เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยปัจจุบัน: ข้อสอบเก่า กฎหมายอาญา มาตรา ๖๑ อัยการผู้ช่วย (๒๕๓๓)

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ข้อสอบเก่า กฎหมายอาญา มาตรา ๖๑ อัยการผู้ช่วย (๒๕๓๓)

 

 ข้อสอบเก่า กฎหมายอาญา มาตรา ๖๑ อัยการผู้ช่วย (๒๕๓๓)


 ข้อสอบ ผู้สมัครเป็นข้าราชการในตําแหน่งอัยการ โดยวิธีการคัดเลือก วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๓๓

ข้อ ๑. มาตรา ๖๑ แห่ง ป.อ. บัญญัติว่า “ผู้ใดเจตนาจะกระทําต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทําต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่า มิได้กระทําโดยเจตนาหาได้ไม่” ดังนี้

(๑) ให้ท่านยกตัวอย่างกรณีของมาตรา ๖๑ ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นมา ๑ ตัวอย่าง และ

(๒) ถ้าไม่มีบทบัญญัติของมาตรา ๖๑ ใน ป.อ. ผลของการวินิจฉัยตัวอย่าง ที่ท่านยกมาใน (๑) นั้น จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร

 

การสำคัญผิดในตัวบุคคลนี้อาจเป็นการสำคัญผิดใน “ทรัพย์สิน” ของบุคคล ก็ได้ ตัวบทในมาตรา ๖๑ ที่ว่า “เจตนากระทําต่อบุคคลหนึ่ง” นั้น ไม่ได้หมายความว่า เจตนากระทําต่อชีวิตหรือร่างกายของบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิทธิอื่น ๆ เช่น สิทธิใน ทรัพย์สินด้วย

 

ตัวอย่าง

แดงหยิบเอา สายสร้อยดำ ไปขาย โดยเข้าใจว่าเป็นสายสร้อยของขาว ถือว่าแดงมีเจตนาลักสายสร้อยเส้นนั้นของดำนั่นเอง หรือแดงต้องการบุกรุกบ้านของขาว ในความมืดแดงเข้าไปในบ้านดำโดยเข้าใจว่าเป็นบ้านของขาว ถือว่าแดงมีเจตนาบุกรุกบ้านของดำ

กรณีแดงหยิบสายสร้อยของดำไปขายโดยเข้าใจผิดว่าเป็นของขาว

แดงมีเจตนาตามมาตรา ๕๙ ที่จะเอาสายสร้อยเส้นนั้น เพราะ

 (๑) แดง “รู้”  ว่าเป็นการ “เอาไป” ซึ่ง “ทรัพย์ของผู้อื่น” (หลักในมาตรา ๕๙ วรรคสาม) และ

(๒) แดงก็ประสงค์ต่อผล กล่าวคือ มุ่งหมายจะทําให้ทรัพย์ชิ้นนั้นเคลื่อนที่ (หลักใน มาตรา ๕๙ วรรคสอง)

เพราะฉะนั้น แดงจึงมี “เจตนาประสงค์ต่อผล” ตามมาตรา ๕๙ ในการลักสายสร้อย “เส้นนั้น” แดงจะยกเอาความสำคัญผิดในตัวบุคคลมากล่าวอ้างว่า ไม่มีเจตนาเอาไปซึ่งสายสร้อยเส้นนั้น โดยทุจริตไม่ได้

ความรับผิดของแดงต่อดำ เจ้าของสายสร้อย คือ มาตรา ๓๓๔, ๕๙, ๖๑ โดยแดงไม่ต้องรับผิดใด ๆ เลยต่อขาว เพราะสายสร้อยเส้นที่เอาไปเป็นของดำ แม้จะเข้าใจผิดว่าเป็นของขาวก็ตาม

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น