เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: เก็งวิแพ่ง เนติ ข้อ1 สมัยที่71

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

เก็งวิแพ่ง เนติ ข้อ1 สมัยที่71

เก็งวิแพ่ง เนติ ข้อ1 สมัยที่71


ศาลที่จะยื่นฟ้อง หรือเสนอคำฟ้อง
        บทบัญญัติที่กำหนดว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลใดนั้น มีตามมาตรา  ๓, , ๔ ทวิ, ๔ ตรี, ๔ จัตวา, ๕ เบญจ, ๔ ฉ, , และ ๗ ในการที่จะพิจารณาว่าจะต้องยื่นฟ้องต่อศาล
      ตามบทมาตราข้างต้นนั้นมีหลักการทั่วไปที่ควรจะได้ทำความเข้าใจก่อน คือ ที่จะพิจารณาว่าจะฟ้องคดีต่อศาลใดมีหลักในการพิจารณาในภาพรวมได้ดังนี้คือ
        (๑) ศาลที่จำเลยหรือผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต
        (๒) ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขต
        (๓) ศาลที่อสังหาริมทรัพย์ที่ขอบังคับอยู่ในเขต
        (๔) ไม่อยู่ในเงื่อนไขข้างต้นต้องฟ้องต่อศาลที่กำหนดเป็นพิเศษ


มาตรา ๓ เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
        (๑) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราช อาณาจักร ให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจ
        (๒) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
        (ก) ถ้าจำเลยเคยมิภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกำหนด สองปีก่อนวันที่มิการเสนอคำฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย
        (ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนใน ราชอาณาจักรไม่ว่าโดยตนเองหรือตัวแทน หรือโดยมิบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทน หรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลยได้
        ความที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตรา ๓ ในการที่จะใช้บทบัญญัติใน (๑) หรือ (๒) นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้องเท่านั้น จะนำไปใช้ในกรณี อื่นไม่ได้ หมายความว่าเป็นบทบัญญัติที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง หรือการเสนอคดีต่อศาลเท่านั้น จะใช้เป็นภูมิลำเนาในเรื่องอื่นไม่ได้

บทบัญญัติของมาตรา ๓ (๑) มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ ๓ ประการ
        ๑. มูลคดีที่เกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทย
        ๒. เรือไทยหรืออากาศยานไทยนั้นอยู่นอกราชอาณาจักร

        ๓. สามารถที่จะฟ้องคดีต่อศาลแพ่งได้

สกัดหลักกฎหมายที่สำคัญ
  ๑. การฟ้องคดีเมื่อเกิน ๒ ปี นับแต่จำเลยย้ายภูมิลำเนาออกไปนอกราชอาณาจักร นั้นก็ดี หรือภายหลังกว่า ๒ ปี นับแต่จำเลยเลิกประกอบกิจการก็ดี จะใช้หลักเกณฑ์ตาม มาตรา ๓ (๒) ไม่ได้
 ๒. มาตรา ๓ เป็นการบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการฟ้องคดีไม่ใช่ว่าเมื่อ มีสิทธิฟ้องตามมาตรา ๓ แล้ว ทำให้หมดสิทธิฟ้องตามมาตราอื่น


คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๘๐/๒๕๔๒*** บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา ๓ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่ให้โอกาสที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรได้ หากจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนในราชอาณาจักรทั้งโดยตนเองหรือตัวแทนหรือเพียงแต่จำเลยมีผู้ติดต่อในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น ก็ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการ หรือ ติดต่อดังกล่าวหรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มีการเสนอคำฟ้องต่อศาลที่สถานที่ตังกล่าวอยู่ในเขตศาลได้ จำเลยที่ ๒ เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ ๑ โดยเป็นผู้ติดต่อในการนำเรือให้ถึงท่าปลายทางและติดต่อนำเรือออกจากท่าปลายทางตลอดจนการติดต่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนเรือในกิจการขนส่งทางทะเลอันเป็นธุรกิจบริการของจำเลยที่ ๒ แม้จำเลยที่ ๒ จะไม่ใช่ผู้ร่วมขนส่งกับจำเลยที่ ๑ แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที ๒ เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการขนส่งของจำเลยที่ ๑ ในราชอาณาจักร เมื่อปรากฎตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ จึงถือว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๒ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ ๑ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ ๑ ที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้อันเป็นศาลที่ถือว่าจำเลยที่ ๑ มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตาม ป.วิ.พ. ๔ (๑) ได้
        โจทก์ได้ทำสัญญาประกันภัยทางทะเลกบบริษัทผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัยดังกล่าว เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวแก่บริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับตราส่งสินค้าที่เอาประกันภัย โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาฟ้องจำเลยที่ ๑ ผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวได้



อ้างอิง : คำบรรยายเนติ เล่มที่ 7 วิชา วิ.แพ่ง ภาค 1 อ.อุดม เฟื่องฟุ้ง สมัยที่71

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น