เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: เก็งเนติ วิแพ่ง
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งเนติ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งเนติ วิแพ่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1


        คำถาม คดีที่มีโจทก์หลายคนร่วมกันฟ้องจำเลย โดยโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวเรียกการเอาส่วนของตน การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกันหรือรวมกัน?

        คำตอบ กรณีเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา ๕๕ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของ โจทก์แต่ละคนแยกกัน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ตังนี้

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๓๕/๒๕๕๒ โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๙ แต่โจทก์ที่ ๑ อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดา โจทก์ที่ ๑ เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ ๑ ต่อมาโจทก์ที่ ๑ แบ่งที่ดินออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ เนื้อที่ ๙ ไร่ ๙๓ ตารางวา ราคาประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ ๒ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๕๓ ตารางวา ราคาประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ ๒ และ ส่วนที่ ๓ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๓๙ ตารางวา ราคาประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ ๓ หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา ๕๕ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของ โจทก์แต่ละคนแยกกัน

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ1 สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1

        
เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ1 สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1


        คำถาม เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นโดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ทำที่สำนักงานของผู้รับโอน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่ผู้รับโอน จะถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด?
        คำตอบ ถือว่ามูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเกิด ขึ้น ณ ที่สำนักงานของผู้รับโอน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๓๐/๒๕๕๔ สัญญาว่าจ้างที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ระบุว่าทำ ณ ที่ทำการของจำเลยที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพล แม้ห้างดังกล่าวทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง ตามสัญญาว่าจ้างให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของห้างฯ ในอันที่จะบังคับชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมจากจำเลยแทนห้างฯ เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเรียกร้อง เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย และจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ถือว่ามูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเกิด ขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดพล โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลชั้น ต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ (๑) ไม่ได้

        อธิบาย ตามมาตรา ๔(๑) นี้ โจทก์สามารถฟ้องได้ยังศาลที่
        ๑. จำเลยมีภูมิลำเนาหรือ
        ๒. ศาลที่มูลคดีเกิดได้ ถ้าจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯ ให้ฟ้องยังศาลที่มูลคดีเกิดโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาหรือสัญชาติของจำเลย