เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: พฤศจิกายน 2019

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เจาะประเด็น ข้อ 5 วิ.อาญา เนติฯ (ป.วิ.อาญา มาตรา 220)


สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ


ข้อ 4-5 วิ.อาญา เนติฯ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72




        ในกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดอีกบทหนึ่งแตกต่างกับฟ้องโดยไม่ได้พิพากษาลงโทษตามความผิดที่โจทก์ฟ้อง มีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องสำหรับความผิดที่โจทก์ ฟ้องแล้ว โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดที่โจทก์ฟ้องอีกไม่ได้ต้องห้ามฎีกา ตามมาตรา ๒๒๐ (เน้น**) เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๐๒๔/๒๕๔๓ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๐ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๕ พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘โจทก์จึงฎีกาข้อหานี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท


-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

เน้นประเด็น* ข้อ 4-5 วิ.อาญา เนติฯ (เกณฑ์ในการพิจารณา ตามมาตรา 193 ทวิ)


สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ


ข้อ 4-5 วิ.อาญา เนติฯ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72




        ประเด็น อุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่? 

        คำตอบ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๙๓ ทวิ หรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาจากอัตราโทษที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์พิจารณาว่า จะต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ใช่ตามความผิดที่พิจารณาได้ความ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้


คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๑๐/๒๕๔๙ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนว่าร่วมกับพวกใช้อาวุธมีดฟันศีรษะผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า แต่แพทย์รักษาผู้เสียหายได้ทันท่วงทีจึงไม่ถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘, ๘๐, ๘๓ จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่าจำเลยใช้มีดฟันศีรษะผู้เสียหายไม่มีเจตนาฆ่า มีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกาย และบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับเป็นอันตรายแก่กาย พิพากษาว่าจำเลยมีความผิด มาตรา ๒๙๕ ประกอบมาตรา ๘๓ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามกฎหมายเดิม ให้ลงโทษจำคุก ๘ เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก มีกำหนดไม่เกิน ๔ เดือน จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีนี้ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๑๙๓ ทวิ พิพากษายกอุทธรณ์ จำเลยฎีกา คดีมีปัญหาว่าอุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา ๑๙๓ ทวิ หรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาจากอัตราโทษที่โจทก์ฟ้องเป็นเกณฑ์พิจารณาว่า จะต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ไม่ใช่ตามความผิดที่พิจารณาได้ความ ดังนั้น เมื่อความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามที่โจทก์ฟ้องมีระวางโทษสองในสามของโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ ประกอบมาตรา ๘๓ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๙๓ ทวิ แต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และย้อนสำนวนคืนไป ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี





อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ วิอาญา ภาค 3-4  อ.ธานี สิงหนาท


-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เน้นประเด็น ข้อ7 วิ.แพ่ง ภาคบังคับคดี (ศาลชั้นต้นยกคำร้องขัดทรัพย์)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ7 วิ.แพ่ง ภาคบังคับคดี

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72



ศาลชั้นต้นยกคำร้องขัดทรัพย์ ถ้าผู้ร้องขัดทรัพย์ประสงค์ให้งดการขายทอดตลาดไว้ก่อน ก็จะต้องยื่นคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างอุทธรณ์ ตามมาตรา ๒๖๔ แต่จะขอในเหตุฉุกเฉินตามมาตรา ๒๖๖ ไม่ได้

คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ท. ๑๙๓๐/๒๕๕๑ เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ ๒๙๔๖๕ ตำบลวัดท่าพระ (เกาะท่า
พระ) อำเภอ บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไว้ และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา หากเจ้าพนักงานบังคับคดีออกขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าว และผู้ร้องชนะคดีจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเป็นอย่างมาก ขอศาลฎีกาโปรดมีคำสั่งคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องในเหตุฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โปรดอนุญาต
         พิเคราะห์แล้ว ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการขอให้คุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๖๔ ซึ่งไม่มีกฎหมายให้ขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินได้ จึงให้ยกคำร้อง


อ้างอิง : อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

สรุปข้อ4 วิแพ่ง เนติ (จำเลยซึ่งขาดนัดพิจารณาขอพิจารณาคดีใหม่+การส่งคำบังคับ)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72

กรณีจำเลยมาศาลหลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดีแล้ว 

มาตรา ๒๐๗ ให้สิทธิแก่จำเลยอาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ทั้งนี้ให้นำมาตรา ๑๙๙ ตรี มาตรา ๑๙๙ จัตวา และมาตรา ๑๙๙ เบญจ มาใช้บังคับโดยอนุโลม กล่าว คือ จะต้องนำหลักเกณฑ์ในกรณีที่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลภายหลังจากที่ศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีมาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๑๖/๒๕๕๙*** จำเลยซึ่งขาดนัดพิจารณาขอพิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๗ ประกอบมาตรา ๑๙๙ จัตวา ศาลมีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา และเจ้าหน้าที่ศาลได้ส่งคำบังคับแก่จำเลย โดยการปิดคำบังคับเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๕ การส่งคำบังคับโดยการปิดคำบังคับ ให้มีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๗๙ วรรคสอง ต้องถือว่าการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมีผลในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ จำเลยมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๕ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีเป็นที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๕ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒๓-๑๒๒๗/๒๕๕๘ การขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๙ ตรี และ ๒๐๗ ต้องเป็นกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา แล้วศาลพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชี้ขาดให้จำเลยที่ ๒ แพ้คดีเนื่องจากจำเลยที่ ๒ ไม่มีพยานมาสืบ มิใช่เป็นกรณีที่พิพากษาให้จำเลยที่ ๒ แพ้คดีเพราะจำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การหรือขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ ๒ จะขอให้พิจารณาคดีใหม่สำหรับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไม่ได้

           คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๗๗/๒๕๕๙ (เน้น**) ผู้ร้องไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องขัดทรัพย์ ศาลชั้นต้นถือว่าผู้ร้องไม่ติดใจไต่สวนคำร้องขอและไม่มีพยานหลักฐานมาไต่สวนจึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและให้ยกคำร้องขอ กรณีไม่ใช่การพิจารณาโดยขาดนัด คำร้องของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องและทนายผู้ร้องไม่เคยได้รับหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ และนัดไต่สวนคำร้องผู้ร้องไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้ผู้ร้องนำพยานเข้าไต่สวนต่อไปเท่ากับเป็นการขอให้ศาลพิจารณาคดีของผู้ร้องใหม่โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร้องนำพยานเข้าสืบ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๗



อ้างอิง : อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

สรุปวิแพ่ง ข้อ4 เนติฯ (ขาดนัดพิจารณา (น่าสนใจ*))

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ขาดนัดพิจารณา (น่าสนใจ)


มาตรา ๒๐๐ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาต จากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความ ฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว”

สรุป จากบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคหนึ่ง มีข้อที่จะพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้
คำว่า ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี หมายความ ว่า บทบัญญัติในเรื่องการขาดนัดพิจารณาไม่นำไปใช้แก่คดีที่จำเลยขาดนัดยื่น คำให้การหรือคดีที่มีจำเลยหลายคนและจำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ หากใน คดีดังกล่าวมีการสืบพยาน ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานก็ต้องบังคับตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ หรือ มาตรา ๑๙๘ ตรี วรรคสอง กล่าวคือ ไม่ถือว่าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะนำบทบัญญัติเรื่องคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๑ หรือโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๒ มา ปรับแก่คดีไม่ได้ ต้องใช้บทกฎหมายเรื่องการขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้แก่คดีเพียงอย่างเดียว

