒ คน คือ
        ๑. ผู้ออกตั๋ว
        ๒. ผู้รับเงิน

        และประเภทที่ ๓ คือ เช็ค ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องเช็คก็เป็นไปตามมาตรา ๙๘๗ ที่ว่า “อันเช็คนั้น คือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน” ก็มี ๓ คนด้วยกัน คือ
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ธนาคารหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน


        มีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเรื่องหนึ่งขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ข้อเท็จจริง ดังนี้  ...../ อ่านต่อ คลิก>>>ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1