เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: 2018

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ1. ทรัพย์-ที่ดิน สมัยที่ 71

    เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ1. ทรัพย์-ที่ดิน






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ2. นิติกรรม สัญญา หนี้ สมัยที่ 71



          เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ2. นิติกรรม สัญญา หนี้ 






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ3. ละเมิด สมัยที่ 71

            เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ3. ละเมิด





สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ4. ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ สมัยที่ 71

        เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ  ข้อ4. ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ 







สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ5.วิชา ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ สมัยที่ 71

    เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ  ข้อ5.วิชา ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ สมัยที่ 71



สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ6.วิชา ตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด สมัยที่ 71

    เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ  ข้อ6.วิชา ตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด สมัยที่ 71






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ7. วิชา กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท สมัยที่ 71

         เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ7. วิชา กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท








สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ8. วิชา กฎหมายครอบครัว-มรดก สมัยที่ 71

    เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ8. วิชา กฎหมายครอบครัว-มรดก






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ9. วิชา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่71


          เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ9. วิชา กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ 
         








สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ10. วิชา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา สมัยที่71

        เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ  ข้อ10. วิชา กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา 






วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

เก็งเนติ ข้อ 2-3 อาญา สมัยที่ 71 เรื่อง การขัดขวาง (มาตรา 88)

เก็งเนติ ข้อ 2-3 อาญา สมัยที่ 71
------------------


การขัดขวาง (มาตรา 88)

(เก็ง กันอย่างแพร่หลาย มากมาย ในโลกออนไลน์ เผื่อออกสอบ*)


หลักเกณฑ์ของการขัดขวาง
1. ผู้ลงมือต้องกระทำถึงขั้นที่เป็นความผิดแล้ว
2. ผู้ใช้ ผู้โฆษณา หรือ ผู้สนับสนุน ขัดขวาง
3. การขัดขวางนั้นเป็นเหตุให้ผู้ลงมือกระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล

หากผู้ลงมือยังมิได้กระทำถึงขั้นเป็นความผิด ย่อมไม่เป็นการขัดขวางตามมาตรา 88

ตัวอย่าง แดงใช้ขาวไปฆ่าดำ ขณะที่ขาวชักปืนจะยิงดำ แดงเกิดสงสารจึงเข้าไปปัดปืนทิ้ง เช่นนี้ ไม่ใช่การขัดขวางตามมาตรา 88 เพราะการกระทำของขาว (ผู้ลงมือยังไม่ถึงขั้นเป็นความผิด) แต่แดงยังคงต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของมาตรา 289 (4) (ตามมาตรา 84) แต่ไม่ใช่เพราะการขัดขวางตามมาตรา 88

หมายเหตุ แต่ถ้าขาวยกปืนจ้องเล็งจะยิงดำแล้ว แต่แดงเข้ามาปัดปืนทิ้ง เช่นนี้ ถือว่าเป็นการขัดขวาง แดงผู้ใช้จึงต้องรับผิด เสมือนความผิดยังมิได้กระทำลง คือ1 ใน 3 ของมาตรา 289 (4) (ตามมาตรา 88)

ผลของการขัดขวางตามมาตรา 88
1) ผู้ใช้ ต้องรับโทษเสมือนความผิดยังมิได้กระทำลง คือ 1 ใน 3 ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
2) ผู้โฆษณา รับโทษเพียง กึ่งหนึ่ง (1 ใน 2) ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น
3) ผู้สนับสนุน ไม่ต้องรับโทษ (ต้องตอบว่ามีความผิดฐานสนับสนุนความผิดฐานพยายาม แต่ไม่ต้องรับโทษ)


ข้อเหมือนและข้อแตกต่างระหว่างการ ยับยั้ง หรือกลับใจ ตามมาตรา 82 กับการขัดขวางตามมาตรา 88

 ข้อที่แตกต่าง
1) ถ้าเป็นการกระทำของ ผู้ลงมือ หรือตัวการ จะเป็นการยับยั้งหรือกลับใจแก้ไขตามมาตรา 82
แต่ถ้า กระทำโดยผู้ใช้ , ผู้โฆษณา หรือ ผู้สนับสนุนจะเป็นการขัดขวางตามมาตรา 88
2) การยับยั้งหรือกลับใจ จะต้องกระทำโดยสมัครใจ หากล้มเลิกเพราะตำรวจมา จะอ้างยับยั้งหรือกลับใจแก้ไขตามมาตรา 82 ไม่ได้
แต่ การขัดขวาง ตามมาตรา 88 ไม่จำเป็นต้องกระทำโดยสมัครใจ แม้เข้าไปขัดขวางเพราะตำรวจมา ก็ได้รับผลดีตามมาตรา 88

