เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: เก็ง วิแพ่ง ข้อ2
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็ง วิแพ่ง ข้อ2 แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็ง วิแพ่ง ข้อ2 แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

เก็ง วิแพ่ง ข้อ2 วิแพ่ง ภาค1 เนติฯ สมัยที่ 71

เก็ง วิแพ่ง ข้อ2 ภาค1 เนติฯ สมัยที่ 71



มาตรา 144 (ออกสอบ ล่าสุดสมัยที่ 70) เมื่อศาลใดมีคำพิพากษา หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น เว้นแต่กรณีจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
(1) การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามมาตรา 143
(2) การพิจารณาใหม่แห่งคดีซึ่งได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินไปฝ่ายเดียว ตามมาตรา 209 และคดีที่เอกสารได้สูญหายหรือบุบสลายตามมาตรา 53
(3) การยื่น การยอมรับ หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาตามมาตรา 229 และ 247 และการดำเนินวิธีบังคับชั่วคราวในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ หรือฎีกาตามมาตรา 254วรรคสุดท้าย
(4) การที่ศาลฎีกาหรือศาลอุทธรณ์ส่งคดีคืนไปยังศาลล่างที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เพื่อให้พิพากษาใหม่หรือพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามมาตรา 243
(5) การบังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งตามมาตรา 271

ทั้งนี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิในอันที่จะบังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 16 และ 240 ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลอื่นแต่งตั้ง


สกัดหลักกฎหมาย
1. มีประเด็นข้อพิพาท ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน
2. เมื่อคู่ความในคดีดังกล่าวกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และ
3. ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
4. จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

คำพิพากษาฎีกาที่ 441-442/2559  โจทก์ทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงกับ อ. และจำเลยที่ 5 แบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดเลขที่  18144 ให้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินคนละส่วนเท่ากัน ต่อมาโจทก์ทั้งสามปฏิบัติผิดข้อตกลง อ. กับจำเลยที่ 5 จึงฟ้องโจทก์ทั้งสามเป็นจำเลยให้ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย โจทก์ทั้งสามยื่นคำให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง โดยอ้างเหตุทำนองเดียวกับที่โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งห้าในคดีนี้ว่าโจทก์ทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงเพราะถูกข่มขู่ ต่อมาศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกฟ้องเป็นจำเลย ได้มีคำพิพากษาให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยศาลชั้นต้นได้ วินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ยอมทำบันทึกข้อตกลงกับ อ. และจำเลยที่ 5 เพื่อเป็นไปตามคำประสงค์เดิมของบรรดาญาติพี่น้อง หาใช่เพราะถูก ข่มขู่ให้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงไม่ บันทึกข้อตกลงจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ ทั้งสามไม่มีสิทธิบอกล้าง ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับคดีแพ่งของศาลชั้นต้น มีประเด็นข้อพิพาท ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน เมื่อคู่ความในคดีดังกล่าวกับคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144



กรณีที่ไม่ถือว่าทั้งสองคดีมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกัน


        คำพิพากษาฎีกาที่ 4765/2539 คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า จำเลยเป็นบุตรคนเดียวของ ห. มีสิทธิรับมรดก คือ ทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว ประเด็นจึงมีว่า จำเลย เป็นบุตรของ ห. แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ ห. และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรส ประเด็นจึงมีว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ



กรณีที่ไม่ถือว่าทั้งสองคดีมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกัน


        คำพิพากษาฎีกาที่ 2046/2558 การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกในศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีและประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าพินัยกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 กำหนดว่า เมื่อมีเหตุอันสมควร ศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ เมื่อผู้คัดค้านร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย อ้างว่าพินัยกรรมปลอม แต่ผู้ร้องคัดค้านคำร้องขอของผู้คัดค้าน ดังนี้ คำร้องขอของผู้คัดค้านและคำคัดค้านของผู้ร้อง จึงเป็นคำคู่ความที่จะก่อให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งแตกต่างกัน จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144


กรณีที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือประเด็นข้อใดแห่งคดี

คำพิพากษาฎีกาที่ 2854/2561 (ฎีกาใหม่*) คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้โจทก์และจำเลยหย่ากันและแบ่งสินสมรส ประเด็นในคดีก่อนมีว่า มีเหตุหย่าหรือไม่ หากศาลพิพากษา ให้หย่าจึงจะมีการแบ่งสินสมรสกันว่ามีทรัพย์สินใดที่เป็นสินสมรส เมื่อศาลพิพากษา ยกฟ้องเนื่องจากไม่มีเหตุหย่า จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้แยกสินสมรสและให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ประเด็นแห่งคดี มีว่า มีเหตุให้แยกสินสมรสหรือไม่ และจำเลยต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือไม่ และ สินสมรสที่ต้องแยกได้แก่ทรัพย์สินใด ประเด็นแห่งคดีนี้และประเด็นแห่งคดีก่อนต่างกัน แม้ทรัพย์สินที่อ้างตามฟ้องคดีนี้จะเป็นทรัพย์สินตามฟ้องกับคดีก่อน แต่คดีก่อนศาลยังไม่ได้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสต้องแบ่ง ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกี่ยวกับ สินสมรสเป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน


อ้างอิง  รวมคำบรรยายเนติ เล่มที่7 วิชา วิ.แพ่ง ภาค 1 อ.อำนาจ พวงชมภู สมัยที่71