เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ข้อ 4 วิแพ่ง เนติ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ 4 วิแพ่ง เนติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข้อ 4 วิแพ่ง เนติ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปประเด็น ข้อ 4 วิแพ่ง เนติฯ ที่น่าออกสอบ* (กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่

มาตรา ๑๙๙ จัตวา ได้บัญญัติให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งศาลมี คำพิพากษาให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

(๑) การยื่นคำขอในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ

(๒) การยื่นคำขอในกรณีที่จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) เพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ในกรณีเช่นนี้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง

พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น หมายถึง กรณีที่มีเหตุขัดขวาง ที่ทำให้จำเลยไม่อยู่ในวิสัยที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาตามปกติ ตามข้อ (๑) นั้นเอง เช่น ขณะที่เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยตามมาตรา ๒๗๒ จำเลยไปทำธุรกิจอยู่ต่างประเทศ หรือมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจัดได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) ได้ กฎหมายจึงยอมผ่อนคลายให้สิทธิแก่จำเลย อาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันที่พฤติการณ์ นั้นได้สิ้นสุดลง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๗๔/๒๕๕๙ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสอง อ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่า ขณะที่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวเป็นเวลานานหลาย เดือนแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคดีเสร็จสิ้นไปแล้วโดยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ เช่นนี้แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยทั้งสองต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้ เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นจำเลยทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยทั้งสอง ได้นำพยานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองมีโอกาสชนะคดีอย่างแน่นอน ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีจึงไม่ชอบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น เพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใดไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้ง ว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคหนึ่ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๘๒/๒๕๓๙ โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยปิดหมายเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ซึ่งจำเลยที่ ๑ มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แม้ทนายจำเลยที่ ๑ จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก ๖ วัน ที่จำเลยที่ ๑ สามารถยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน ๑๕วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๘ วรรคหนึ่ง กรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ด้วย กรณีของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่ ๑ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ การที่จำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗ จึง ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑๘/๒๕๕๘ พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๗๙ วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ลูกหนี้อาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
(๓) แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้จำเลยยื่นคำขอต่อศาล เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น

กำหนดระยะเวลายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามข้อ (๓) นี้เป็นกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุด กล่าวคือ แม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุดลง หากระยะเวลาได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแล้ว จำเลยย่อมต้องห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยเด็ดขาด


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate