เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ฎีการวมคำบรรยายเนติฯ เล่มที่1 กฎหมายล้มละลาย (อ.กนก จุลมนต์) สมัยที่ 72

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฎีการวมคำบรรยายเนติฯ เล่มที่1 กฎหมายล้มละลาย (อ.กนก จุลมนต์) สมัยที่ 72

ฎีการวมคำบรรยายเนติฯ เล่มที่1  สมัยที่ 72
กฎหมายล้มละลาย (อ.กนก จุลมนต์)  


คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๖๐๒/๒๕๕๓ ก่อนฟ้องโจทก์ใด้ตรวจสอบการถือ กรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตแต่ไม่พบทรัพย์สินของจำเลย และนอกจากจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ คดีแรกแล้วจำเลยยังถูกฟ้องในความผิดเดียวกันอีก ๓ คดี ต่อมาจำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้เจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นผู้เลียหายทั้ง ๓ คดี ดังกล่าว กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยเสนอคำขอประนอมหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๕๓ มาตรา ๘ (๕) (๘) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว



คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๓๖/๒๕๖๐ ภายหลังจากศาลจังหวัดพังงามีคำพิพากษาแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ โจทกํใด้สืบหาทรัพย์อื่นของจำเลยแล้วไม่พบว่า จำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๕) จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวว่าจำเลยไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

กรณีที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ เพราะลูกหนี้หลีกเลี่ยงไม่ไปรับหนังสือดังกล่าวภายในกำหนดก็ดี หรือมีผู้รับหนังสือทวงถามไว้แทนลูกหนี้ก็ดี ถือได้ว่าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามตามความหมายของมาตรา ๘ (๙) แล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๙๔/๒๕๕๓ โจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยส่งไปยังภูมิลำเนาของจ้าเลยตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร อันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการแล้ว แต่เหตุที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยได้ ในครั้งแรกเกิดจากการที่จำเลยหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปรับหนังสือ ดังกล่าวภายในกำหนด จึงถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งแรกด้วย แล้ว เมื่อในการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ครั้งที่ ๒ มีผู้รับไว้แทน จำเลยจึงได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกัน ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๘ (๙) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว



กรณีเป็นลูกหนี้ร่วมการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๗๕/๒๕๓๖ จำเลยที่ ๓ อยู่ในฐานเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ และนาวาตรีสมภพ โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ ๓ ชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทกได้ทั้งหมดหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น ดังนั้น แม้โจทก์ไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่นาวาตรีสมภพลูกหนี้ร่วมคนหนึ่ง และถอนฟ้องจำเลยที่ ๒ ลูกหนี้ร่วมอีกคนหนึ่งก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ ๓ ล้มละลาย

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๔/๒๕๓๖ แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด แต่คู่ความก็ต้องผูกพันในผลของคำพิพากษานั้น จนกว่าคำพิพากษาจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย จึงถือว่าเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙ (๓) เมื่อจำเลยที่ ๑ ทราบคำบังคับและหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว จำเลยที่ ๑ ได้โอนทรัพย์สินของตนไปหมดแล้ว ส่วนจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้นไม่พอชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งมีจำนวนหนี้ทั้งสิ้นถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ยังไม่สมควรให้จำเลยที่ ๑ ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๑๔


ต่อมายังมีคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๑๖/๒๕๕๗, ๑๘๗๙๕/๒๕๕๗, ๘๖๒๗/ ๒๕๕๘, ๑๕๕๑๕/๒๕๕๘ และ ๙๑๔/๒๕๕๙ วินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕/๒๕๓๖


แนะนำ :-

       - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2


       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น