เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ถอดเทปเนติ ภาค1
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดเทปเนติ ภาค1 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ถอดเทปเนติ ภาค1 แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทปเนติ 1/70 วิชา มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1

ถอดเทป มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ สมัยที่70
 วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1
..............................

        สวัสดีครับนักศึกษา ในการเรียนเนติฯ ความยากอยู่ที่อะไร  อยู่ที่เรามีความขยันพอหรือไม่และมีความตั้งใจจริงหรือไม่ เมื่อจบปริญญาตรีมาแล้วก็คงไม่ยากสำหรับทุกคน  หลักสำคัญที่อาจารย์แนะนำ  คือ “สุ จิ ปุ ลิ”
        ที่ผ่านมาข้อสอบจะออกทั้งครอบครัวและมรดก แต่มีสมัยที่ ๖๗ , ๖๙ ที่ออกเฉพาะมรดก ดังนั้นข้อสอบที่ออกสอบได้นั้นหลักกฎหมายจะวนไปวนมา

เข้าสู่เนื้อหา
        มรดก เกิดขึ้นได้อย่างไร
        มรดกเกิดขึ้นได้เมื่อมีความตายตามาตรา มาตรา ๑๕๙๙
        มาตรา ๑๕๙๙  “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

        มาตรา ๑๖๐๒  เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๖๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น

          มาตรา ๑๗๕๓  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคคลในที่นี้ เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวแยกได้เป็น ๒ กรณี คือ

๑. ความตายตามธรรมชาติ (ตายความเป็นจริง)
        กรณีดังกล่าวจะเกิดปัญหาว่า ใครบ้างที่เป็นทายาท เช่น นายแดง เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดำ ถ้านายแดงตายก่อน นายดำมีสิทธิได้รับมรดกในทรัพย์สินของนายแดง  แต่ถ้าตายพร้อมกันต่างคนต่างไม่เป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก (กรณีตายพร้อมกัน ออกสอบแล้ว เมื่อสมัยที่ ๖๙)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๘/๒๕๕๔ เจ้ามรดกตลอดจนบุคคลในครอบครัวถูกสามีของเจ้ามรดกใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในเวลาต่อเนื่องกัน ถือเป็นการตายในเหตุภยันตรายร่วมกันและเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง จึงถือว่าทุกคนถึงแก่ความตายพร้อมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗ ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจึงไม่ตกไปยังบุตรของเจ้ามรดกซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายพร้อมกัน แต่จะตกได้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นน้าของเจ้ามรดก และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่า สามีของเจ้ามรดกเป็นผู้กระทำโดยเจตนาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจดำเนินคดีแก่สามีของเจ้ามรดกได้เนื่องจากสามีเจ้ามรดกฆ่าตัวตายไปก่อน จึงถือได้ว่าสามีของเจ้ามรดกเป็นบุคคลที่ต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับสามีของเจ้ามรดกจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก และเมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๑๒๙/๒๕๕๖ ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖๐๔ วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๖๓๙ เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗


๒. ความตายโดยผลของกฎหมาย