คำว่า คู่ความ มีความหมายตามมาตรา ๑ (๑๑) ที่บัญญัติว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕๘/๒๕๖๐ จำเลยที่ ๑ มอบฉันทะให้ ส. มายื่นคำร้องขอคัดถ่ายสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ซื้อทรัพย์เพื่อแถลงต่อศาลและวางเงินค่าส่งหมายนัดสำเนาคำร้อง ส. จึงมีอำนาจเพียงยื่นคำร้องและวางเงินค่าส่งหมายนัดสำเนาคำร้องตามที่ระบุไว้ในใบมอบฉันทะเท่านั้น การที่ ส. ท่าคำร้องขอคัดถ่ายสำเนา แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ซื้อทรัพย์โดยลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งซึ่งต้องกระทำโดยคู่ความหรือทนายความ การมอบฉันทะ ดังกล่าวไม่ทำให้ ส. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑ (๑๑)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๐/๒๕๔๙ เสมียนทนายจำเลยที่ ๒ ได้รับมอบฉันทะ จากทนายจำเลยที่ ๒ มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ ๒ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑ (๑๑) เพราะเสมียนทนายจำเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ ๒ เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ ๒ และทนายจำเลยที่ ๒ ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์

สรุป คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ เสมียนทนายได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยให้ มายื่นเฉพาะคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งศาลเกี่ยวกับเรื่องการขอถอนทนาย เท่านั้น ไม่ได้รับมอบฉันทะให้มีอำนาจเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือกำหนดวันนัดสืบพยาน เสมียนทนายจึงไม่ถือว่าเป็นคู่ความในกิจการที่ได้รับมอบหมาย เท่ากับไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ ๒ มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เลย
แต่ถ้าเสมียนทนายที่มาศาลได้รับมอบฉันทะให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอ เลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลย*** ถือว่าเป็นการมอบฉันทะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพยาน เสมียนทนายจึงมีฐานะเป็น คู่ความในกิจการที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๖๔ จึงเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายจำเลยมาศาลแล้ว ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๙๐/๒๕๔๙ ในวันสืบพยาน ทนายจำเลยมอบฉันทะ ให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณาฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อทนายจำเลยเช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๐ ที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๔๙/๒๕๕๘ ในวันสืบพยานโจทก์วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้ ส. เสมียนทนายนำคำร้องมายื่นขอเลื่อนคดี ฟังคำสั่งศาลและกำหนดวันนัดแทน ส. ย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความมิใช่คู่ความฝ่าย จำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลอันจะให้ถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาในคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง การไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีคงมีผลเพียงทำให้จำเลย ทั้งสามเสียสิทธิในการซักค้านพยานโจทก์ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เท่านั้น จำเลยทั้งสามยังคงมีสิทธินำพยานเข้าสืบในนัดวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ตามที่นัดไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๕๙/๒๕๕๘, ๓๗๙๐/๒๕๔๙ วินิจฉัยเช่นกัน) 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปประเด็น ข้อ 4 วิแพ่ง เนติฯ ที่น่าออกสอบ* (กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่

มาตรา ๑๙๙ จัตวา ได้บัญญัติให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งศาลมี คำพิพากษาให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

(๑) การยื่นคำขอในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ

(๒) การยื่นคำขอในกรณีที่จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) เพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ในกรณีเช่นนี้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง

พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น หมายถึง กรณีที่มีเหตุขัดขวาง ที่ทำให้จำเลยไม่อยู่ในวิสัยที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาตามปกติ ตามข้อ (๑) นั้นเอง เช่น ขณะที่เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยตามมาตรา ๒๗๒ จำเลยไปทำธุรกิจอยู่ต่างประเทศ หรือมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจัดได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) ได้ กฎหมายจึงยอมผ่อนคลายให้สิทธิแก่จำเลย อาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันที่พฤติการณ์ นั้นได้สิ้นสุดลง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๗๔/๒๕๕๙ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสอง อ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่า ขณะที่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวเป็นเวลานานหลาย เดือนแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคดีเสร็จสิ้นไปแล้วโดยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ เช่นนี้แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยทั้งสองต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้ เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นจำเลยทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยทั้งสอง ได้นำพยานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองมีโอกาสชนะคดีอย่างแน่นอน ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีจึงไม่ชอบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น เพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใดไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้ง ว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคหนึ่ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๘๒/๒๕๓๙ โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยปิดหมายเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ซึ่งจำเลยที่ ๑ มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แม้ทนายจำเลยที่ ๑ จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก ๖ วัน ที่จำเลยที่ ๑ สามารถยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน ๑๕วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๘ วรรคหนึ่ง กรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ด้วย กรณีของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่ ๑ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ การที่จำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗ จึง ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑๘/๒๕๕๘ พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๗๙ วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ลูกหนี้อาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
(๓) แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้จำเลยยื่นคำขอต่อศาล เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น

กำหนดระยะเวลายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามข้อ (๓) นี้เป็นกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุด กล่าวคือ แม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุดลง หากระยะเวลาได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแล้ว จำเลยย่อมต้องห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยเด็ดขาด


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ9 ฟื้นฟูกิจการ (ผู้ทำแผนนำเงินจากกองทรัพย์สิน มาชำระหนี้ได้หรือไม่?)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ประเด็นปัญหา คือ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ตัวผู้ทำแผนจะนำเงินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้หรือไม่ จะถือว่าเป็นการดำเนินการค้าตามปกติหรือไม่?

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๑๐/๒๕๕๙*** เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๒๗ วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา ๑ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ตามมาตรา ๙๐/๒๖ วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิรับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผน ซึ่งนำเงินมาชำระหนี้หรือมาวางที่สำนักงานวางทรัพย์ 




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ (ภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว...)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ


ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะเอาเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไม่ได้ 




คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๑๐/๒๕๕๙**** เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา ๙๐/๒๗ วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา ๑ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา ๙๐/๒๖ วรรคหนึ่ง และ การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนที่ฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวน เท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางที่สำนักงานวางทรัพย์ การที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปหลังจากศาลมีคำสั่งให้ที่ฟื้นฟูกิจการหรือผู้ทำ แผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ใช่วิธีการที่ กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ในมูลแห่งหนี้ที่ได้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการ จึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้ขัดต่อมาตรา ๙๐/๑๒ (๙) ย่อมตกเป็น โมฆะตามมาตรา ๙๐/๑๒ วรรคท้าย หนี้ไม่ระงับ เจ้าหนี้มีสิทธินำหนี้นั้นมายื่นคำขอ รับชำระหนี้ได้ มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๔๘/๒๕๕๙ วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน


สรุป จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะเอาเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ก็โดยการมายื่นคำขอชำระหนี้ แล้วหนี้ดังกล่าวจะต้องเข้าสู่แผน เมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้บริหารแผนมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ การที่ผู้ทำแผนไปชำระหนี้หรือมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คในหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ใช่การดำเนินการค้าตามปกติย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๙๐/๑๒ วรรคท้าย 



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ เนติฯ (การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ



คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๓๗/๒๕๔๖ (เน้น**) มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หาใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ตามมาตรา ๙๐/๒๗ และเมื่อพิเคราะห์ถึงการกระทำดังกล่าวของผู้ทำแผนซึ่งกระทำในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามมาตรา ๙๐/๒๕ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อน ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา ๙๐/๑๒ (๙) อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญา จึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา ๙๐/๑๒ (๔) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งแกไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา ๙๐/๑๑ หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่ากรณีดังกล่าว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ใน การฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๒๗ ได้ เหตุนี้จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๑๓ (๑) ศาลจึงต้องมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง ศาลฎีกาพิพากษาอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งตามคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๑๓ ประกอบมาตรา ๙๐/๑๒ (๔)

สรุป*** ตามคำพิพากษาฎีกานี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในการฟื้นฟูกิจการมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และกำหนดให้เจ้าหนี้ดังกล่าวต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๐/๒๖ และมาตรา ๙๐/๒๗ หนี้ในคดีนี้เป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนได้ก่อให้เกิดขึ้น ถือว่าเป็นหนี้ของกองทรัพย์สินในการฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา ๙๐/๖๒ ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้รายนี้จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฟื้นฟูกิจการที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้


คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๑๗/๒๕๔๘** มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๒๗ อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตาม มาตรา ๙๐/๔๒ ทวิ และมาตรา ๙๐/๔๒ ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate