เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ฎีกาที่ 6969/2555 - ถอดเทป เนติฯ* วิ.อาญา ภาค1-2 (อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์) 20 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ฎีกาที่ 6969/2555 - ถอดเทป เนติฯ* วิ.อาญา ภาค1-2 (อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์) 20 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

ฎีกา ถอดเทป เนติฯ* วิ.อาญา ภาค1-2 (อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์)
 20 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

-----------------
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๖๙/๒๕๕๕ จำเลยพูดหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ จนโจทก์ร่วมที่ ๑ หลงเชื่อส่งมอบเงินให้แก่จำเลย แม้เงินบางส่วนเป็นเงินของโจทก์ร่วมที่ ๒ ที่โอนมาให้ในบัญชีของโจทก์ร่วมที่ ๑ เพื่อให้ส่งมอบแก่จำเลย เนื่องจากเมื่อโจทก์ร่วมที่ ๑ หลงเชื่อ ตามคำหลอกลวงของจำเลยแล้วได้เล่าให้โจทก์ร่วมที่ ๒ ฟัง โจทก์ร่วมที่ ๒ หลงเชื่อว่า เป็นความจริงจึงร่วมลงทุนด้วย แต่การพูดหลอกลวงของจำเลยเป็นการพูดเพื่อให้มีผลต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ และได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๑ เท่านั้น จำเลยมิได้หลอกลวง โจทก์ร่วมที่ ๒ หรือเจตนาให้ได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่อาจถือได้ว่าการที่โจทก์ร่วมที่ ๒ รับฟังเรื่องราวจากโจทก์ร่วมที่ ๑ แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริงและประสงค์ร่วมลงทุนกับโจทก์ร่วมที่ ๑ ด้วย จึงได้โอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วม ที่ ๑ เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยเกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ โจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คดีนี้จำเลยพูดหลอกลวงโจทก์ร่วมที่ ๑ เท่านั้น จำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วม ที่ ๒ หรือเจตนาให้ได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๒ การที่โจทก์ร่วมที่ ๒ รับฟังเรื่องราว จากโจทก์ร่วมที่ ๑ แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริงและประสงค์ร่วมลงทุนกับโจทก์ร่วมที่ ๑ ด้วย โดยโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมที่ ๑ เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยนั้นไม่ได้ เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยต่อโจทก์ร่วมที่ ๒ โจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่เป็นผู้เสียหายในคดีนี้แต่ในเรื่องทางแพ่งก็ว่ากันไปใครเป็นเจ้าหนี้ใครเป็นลูกหนี้มูลหนี้ มีอยู่ ๕ อย่างก็ว่ากันไป แต่ในทางอาญาต้องรู้สึกสำนึกในการกระทำและเป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จำเลยไม่ได้หลอกลวงโจทก์ที่ ๒ โจทก์ที่ ๒ ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาแต่เป็นเจ้าหนี้ในคดีแพ่ง ถ้ามีการร้องทุกข์โดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิก็ไม่ใช่การร้องทุกข์ตามกฎหมายอัยการก็ฟ้องไม่ได้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้เพราะว่าการสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัวต้องมีการร้องทุกข์ แล้ว อัยการฟ้องคดีไม่ได้ถ้าไม่มีการสอบสวนเพราะอัยการในประเทศไทยเริ่มต้นคดีเองไม่ได้ แต่โดยปกติคดีในประเทศไทยถ้ารัฐดำเนินคดีให้จะเริ่มที่พนักงานสอบสวน แต่ถ้าผู้เสียหาย สามารถฟ้องคดีเองได้ แต่ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน แต่ถ้าเป็นอัยการฟ้องศาลจะไม่ไต่สวนก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น