เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง. ภาค1 ภาคค่ำ อ.ศิริชัยฯ วันเสาร์ 25 พย 60 สมัยที่70

ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 ภาคค่ำ อ.ศิริชัยฯ 
วันเสาร์ ที่ 25 พย 60 สมัยที่70
-------------------------



ป.วิ.พ.มาตรา ๔ (๑)   
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๖๔/๒๕๔๒ บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๔ (๑)
        ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๕๕/๒๕๔๐ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๒๐ และมาตรา ๑๕๖๖() เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต* กรุงเทพมหานครจึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๖๔/๒๕๔๒ บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔() ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๕๕/๒๕๔๐ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๒๐ และมาตรา ๑๕๖๖() เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต* กรุงเทพมหานครจึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

       
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๔๔๓/๒๕๔๖ คำว่า "มูลคดีเกิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔() หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาของคำฟ้อง โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภริยากัน สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงมิใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด เมื่อโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยได้กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด

คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
        มาตรา ๔ ทวิ “คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล”
        คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ศาลที่จะเสนอคำฟ้องต้องอยู่ในบังคับของมาตรา ๔ ทวิ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของ มาตรา ๔ (๑) คือ ยื่นคำฟ้องได้ที่
        ก. ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลหรือ
        ข. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
        คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง คดีที่การใช้สิทธิเรียกร้องที่จะต้องบังคับ หรือพิจารณาเกี่ยวกับตัวอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นการฟ้องบังคับที่ตัวอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องในการที่จะต้องถูกบังคับตามคำขอ ด้วยได้แก่ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน บังคับจำนอง ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น หมายถึง ทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๔ ว่าด้วยทรัพย์

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๑๕/๒๕๒๓ คดีฟ้องให้จดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๗/๒๕๒๕ โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ตั้งอยู่ในจังหวัดตราด โจทก์ได้ตกลงกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดอ. ให้โจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วโจทก์จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ห้าง และห้างใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็งของห้าง เมื่อเลิกห้างแล้วถ้าหากมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงินเข้ากองทรัพย์สินของห้าง ๕๐,๐๐๐ บาทแล้วห้างจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ต่อมาห้างถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและ พิพากษาให้ล้มละลายคดีถึงที่สุด โจทก์ขอชำระเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้แก่ห้างและขอให้ห้างจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างไม่ยอมปฏิบัติตามที่โจทก์ขอ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดตราดขอให้บังคับจำเลยรับเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท จากโจทก์ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์กับขอให้บังคับห้างออกไปจากที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓มาตรา ๒๖,๒๗ ซึ่งปฏิบัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ไม่ได้ห้ามฟ้องหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำงดเว้นกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์อื่นนอกจากเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นฟ้องโจทก์ ในคดีนี้ และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘ ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.๒๔๘๓ มาตรา ๑๕๓ โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดตราด ซึ่งเป็นศาลที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตไม่จำต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เด็ดขาด เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดที่ดินพิพาทและขอให้สั่งถอนการยึด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๓๐/๒๕๔๒ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยด้วย คำฟ้องบังคับ จำนองที่ดินเช่นนี้ย่อมเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากจะต้องมีการบังคับคดีแก่ตัวทรัพย์นั้น โจทก์จึงมีสิทธิ เสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ใน เขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ ทวิ

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๓๔/๒๕๑๗ คำฟ้องเรียกเงินค่าขายที่ดิน มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดินนั้น จึงไม่ใช่คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔(๑) หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ถ้าโจทก์ประสงค์จะฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ก็ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลนั้นๆ จะเป็นการสะดวก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔(๒) เสียก่อน

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๓/๒๕๓๔ โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืน กับเรียกค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เป็นการฟ้องให้บังคับตัวจำเลยเป็นหนี้เหนือบุคคลไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับเกี่ยวกับตัวทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๘๓/๒๕๒๗ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินของโจทก์ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ มิใช่ของโจทก์ และจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แม้จำเลยจะมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน เป็นของจำเลย และตามคำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอที่จะ บังคับแก่ที่ดินที่พิพาท แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าที่ดินที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
        ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์อยู่ในอำนาจดูแลปกปักรักษาของนายอำเภอท้องที่ แม้โจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ครอบครองและทำ ประโยชน์ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อนายอำเภอโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะและดำเนินการที่จะเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ก็ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องนายอำเภอเพื่อขอให้ระงับการกระทำอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์จะเสียสิทธิในที่พิพาทหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ มิใช่อยู่ที่การกระทำของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับที่อันเป็นสาธารณประโยชน์และถึงหากจำเลยจะมาช่วยเหลือในการรังวัดปักหลักเขตด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ ๖/๒๕๒๗)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๓๒๑/๒๕๕๐ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยทั้งสามทราบถึงการฟ้องแล้วไม่ได้คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นไม่มีเขตอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณากลับยินยอมให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา โดยสืบพยานโจทก์และให้จำเลยทั้งสามอ้างตนเข้าเบิกความ จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายแถลงหมดพยานและศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว เท่ากับจำเลยทั้งสามยอมปฏิบัติตามที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้น อันเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงยกการผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
        เอกสารใบเสร็จรับเงินที่แนบท้ายอุทธรณ์และฎีกากับสำเนาฟ้องที่แนบมาท้ายฎีกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสามมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น หามีสิทธิส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่
        ฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมาเป็นฎีกาทั้งสิ้น โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง

คดีที่ภูมิลำเนาจำเลยและมูลคดี มิได้อยู่ในราชอาณาจักร
        มาตรา ๔ ตรี “คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ทวิ ซึ่ง จำเลยมิได้ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มิสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาล แพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มิภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
        คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ใน ราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้”
        บทบัญญัติในมาตรานี้บัญญัติเพื่อสิทธิในการฟ้องคดีของคนสัญชาติไทยหรือ คนที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติใด
        คำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๔ ทวิ ก็เป็นคดีที่เกี่ยวด้วย หนี้เหนือบุคคลตามกฎหมายถ้าจำเลยมิได้อยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดในราชอาณาจักรนั้น ถ้าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยจะมีภูมิลำเนาที่ใดไม่สำคัญ หรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรจะเป็นคนสัญชาติใดไม่สำคัญโจทก์จะฟ้องคดีประเภทนี้ได้ต่อ
        ก.   ศาลแพ่ง หรือ
        ข.   ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา หรือ
        ค.   ศาลที่จำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้ในราชอาณาจักรอยู่ในเขต
        โดยโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตเพราะคำว่า “ก็ได้” ในตอนท้ายน่าจะเป็นการให้สิทธิโจทก์ แต่ในคำฟ้องน่าจะต้องบรรยายให้เห็นว่าที่จะฟ้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใดที่ตนมีภูมิลำเนาก็ได้
        ในเรื่องทรัพย์สินที่อาจจะถูกบังคับนั้นต้องเป็นทรัพย์สินของจำเลย จะเป็นทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ และถ้ามีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในเขตศาลหลายแห่ง โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดที่ทรัพย์อันอาจจะบังคับคดีอยู่ในเขตก็ได้ไม่ว่าจะอยู่อย่างถาวรหรือชั่วคราว
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓๘/๒๕๑๔ ซ. บุตรผู้ร้องได้อยู่กับผู้ร้องที่ตลาดชุมแสงตั้งแต่เล็ก ๆ และได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนจีนในอำเภอชุมแสง ต่อมา ซ. มาเรียนต่อที่จังหวัดพระนครจนสำเร็จแล้วสมัครเป็นครูโรงเรียนจีนสอนอยู่ประมาณปีเศษ ก็ถูกศาลลงโทษฐานเป็นอั้งยี่และถูกเนรเทศไปประเทศจีนก่อนถูกเนรเทศ ซ. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ตามทะเบียนบ้านและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้ แม้ ซ.จะไปประกอบอาชีพชั่วคราว ณ จังหวัดพระนครก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่า ซ. มีเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา

คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
        มาตรา ๔ จัตวา “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
        ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล”
        สำหรับคดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลหนึ่ง ศาลใดได้ดังนี้
        ก. ศาลที่เจ้ามรดกมิภูมิลำเนาในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายในเขตศาลใด เช่นเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่มาถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลนครธน อย่างนี้ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ในการขอเป็นผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรนั้น ถึงแม้จะมีทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อยู่ในเขตศาลที่มิใช่ภูมิลำเนาขณะเจ้ามรดกตาย ก็จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลที่ทรัพย์ตั้งอยู่ไม่ได้ ทั้งไม่อาจที่จะขออนุญาตยื่นต่อศาลทีทรัพย์มรดกตั้งอยู่ได้
        ถ้าเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาหลายแห่งจะยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาแห่งใดก็ได้
        ข. ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล คำว่า ทรัพย์มรดกตามความหมายของมาตรานี้ต้องหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ถ้ามีทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลหลายศาลผู้ร้องก็อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งทรัพย์มรดกอยู่ในเขตก็ได้ ไม่ว่ามรดกนั้นจะเป็นทรัพย์ประเภทใด

         คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๑๔/๒๕๕๗ บุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ถ้ามีถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญหลายแห่ง เดิมผู้ตายอยู่บ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ ๔ ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ต่อมาในปี ๒๕๔๙ จึงย้ายไปอยู่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕ ผู้ตายถึงแก่ความตายขณะอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และ ฌาปนกิจที่จังหวัดนครปฐม ผู้ร้องและทายาทก็มีภูมิลำเนาที่จังหวัดนครปฐม แสดงว่า ผู้ตายมีบ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ ๔ เป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย บ้านที่จังหวัดนครปฐมจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๗ ดังนั้น ผู้ร้องมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดนครปฐมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔ จัตวา

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๔๘/๒๕๔๓ พระภิกษุ ก. ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศต่อมาพระภิกษุ ก. ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูนการที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค ๒พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒(๕) เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คดีที่ร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคล
        มาตรา ๔ เบญจ “คำร้องขอเพิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมี สำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล”
        ในคดีที่ต้องใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับนิติบุคคลนั้นเป็นคนละกรณีกับคดีที่ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลย หลักของการเสนอคดีต่อศาลใดในมาตรานี้ใช้เฉพาะกรณีที่เริ่มคดีด้วยคำร้องขอเท่านั้น ถึงแม้บางกรณีโจทก์อาจจะดำเนินคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอได้ก็ตาม ถ้าเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ของมาตรานี้
คำร้องขอที่เกี่ยวกับนิติบุคคลตามมาตรานี้ ได้แก่
        ก. คำร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคล
        ข.  คำร้องขอเลิกนิติบุคคล
        ค. คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล
        ง.  คำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล
คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะต้องจัดการในราชอาณาจักร
        มาตรา ๔ ฉ บัญญัติว่า “คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการหรือเลิก จัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าว อยู่ในเขตศาล”
        บทบัญญัติของมาตรา ๔ ฉ นี้อาจเรียกว่าเป็นการบัญญัติไว้สำหรับบุคคลที่ย้ายภูมิสำเนาระหว่างประเทศอาจจะเป็นคนไทยอพยพไปอยู่ต่างประเทศ แต่ยังคงมีทรัพย์สินไว้ในประเทศไทย หรือคนต่างประเทศอพยพมาอยู่เมืองไทย มาทำมาหากินและมีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย แต่ต่อมาอพยพไปอยู่ต่างประเทศก็ได้ ฉะนั้นบัญญัติมาตรานี้จึงบัญญัติ ไว้โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสนอคดีต่อศาลของผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงภูมิสำเนาในระหว่างประเทศ
        คำร้องขอตามมาตรานี้ หมายถึง คำร้องขอเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอแล้ว จะต้องมีการจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือต้องเลิกจัดการทรัพย์สินนั้น ที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งทำให้มีผู้มีอำนาจจัดการหรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรนั้นโดยผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีที่เป็นเหตุให้มีการร้องขอนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ทั้งนี้พิจารณาเฉพาะตัวทรัพย์สินอย่างเดียว และหากผู้ร้องมีภูมิสำเนาอยู่ในราชอาณาจักรก็ใช้มาตรา ๔ (๒) ได้ การเสนอคดีตามมาตรานี้เป็นการเสนอคดีต่อศาลทีมีเขตเหนือทรัพย์สินที่จะต้องจัดการหรือขอให้เลิกจัดการนั้น ถ้าทรัพย์สินที่จะจัดการหรือขอให้เลิกจัดการนั้นมีหลายอย่างอยู่ ต่างเขตศาลกัน ก็ต้องอาศัยหลักตามมาตรา ๕ คือจะยื่นคำร้องขอต่อศาลไหนก็ได้

ศาลที่มีอำนาจเหนือคดีนั้นหลายศาล
        มาตรา ๕ “คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่า นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดี เกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่น ว่านั้นก็ได้”

คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาลนั้น ได้แก่
        ก. คดีที่ฟ้องจำเลยร่วมกันหลายคนที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่ละคน มีภูมิลำเนาต่างกัน
        ข.  คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลต่างกัน
        ค. คดีที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล
        ง.  คดีที่มีหลายข้อหา

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๒/๒๕๔๑ คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ ๒ ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ กับให้จำเลยที่ ๓ ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑และที่ ๓ โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรีแม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๕ ประมวลรัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้อง ปิดอากรแสตมป์

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๖๔๗/๒๕๔๔ อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. ๓ ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา ๔ จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้


   ถอดเทป-เน้นประเด็นคำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา ติดตาม ทยอยอัพเดท.. ที่ LawSiam.com