ข้อที่เหมือนกัน
1) ทั้งมาตรา 82 และมาตรา 88 ต้องกระทำถึงขั้นที่เป็นความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้นยังไม่บรรลุผล (พยายาม หรือตระตรียมบางความผิด)
2) ทั้งมาตรา 82 และมาตรา 88 ต้องเป็นเหตุให้การกระทำนั้นไม่บรรลุผล หากปรากฏว่าถึงอย่างไรก็ไม่บรรลุผลอยู่ดี เช่น ยังไงก็ต้องมีพลเมืองดีมาช่วยอยู่ดี เพราะเป็นการยิงในที่ชุมนุมชน จะอ้างมาตรา 82 หรือมาตรา 88 ไม่ได้

อ้างอิง : หนังสือรวมคำบรรยายเนติ 1/71 (อ้างอิงที่มาจาก เพื่อน เนติ fb / เก็งจากสนามติว)

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

บทบรรณาธิการเนติ เล่มที่2 ภาค1 สมัยที่71


    บทบรรณาธิการเนติ เล่มที่2 ภาค1 สมัยที่71
-------------------------

    คำถาม ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่ผู้ให้กู้ ผู้กู้เรียกให้คืนเงินดอกเบี้ยได้หรือไม่ และผู้ให้กู้มีสิทธิได้ดอกเบี้ยดงกล่าวหรือไม่
        คำตอบ ดอกเบี้ยที่ผู้กู้ชำระไปจึงเกิดจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะ
        ผู้กู้ยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่ผู้ให้กู้ซึ่งตกเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑๑ ผู้กู้หาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ ผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากผู้กู้ เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ และผู้กู้ไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ ผู้ให้กู้ก็ย่อมไม่มีสิทธิ์ได้ดอกเบี้ยดงกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ไปหักเงินต้น ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๗๖/๒๕๖๐ โจทก์และจำเลยนำสืบรับกันว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ ๕ ต่อเดือน และโจทก์ยังเบิกความว่า หลังจากทำหนังสือสัญญากู้เงินแล้ว จำเลยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เดือนละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเวลา ๓ เดือน รวมเป็นเงิน ๗,๕๐๐ บาท ดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปจึงเกิดจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยย่อมตกเป็นโมฆะ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบด้วยมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗ (เดิม)
        จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ซึ่งตกเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๑๑ จำเลยหาอาจจะเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ และจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิ์ได้ดอกเบี้ยดงกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ไปหักเงินต้น ตามหนังสือสัญญากู้เงิน

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๓๑/๒๕๖๐ โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ให้จำเลยกู้ยืมรวมค่าใช้จ่ายร้อยละ ๑.๓ ต่อเดือน หรือ อัตราร้อยละ ๑๕.๖ ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.๒๔๗๕ มาตรา ๓ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๕๔ มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใดตามอำเภอใจเสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่ต้องชำระอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์นั้นคืน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๐๗ เมื่อดอกเบี้ยของโจทก์ เป็นโมฆะเท่ากับสัญญากู้ยืมมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระแก่โจทก์มาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิ์คิดได้ จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ไปชำระต้นเงินทั้งหมด
        สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีการกำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ โจทก์ บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือในวันที่ ๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๗ พ้นกำหนด รยะเวลา ๗  วัน ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ เมื่อหนี้ที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในระหว่างเวลาผิดนัดอัตรา ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗  เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ


        คำถาม ชื้อที่ดินซึ่งตกอยู่ในทางจำเป็น โดยผู้ซื้อ ซื้อที่ดินโดยสุจริต  ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นจะยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่หรือไม่
        คำตอบ แม้ขายที่ดินโดยสุจริต ผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่นั่นเอง เพราะทางจำเป็น เป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัย ไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๘๖/๒๕๖๐ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิใช้ที่ดินของจำเลยร่วมเป็นทางจำเป็นเพื่อเป็นทางออกจากที่ดินของโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะซึ่งติดต่อกับที่ดินของจำเลยร่วม โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้ทางในที่ดินของจำเลยร่วมด้วยอำนาจแห่งกฎหมาย ทางจำเป็นจึงเป็นสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินและสามารถใช้ยันแก่บุคคลทั่วไป แม้จำเลยร่วมจะโอนที่ดินให้แก่ ส. แล้ว ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องจะซื้อที่ดินโดยสุจริตก็ตาม โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินอยู่นั่นเอง ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเพื่อมิให้โจทก์ใช้ทางเป็นทางจำเป็นหาได้ไม่ แม้ผู้ร้องอ้างว่าทางจำเป็นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อเพิกถอนการบังคับคดีของโจทก์มิให้โจทก์ใช้ทางจำเป็นตามคำพิพากษาหาได้ไม่
        ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๙ วรรคสี่ ผู้มีสิทธิจะผ่านจะต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อชั้นบังคับคดีผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นทางจำเป็นผู้ร้องในฐานะเจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิรับเงินค่าทดแทนตามคำพิพากษาศาลฏีกาได้

        คำถาม ผู้ถือหุ้นเพียงคนเดียวถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัทจำกัด จะดำเนินการประชุมและมีมติใดๆ ตามกฎหมายได้หรือไม่
        คำตอบ การประชุมเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือซึ่งที่ประชุมจะต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองคนเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินข้อมติต่างๆ  ที่เสนอต่อที่ประชุม หาใช่บุคคลเพียงคนเดียวจะทำการประชุมได้โดยลำพังไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘, ๑๑๘๐ และ ๑๑๙๐ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกฎหมายบุ่งประสงค์ให้บรรดาผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโดยมีประธานดำเนินการประชุมและมีการเสนอข้อมติให้ที่ประชุม ออกเสียงลงคะแนน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๗๔/๒๕๖๐ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘, ๑๑๘๐ และ ๑๑๙๐ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นกฎหมายบุ่งประสงค์ให้บรรดาผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโดยมีประธานดำเนินการประชุมและมีการเสนอข้อมติให้ที่ประชุม ออกเสียงลงคะแนน การประชุมจึงเป็นการร่วมกันปรึกษาหารือซึ่งที่ประชุมจะต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองคนเป็นผู้เข้าประชุมเพื่อร่วมกันพิจารณาตัดสินข้อมติต่างๆ  ที่เสนอต่อที่ประชุม หาใช่บุคคลเพียงคนเดียวจะทำการประชุมได้โดยลำพังไม่
        การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านมี ว ผู้รับมอบฉันทะของ ง. เป็นผู้ถือหุ้นที่มาประชุมเพียงคนเดียว แม้ ง. ถือหุ้นคิดเป็นร้อยละ ๔๐ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด แต่ผู้ถือหุ้น เพียงคนเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการประชุมและมีมติใดๆ ตามกฎหมายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗๑, ๑๑๗๘   ๑๑๘๐  และ ๑๑๙๐ การประชุมวิสามัญ ผู้ถือหุ้นและการลงมติจึงเป็นไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติอันเป็นข้อปฏิบัติของการประชุมใหญ่ และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นมีสิทธิที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุม อันผิดระเบียบนั้นเสียได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๕

        คำถาม ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กับผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวโดยสุจริต  ใครจะมีสิทธิในที่ดินดีกว่ากัน
        คำตอบ ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการกล่าวอ้างว่าได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา ๑๒๙๙ วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นขอต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว 
        ดังนั้น เมื่อมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๑๕๐/๒๕๕๙ ที่ดินทั้งสามแปลงมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของต่อมาจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินทั้งสาม แปลงไว้แก่โจทก์ ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าครอบครองปรปักษ์ที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวโดยได้รับการยกให้จากพลตำรวจโท ก. และทำประโยชน์ปลูกมันสำปะหลังมาตั้งแต่ก่อนโจทก์จะรับจำนอง ที่ดิน เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา   ๑๒๙๙ วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นขอต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว   ซึ่งในคดีร้องขัดทรัพย์ ป.วิ.พ. มาตรา ๒๘๘  อยู่ภายใต้ บทบัญญัติแห่งมาตรา   ๕๕ เช่นนี้ ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยแจ้งชัดว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่งอย่างไรอันเป็นข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแหล่งข้อหาเช่นว่านั้น ผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ตามที่กล่าวอ้าง การที่ผู้ร้องบรรยายในคำร้องขอว่าคดีอยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย   มิใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ ริบจำนองไว้โดยไม่สุจริต เมื่อผู้ร้องมิได้ตั้งประเด็นในคำร้องขอว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอก และรับจำนองโดยไม่สุจริต คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นด้งกล่าวได้ จึงต้องฟังว่าโจทก์รับจำนองโดยสุจริตตามข้อสันนิษฐาน ของ ป.พ.พ. มาตรา  และเมื่อผู้ร้องมิได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ร้องจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้ สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ 7 ก.ค 61 ภาคค่ำ กฎหมายอาญา มาตรา 288-366 อ.สุรสิทธิ์ สมัยที่71

ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ 7 ก.ค61 ภาคค่ำ กฎหมายอาญา มาตรา 288-366 อ.สุรสิทธิ์ สมัยที่71

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2503 การฟ้องขอให้ลงโทษฐานความผิดต่อเสรีภาพนั้น สำหรับมาตรา309 วรรคแรกจะต้องมีข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าจำเลยได้ข่มขืนใจ โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ฯลฯ และสำหรับมาตรา 310 นั้น ก็จะต้องปรากฏว่าจำเลยได้มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวกักขังหรือทำให้ปราศจากเสรีภาพต่อร่างกายถ้าข้อเท็จจริงปรากฏตามฟ้องว่า โจทก์มีทางเข้าออกได้ แต่ไม่สะดวกและปลอดภัยเท่ากับทางเข้าออกทางประตูเดิม ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ยังไม่พอแสดงถึงการกระทำของจำเลยอันจะเป็นผิดทางอาญาตามขอได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2510 การที่จำเลยบอกกับโจทก์ว่าได้แจ้งความไว้แล้ว ถ้าไม่ไปสถานีตำรวจกับจำเลย จำเลยจะนำตำรวจมาจับโจทก์นั้น หาใช่เป็นการที่จำเลยจับโจทก์ดังที่เจ้าพนักงานจับผู้ต้องหาไม่ ไม่เป็นการข่มขู่หน่วงเหนี่ยว กักขัง ทำให้โจทก์ไปไหนไม่ได้ และไม่เป็นการทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกายแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2518  (อ.เน้น น่าสนใจ) จำเลยจอดรถขวางกั้นไม่ให้โจทก์ถอยรถออกไปจากซอยที่เกิดเหตุ เป็นเพียงขัดขวางไม่ให้โจทก์นำรถออกไปได้เท่านั้น ส่วนตัวโจทก์มีอิสระที่จะออกไปจากซอยได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แต่เป็นการรังแกข่มเหงทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ แม้ซอยนั้นจะอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งแบ่งให้ผู้อื่นเช่าปลูกบ้าน แต่ประชาชนก็ชอบที่จะเข้าออกไปติดต่อกับผู้ที่อยู่ในซอยนั้นได้ ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำในที่สาธารณสถาน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397

.... อ่านต่อ.....


 ----------------

***ทยอยอัพเดท...ติดตามโหลดถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น**
สรุปย่อคำบรรยายเนติ เก็งพร้อมสอบ อัพเดท ที่ LawSiam.com

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561

บทบรรณาธิการ คำบรรยายเนติบัณฑิต สมัยที่71 เล่มที่1


บทบรรณาธิการ

        คำถาม วางแผนให้ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์โดยไม่ฝีเจตนาผูกพันตามสัญญาเพื่อ ให้ได้รถจักรยานยนต์ไปจะเป็นความผิดฐานใด
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๐๘/๒๕๖๐ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้วางแผนและมอบเงินให้จำเลยที่ ๑ ไปเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ จากโจทก์ร่วม โดยไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ เพียงแต่อาศัยการหลอกลวง โจทก์ร่วมว่าจะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อเป็นช่องทางให้ได้รถจักรยานยนต์ไป ครั้นได้รถจักรยานยนต์มาแล้ว จำเลยที่ ๒ นำรถจักรยานยนต์ไปและให้เงินค่าจ้างแก่จำเลยที่ ๑ ดังนี้เป็นการร่วมกระทำความผิดโดยแบ่งหน้าที่กันทำตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๑ ประกอบมาตรา ๘๓

        คำถาม ผู้เสียหายมอบเงินให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว จำเลยวางแผนให้พวกจำเลยมาแย่งเอาเงินไปในระหว่างเดินทางไปธนาคาร เป็นความผิดฐานใด?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่  ๖๑๑๖/๒๕๖๐ ผู้เสียหายประกอบกิจการร้าน ซ. จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหายฝีหน้าที่ดูแล กิจการในร้าน ซ. และนำเงินรายได้ของร้านไปฝากธนาคารโดยเมื่อพนักงานของร้านขายสินค้า ได้แล้วจะนำเงินที่ได้รับจากลูกค้าใส่ซองหย่อนลงไปในตู้นิรภัยของร้าน ซึ่งจำเลยเป็นผู้ถือ กุญแจตู้นิรภัยเพียงคนเดียวและไม่มีสิทธินำเงินรายได้ดังกล่าวไปใช้ส่วนตัว เวลาประมาณ ๑๓ นาฬิกา ของทุกวัน จำเลยต้องนำกุญแจไปไขตู้นิรภัยนำ เงินรายได้ของร้านออกมา แล้วไปตรวจนับต่อหน้า ส. และ ท. เมื่อทราบจำนวนเงินรายได้แล้ว ส. จะเขียนใบนำฝากเงิน และมอบสมุดบัญชีของตนเองให้จำเลย จากนั้นจำเลยจะขับรถยนต์นำเงินพร้อมสมุดบัญชี และใบนำฝากไปฝากเงินที่ธนาคาร วันรุ่งขึ้นจำเลยต้องนำใบรับฝากเงินที่ฝีตราประทับจากธนาคารส่งคืนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อตรวจสอบยอดเงินที่นำไปฝากธนาคารว่าครบถ้วนหรือไม่ วันเกิดเหตุ   ธ.   บุตรของ   ท.  ได้ร่วมตรวจนับเงินกับจำเลยแล้วมอบเงินจำนวน   ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้จำเลยนำไปฝากธนาคาร หลังจากนั้นจำเลยร่วมกับพวกเอาเงินนั้นไป การที่จำเลยใช้กุญแจไขตู้นิรภัยนำเงินรายได้ของร้าน ซ. ออกมาแล้วนำไปตรวจนับต่อหน้า ส. และ ท. เป็นเพียงการทำงานในหน้าที่ดูแลเงินชั่วคราวเท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายได้มอบการครอบครองเงินให้แก่จำเลยโดยเด็ดขาดไม่ ดังนี้ ขณะนั้นจำเลยจึงไม่ใช่ผู้ครอบครองเงินของผู้เสียหาย แต่เมื่อจำเลยเอาเงินจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ของผู้เสียหายไปหลังจากที่ผู้เสียหายตรวจสอบแล้วมอบให้จำเลยนำไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายที่ธนาคาร กรณีจึงถือได้ว่าขณะนั้นผู้เสียหายได้มอบเงินจำนวนดังกล่าวให้อยู่ในความครอบครองของจำเลย แล้วเพราะจำเลยต้องถือและรักษาเงินจำนวนนั้นจนกระทั่งนำไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหาย ที่ธนาคารให้เรียบร้อย การที่จำเลยวางแผนให้พวกจำเลยมาแย่งเอาเงินไปในระหว่างเดินทางไปธนาคารจึงเป็นความผิดฐานยักยอก เมื่อความผิดฐานดังกล่าวเป็นความผิดอันยอมความได้ และผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ (๒)

        คำถาม ซื้อที่ดินมือเปล่าแล้วผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดิน ต่อมาที่ดินดังกล่าวได้มีการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน ดังนี้ ระยะเวลาแห่งการครอบครองปรปักษ์ที่ดินเริ่มนับเมื่อใด และผู้ซื้อจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองไปยังผู้ขายหรือไม่?
        คำตอบ   มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๗๖/๒๕๖๐ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๘๔๒ จาก ย. เมื่อปี ๒๕๓๖ และเข้าครอบครองอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ แต่เนื่องจาก ขณะนั้นที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๘๔๒ ยังเป็นที่ดินมือเปล่าที่บุคคลมีสิทธิครอบครอง จึงย่อมโอนกันได้โดยเพียงส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๗๘ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตามที่จำเลย ได้ซื้อที่ดินพิพาทมาแต่เป็นผลให้จำเลยมีได้เพียงสิทธิครอบครองและไม่อาจอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดินของผู้อื่นซึ่งมีกรรมสิทธิ์ได้ เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๓๘๔๒ ได้มีการออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน จำเลยยังคงครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลง ดังกล่าวโดยความสงบ และโดย เปิดเผยด้วย เจตนาเป็นเจ้าของ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาแห่งการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทของจำเลยจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป และเมื่อจำเลยไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ยึดถือแทนตามป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๑ จึงไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการครอบครองไปยังผู้ขายที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า ๑๐ ปีแล้ว จำเลยจึงได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒

        คำถาม การนับระยะเวลา ๑ เดือน ในการฟ้องขอให้เพิกถอนการประชุมและการลงมติในการประชุมบริษัทที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมีหลักเกณฑ์ในการนับระยะเวลาอย่างไร และจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้แก่กรณีดังกล่าวได้หรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๒๔/๒๕๖๐ คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งสองในปัญหาข้อกฎหมายว่า การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ซึ่งประชุมในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นั้นเป็นการฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๕ หรือไม่ โดยโจทก์ทั้งสองฎีกาว่า เมื่อการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ของจำเลยที่ ๔ กระทำลงในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ การนับระยะเวลา ๑ เดือน ในการที่โจทก์ทังสองฟ้องขอให้เพิกถอน การประชุมและการลงมติดังกล่าวจะต้องนับระยะเวลา ๓๐ วัน เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้อง ขอให้ เพิกถอนการประชุมและมติการประชุมในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ ยังอยู่ในกำหนด ๓๐ วันนั้น
        เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๙๕ ได้บัญญัติไว้ โดยชัดเจนว่าการร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้ร้องต่อศาลภายใน ๑ เดือนนับแต่วันลงมตินั้น การนับระยะเวลา ๑ เดือนดังกล่าวตามมาตรา ๑๙๓/๓ วรรคสอง ต้องเริ่มนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกโดยเริ่มนับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ส่วนระยะเวลาสิ้นสุดตามมาตรา ๑๙๓/๕ วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้น แห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือนหรือปี ระยะเวลาย่อมสินสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ซึ่งหมายความว่าการ นับระยะเวลาที่โจทก์ทั้งสองจะมีสิทธิฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ของจำเลยที่ ๔ ในคดีนี้ โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าว ภายในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๖ การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๑/๒๕๕๖ ในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๖ จึงเป็นการฟ้องเมื่อพ้น กำหนดระยะเวลา ๑ เดือน ตามมาตรา ๑๑๙๕ เช่นนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
        ส่วนที่โจทก์ทั้งสองฎีกาต่อไปว่า เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๖ โจทก์ทั้งสองและ จำเลยที่ ๔ เคยยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ เป็นคดีขอเพิกถอนมติที่ประชุมและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา ๑๙๓/๑๔ การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองไม่ขาดอายุความนั้น เห็นว่า กำหนดเวลาฟ้องหรือร้องขอเพิกถอนมติ ที่ประชุมตามมาตรา ๑๑๙๕ เป็นบทบัญญัติพิเศษตามกฎหมายเฉพาะมีใช่อายุความ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความรวมถึงอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

        คำถาม ผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติให้สัตยาบันสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ตนเองนำมาฟ้องให้บริษัทใช้หนี้แก่ตน การออกเสียงลงมติชอบหรือไม่?       
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๓๖๒/๒๕๖๐ บริษัท บ. เป็นหนี้กู้ยืมเพื่อช่วยเหลือให้มีเงินทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการแก่จำเลยที่ ๑ จริง จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้บริษัท บ. ชำระหนี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ลงมติให้สัตยาบันสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่จำเลยที่ ๑ นำมาฟ้องให้บริษัท บ. ใช้หนี้แก่ตน จำเลยที่ ๑ ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในมติข้อดังกล่าว เพราะแม้ไม่มีมติจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ หรือเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ การออกเสียงลงมติของจำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ถือว่ากระทำได้โดยชอบไม่ขัดต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๘๕
        การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้ประชุมขณะที่คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณา ข้อพิพาทที่โจทก์ใช้สิทธิซื้อหุ้นของจำเลยที่ ๑ เพื่อให้หุ้นของโจทก์และจำเลยที่ ๑ มีจำนวนเท่ากันตามข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้และยังไม่มีการโอนหุ้นของจำเลยที่ ๑ ให้แก่โจทก์ โจทก์ยังไม่มีสิทธิในหุ้นของจำเลยที่ ๑ จำเลยที่ ๑ ยังคงมีสิทธิลงคะแนนเสียงหรือใช้สิทธิในหุ้นของตนในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้

นายประเสริฐ   เสียงสุทธิวงศ์
บรรณาธิการ