เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: พฤษภาคม 2017

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366 (ภาคค่ำ) อ.ทวีเกียรติฯ 27 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1ครั้งที่1

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366  
อ.ทวีเกียรติฯ วันที่ 27 พฤษภาคม 2560 (ภาคค่ำ)  สัปดาห์ที่1ครั้งที่1
.................................


ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
        มาตรา ๒๘๘  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ความผิดตามมาตรานี้มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
๑. ผู้ใด
๒. ฆ่า
๓. ผู้อื่น
๔. โดยเจตนา (องค์ประกอบภายใน)
       
        ตัวอย่าง นายเอ เป็นลม แพทย์ตรวจสอบว่าตาย เพื่อนจับใส่โลง  นายเอเปิดโลงออกมาเพื่อนที่จับใส่โลงตกใจถึงแก่ตาย ญาติฟ้องหมอว่าประมาททำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
        แนวการวินิจฉัย  ๑. เจตนามีหรือไม่ (ไม่มี) ๒. ประมาทหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงการตรวจมีเกณฑ์การตรวจที่เป็นมาตรฐานแล้ว แพทย์ไม่ต้องรับผิด
        ผู้อื่น หมายถึง บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้กระทำ และหมายถึงบุคคลธรรมดา เท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจถูกฆ่าได้
        ตัวอย่าง นายแดง ไปเรียนวิชาอาคม กับนายดำ โดยนายดำสอนตามตำรา มีการทดสอบโดยยิงไปที่ศีรษะนายแดง ทำให้นายแดงถึงแก่ความตาย นายดำถูกฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นายนายต่อสู้ว่าไม่ได้เจตนาให้นายแดงตาย
        แนวการวินิจฉัย ปืนเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงไปที่อวัยวะสำคัญ เป็นเจตนาฆ่า 

        อาจารย์ให้ข้อสังเกต ในข้อสอบหากมีประเด็นว่า นาย ก. ยิงนาย ข. เช่นนี้ ถือว่ามีเจตนาฆ่าแล้ว ไม่ต้องไปสับสนในข้อเท็จจริง  หากประเด็นข้อสอบไม่ต้องการถามเรื่องเจตนาฆ่า จะมีข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่นยิงลงต่ำ ยิงที่ขา ยิงที่แขน ยิงขึ้นฟ้า ข้อเท็จจริงเช่นนี้ คือ ไม่มีเจตนาฆ่า เป็นต้น...../อ่านต่อ แบ่งปัน.... คลิกที่นี่ >>>  ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366 (ภาคค่ำ) อ.ทวีเกียรติฯ 27 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1ครั้งที่1

ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) อ.สหธนฯ วันที่ 26 พ.ค 60 ครั้งที่1

ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) 
อ.สหธนฯ วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ครั้งที่1
..................


           ในวันนี้อาจารย์จะบรรยายในส่วนวิชาหุ้นส่วน บริษัท เวลา ๒ ชั่วโมง โดยจะบรรยาย ๑๕ ครั้ง ในช่วงแรกอาจารย์จะบรรยายในเรื่องทั่วไปและเรื่องห้างหุ้นส่วน จำนวน ๘ ครั้ง

หุ้นส่วนและบริษัท
        มาตรา ๑๐๑๒  อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
        สรุป เมื่อใดที่นำทุนมาร่วมกัน เมื่อนั้นเป็นเรื่องของการตั้งองค์กรธุรกิจ
        สมมุติ อาจารย์สหธน จะเปิดร้านไก่ย่าง ได้จ้างสมโชคมาเป็นลูกจ้าง กรณีนี้มีเจ้าของทุนคนเดียว ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ

ประเภทองค์กรธุรกิจ มี ๒ แบบด้วยกัน คือ
        ๑. มีชื่อเรียกเฉพาะทางกฎหมาย  เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น

        ๒. ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะทางกฎหมาย เช่น กงสี กิจการร่วมค้า เป็นต้น /.... อ่านต่อ  คลิกที่นี่ >>> ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) อ.สหธนฯ วันที่ 26 พ.ค 60 ครั้งที่1 

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1

 ถอดไฟล์เสียง เนติ  วิชา ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) สมัยที่70
วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1 
---------------------------


        ทางสำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภายินดีต้อนรับนักศึกษาทุกท่าน ในปีที่ผ่านมาในการเปิดการบรรยายในวันแรก คือ วันจันทร์ ชั่วโมงแรก ทางเลขาธิการสำนักอบรมก็ได้ขึ้นมาพูดคุยกับนักศึกษา ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้บรรยายหลายท่าน ยกตัวอย่าง กฎหมายอาญาในวันเสาร์ ได้ มี อ.ทวีเกียรติฯ มาบรรยาย และในอาจารย์ในภาคค่ำ ได้เลื่อนไปบรรยายในภาคปกติ รวมถึงตลอดภาคทบทวนทางเนติฯ ได้คัดสรร ผู้บรรยายเก่งๆ หลายท่าน ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ มาบรรยาย ผู้สนใจก็สมัครฟังคำบรรยายได้ รวมถึง หนังสือรวมคำบรรยาย ผู้สนใจก็สั่งจองได้ เพราะมีกฎหมายแก้ไขใหม่
        กฎหมายตั๋วเงิน เป็นหัวข้อหนึ่งที่ใช้สอบในชั้นเนติบัณฑิต ระดับผู้ช่วยผู้พิพากษาหลายครั้งก็มีกฎหมายตั๋วเงิน เป็นต้น
        เนื่องจากวันนี้เป็นการบรรยายในครั้งแรก จึงพูดถึงเรื่องทั่วไป หรือเรียกว่าภาพรวมก่อน เริ่มต้นที่มาตราแรก คือ มาตรา ๘๙๘
๑. ตั๋วเงิน
        มาตรา ๘๙๘  อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือ เช็ค
        อันดับแรกเราก็มาดูในเรื่องของตั๋วแลกเงิน ตาม มาตรา ๙๐๘ จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคน หนึ่งเรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าเรื่องของตั๋วแลกเงินนั้นบุคคลผู้เกี่ยวข้องมีอยู่ ๓ คน
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน
        มาตรา ๙๘๒ บัญญัติว่า อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าตั๋วสัญญาใช้ เงินมีอยู่ ๒ คน คือ
        ๑. ผู้ออกตั๋ว
        ๒. ผู้รับเงิน

        และประเภทที่ ๓ คือ เช็ค ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องเช็คก็เป็นไปตามมาตรา ๙๘๗ ที่ว่า “อันเช็คนั้น คือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน” ก็มี ๓ คนด้วยกัน คือ
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ธนาคารหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน


        มีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเรื่องหนึ่งขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ข้อเท็จจริง ดังนี้  ...../ อ่านต่อ คลิก>>>ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1 



วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทปเนติ 1/70 วิชา มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1

ถอดเทป มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ สมัยที่70
 วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1
..............................

        สวัสดีครับนักศึกษา ในการเรียนเนติฯ ความยากอยู่ที่อะไร  อยู่ที่เรามีความขยันพอหรือไม่และมีความตั้งใจจริงหรือไม่ เมื่อจบปริญญาตรีมาแล้วก็คงไม่ยากสำหรับทุกคน  หลักสำคัญที่อาจารย์แนะนำ  คือ “สุ จิ ปุ ลิ”
        ที่ผ่านมาข้อสอบจะออกทั้งครอบครัวและมรดก แต่มีสมัยที่ ๖๗ , ๖๙ ที่ออกเฉพาะมรดก ดังนั้นข้อสอบที่ออกสอบได้นั้นหลักกฎหมายจะวนไปวนมา

เข้าสู่เนื้อหา
        มรดก เกิดขึ้นได้อย่างไร
        มรดกเกิดขึ้นได้เมื่อมีความตายตามาตรา มาตรา ๑๕๙๙
        มาตรา ๑๕๙๙  “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

        มาตรา ๑๖๐๒  เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๖๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น

          มาตรา ๑๗๕๓  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคคลในที่นี้ เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวแยกได้เป็น ๒ กรณี คือ

๑. ความตายตามธรรมชาติ (ตายความเป็นจริง)
        กรณีดังกล่าวจะเกิดปัญหาว่า ใครบ้างที่เป็นทายาท เช่น นายแดง เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดำ ถ้านายแดงตายก่อน นายดำมีสิทธิได้รับมรดกในทรัพย์สินของนายแดง  แต่ถ้าตายพร้อมกันต่างคนต่างไม่เป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก (กรณีตายพร้อมกัน ออกสอบแล้ว เมื่อสมัยที่ ๖๙)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๘/๒๕๕๔ เจ้ามรดกตลอดจนบุคคลในครอบครัวถูกสามีของเจ้ามรดกใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในเวลาต่อเนื่องกัน ถือเป็นการตายในเหตุภยันตรายร่วมกันและเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง จึงถือว่าทุกคนถึงแก่ความตายพร้อมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗ ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจึงไม่ตกไปยังบุตรของเจ้ามรดกซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายพร้อมกัน แต่จะตกได้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นน้าของเจ้ามรดก และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่า สามีของเจ้ามรดกเป็นผู้กระทำโดยเจตนาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจดำเนินคดีแก่สามีของเจ้ามรดกได้เนื่องจากสามีเจ้ามรดกฆ่าตัวตายไปก่อน จึงถือได้ว่าสามีของเจ้ามรดกเป็นบุคคลที่ต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับสามีของเจ้ามรดกจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก และเมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๑๒๙/๒๕๕๖ ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖๐๔ วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๖๓๙ เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗


๒. ความตายโดยผลของกฎหมาย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทปเนติบัณฑิต ภาค1 สมัยที่ 70

ถอดเทปเนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค1 สมัยที่ 70

     การเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ในเบื้องต้นนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีอยู่คู่กาย ในเบื้องต้น คือ
     1. ตัวบทกฎหมาย (ที่อัพเดท)
     2. หนังสือรวมคำบรรยายเนติ (ที่อัพเดท สมัยปัจจุบัน) สั่งจากสำนักฝึกอบรมเนติฯ
     3. สรุปตัวบท สาระสำคัญ มาตราที่ออกสอบแล้วในปีที่ผ่านมา หรือ หลายๆ สมัยย้อนหลัง
     4. ข้อสอบเนติฯ (ข้อสอบเก่า) ฝึกทบทวน หัดเขียน หรือคัดลอก เพื่อความคล่องในเวลาลงสนามสอบ

     ดังนั้น 4 ประการดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้นจะช่วยทำให้ผู้ศึกษาในระดับเนติบัณฑิต จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก


---------------------------------------
ถอดเทป สรุป เก็งฎีกา เตรียมสอบ รายข้อ อัพเดท ก่อนถึงวันสอบ 1-2 วัน ที่ LawSiam.com