เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: สรุปฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 สัปดาห์ที่ 8 อ.อรรถนิติ 12 ม.ค. 61 (ภาคปกติ) สมัยที่ 70

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 สัปดาห์ที่ 8 อ.อรรถนิติ 12 ม.ค. 61 (ภาคปกติ) สมัยที่ 70

สรุปฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 สัปดาห์ที่ 8 อ.อรรถนิติ 12 ม.ค. 61 (ภาคปกติ) สมัยที่ 70

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหนังสือ รับรองคดีถึงที่สุดที่ศาลชั้นต้นได้ออกให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นคำสั่งที่ศาล ชั้นต้นได้สั่งหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แล้ว คำสั่งทั้งสองประการดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อีกทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งทั้งสองดังกล่าวได้

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228
                การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
                จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
                ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน


                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2547 ป.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะโดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่ เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
                ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2540 คำสั่งอันจะถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะคำสั่งที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเท่านั้น แม้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีกคำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ขาดคำขอนั้นย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน ดังนั้น หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่24 มกราคม 2538 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ก่อนที่จะมีคำสั่งชี้ขาดอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งวันที่ 31 มกราคม 2538 จำเลยจึงมีเวลาถึง7 วัน ที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวได้ แต่หาได้โต้แย้งคัดค้านไม่จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
                ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)


                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546 คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,173 วรรคสอง (1) และมาตรา 148 นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสองมาตรา 227 และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226


                 ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปคำบรรยายฯ เก็งพร้อมสอบรายข้อ อัพเดท ที่ LawSiam.com


                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น