เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยปัจจุบัน: เก็งอาญา เนติ
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งอาญา เนติ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เก็งอาญา เนติ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เก็งอาญา เนติ ข้อ 2-3 สมัยที่ 77 ชุดที่4

 


ทบทวนประเด็นกฎหมายที่น่าออกสอบ เนติฯ

วิิชา กฎหมาย อาญา ข้อ ๒-๓ สมัยที่ ๗๗ ชุดที่ ๔


ประเด็นข้อสอบ ที่ว่า “ประมาท” หรือไม่ ต้องเขียนอธิบาย และพิจารณา ....

          ๑. ภาวะ

          ๒. วิสัย และ

          ๓. พฤติการณ์


ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจ

          ฎีกาที่ ๑๙๖๑/๒๕๒๘ วินิจฉัยว่า บุคคลที่ตกอยู่ในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ที่กําลังหนีภัยจากการถูกกลุ้มรุมทําร้ายเช่นจําเลยในขณะนั้น ย่อมจะเกณฑ์ให้มีความระมัดระวังเหมือนอย่างบุคคลธรรมดาย่อมไม่ได้อยู่เอง 


๑. การที่ถูกคนร้ายเอาปืนจ่อหัว คนร้ายสั่งให้ขับรถด้วยความเร็วสูง

         การที่คนขับรถแท็กซี่ถูกคนร้าย เอาปืนจี้หัว สั่งให้ขับรถด้วยความเร็วสูง ในเวลากลางคืน แล้วคนร้ายบังคับคนขับ แท็กซี่ด้วยว่าอย่าเปิดไฟหน้ารถ คนขับรถแท็กซี่คือดำกลัวตาย ก็ทําตามที่คนร้ายสั่ง รถที่คนขับแท็กซี่ขับไปก็ไปชนนายขาว ขาวตาย ภาวะ วิสัยและพฤติการณ์ อย่างนี้ คงจะต้องวินิจฉัยว่า ดำไม่ประมาท


๒. มีคนร้ายวิ่งไล่ตามจะทําร้ายจําเลย จําเลยวิ่งหนี โดยยิงปืนขู่ขึ้นฟ้า ๑ นัด แล้วปืน ไปลั่นถูกผู้เสียหาย ผู้เสียหายตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จําเลยไม่ประมาท 



คำบรรยายเนติ วิชา กฎหมายอาญา ม.๕๙-๑๐๖ อ.เกียรติขจรฯ เล่มที่ ๓ สมัยที่ ๗๗



วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567

เก็ง เนติ ภาค1 กลุ่มอาญา ข้อ 2-3 สมัยที่ 77 ชุดที่ 2

 

เก็ง เนติ ภาค ๑ กลุ่มอาญา 

ข้อ ๒- ๓ สมัยที่ ๗๗ ชุดที่ ๒

---------------------


ประเด็น : บิดา “ฆ่า” บุตรผู้เยาว์เป็นการ “ฆ่า” โดย “งดเว้น” โดยมี “บุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดด้วย”

ตัวอย่าง นายแดงและนางขาววางแผนฆ่าเด็กหญิงดําบุตรผู้เยาว์ของนายแดง แต่ยังหาโอกาสไม่ได้ วันหนึ่งนายแดงและนางขาวไปเดินเที่ยวเล่นด้วยกัน เห็นเด็กหญิงดําซึ่งพลัดตกลงไปในสระน้ำกําลังจะจมน้ำตาย นายแดงและนางขาวช่วยได้ แต่ไม่ช่วยเมื่อเห็นนายเขียวพลเมืองดีเดินมา นางขาวก็หลอกให้เดินไปทางอื่น ในที่สุด เด็กหญิงดําก็จมน้ำตาย

ดังนี้ นายแดง “ฆ่า” เด็กหญิงดํา เป็นการฆ่าโดยการกระทำโดย “งดเว้น” (ไม่ต่างไปจากใช้ปืนยิงเด็กหญิงดํา) จึงมีความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๔) โดยนางขาว มีความผิดฐานเป็น “ตัวการ” ตามมาตรา ๒๘๙ (๔) ประกอบมาตรา ๘๓ (หมายเหตุ นอกเหนือไปจากความผิดฐานไม่ช่วยตามมาตรา ๓๗๔ ซึ่งเป็นการกระทำโดย “ละเว้น”)

ข้อสังเกต แม้นางขาวจะมิใช่มารดาของเด็กหญิงดํา นางขาวก็เป็น “ตัวการ" ในความผิดตามมาตรา ๒๘๙ (๔) ได้ ตามหลักที่ว่า “ตัวการอิงความผิดของผู้ลงมือ”


 คำบรรยายเนติ วิชา กฎหมายอาญา ม. ๕๙ - ๑๐๖  อ.เกียรติขจรฯ เล่มที่ ๒  สมัยที่ ๗๗

https://www.lawsiam.com/?name=Thaibar1-Aya

เก็งเนติ ภาค1 กลุ่มอาญา ข้อ 2-3 สมัยที่ 77

 

เก็งเนติ ภาค1 กลุ่มอาญา สมัยที่ 77

 ข้อ 2-3 


กระทำโดย “ประมาท” (ตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่) + การกระทำโดยงดเว้น

กรณีที่เป็นการกระทำโดย “ประมาท” (ตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่) เช่น มาตรา ๓๐๐ ธงคำตอบ เนติฯ สมัย ๗๒ ข้อ ๓ มีข้อความ ดังนี้

นางสาวหนึ่งและนางสาวสองรับหน้าที่เป็นคนดูแลเด็กหญิงมะลิ จึงมีหน้าที่ โดยเฉพาะที่จะต้องป้องกันไม่ให้เด็กหญิงมะลิได้รับอันตราย การร่วมกันเล่มเกมทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ทำให้เด็กหญิงมะลิคลานไปตกท่อนํ้าข้างสนามหญ้าได้รับอันตรายสาหัส เป็นการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้อง กระทำเพื่อป้องกันผลนั้น จึงเป็นการกระทำโดยงดเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๙ วรรคท้าย เมื่อเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคล ในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาท ตามมาตรา ๕๙ วรรคสี่ ทั้งสองคนจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสตามมาตรา ๓๐๐ โดยถือว่าต่างคนต่างประมาท มิได้เป็นตัวการร่วมกัน เพราะมิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา

หลักเกณฑ์ที่สําคัญของการกระทำโดยงดเว้น คือ ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำและหน้าที่นั้นจะต้องเป็นหน้าที่โดยเฉพาะที่จะต้องกระทำาเพื่อป้องกันมิให้เกิดผล ซึ่งเกิดขึ้นนั้น


ข้อสังเกต เวลาตอบข้อสอบ* อย่าตอบว่า ผิดฐานงดเว้น


ประเด็นที่น่าสนใจ

บิดาเห็นบุตรผู้เยาว์ของตนกําลังทำร้ายร่างกายผู้อื่น บิดาสามารถห้ามปรามและ “ลงโทษ” บุตรผู้เยาว์ของตนได้ แต่ไม่สนใจใยดี (เน้น*)

ในกรณีเช่นนี้ หากบุตรผู้เยาว์มีความผิด เช่น มาตรา ๒๙๕ ก็อาจต้องถือว่า บิดาผิดฐานทำร้ายร่างกายบุคคลที่สามด้วย (ถ้าบิดา “เจตนา” ก็ผิดมาตรา ๒๙๕ ถ้า “ประมาท” ก็ผิดมาตรา ๓๙๐) เพราะ “งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย”

 ข้อสังเกต

๑.) “ผล” ตามมาตรา ๒๙๕ และมาตรา ๓๙๐ คือ “อันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น”

๒.) “จักต้อง กระทำ” หมายความว่า “มีหน้าที่ต้องห้ามปราม” เพราะ ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๖๗ (๒) ให้อํานาจบิดา “ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน”

 ดังนั้น เมื่อบิดาไม่สนใจ ใยดีห้ามปรามและลงโทษบุตรผู้เยาว์ของตน ปล่อยให้ไปทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อหน้าต่อตา บิดาก็ผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย แต่เมื่อบิดาไม่มี “เจตนา” ก็ไม่ผิด มาตรา ๒๙๕ แต่อาจถือว่า “ประมาท” และผิดมาตรา ๓๙๐ ได้


https://www.lawsiam.com/?name=Thaibar1-Aya



เก็งเนติ อาญา ข้อ 4 กฎหมายอาญา "อัังยี่ ซ่องโจร" สมัยที่ 77

 

 เก็งเนติ อาญา ข้อ 4 กฎหมายอาญา สมัยที่ 77


 หลักกฎหมายที่ต้องท่องจำ

ความผิดฐานเป็น อัังยี่ ซ่องโจร

อัังยี่ 

๑. การมีบุคคลตั้งแต่ ๒ คน ขึ้นไปก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว 

๒. ปกปิดวิธีดําเนินการ หมายถึง ปกปิดไม่ให้ทราบว่ามีวิธีการดําเนินการอย่างไร เหตุผลที่ต้องปกปิดไม่ให้บุคคลอื่นรู้ นอกจากหมู่คณะของตนก็เพราะว่ามีความมุ่งหมาย เพื่อที่จะกระทําการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

 

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๔/๒๕๕๗ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมาย เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ความผิดฐานเป็นช่องโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๑๐ เป็นขั้นตอนการกระทําความผิดที่ยกระดับถึงขั้นคบคิดกันหรือตกลงกันหรือประชุมหารือกันเพื่อจะกระทําความผิด สภาพความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานเป็นซ่องโจรจึงสามารถแยกการกระทําแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม


คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๘๐/๒๕๕๖  ความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานเป็นซ่องโจร ย่อมเป็นความผิดสําเร็จแล้ว ตั้งแต่มีการสมคบวางแผนเพื่อกระทําการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทําการตามที่ได้สมคบกันก็ตามจึงเป็นการกระทําความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อต่อมาจำเลยกับพวกวางแผนการอย่างใด ๆ เพื่อก่อความไม่สงบสุขร่วมกันดักซุ่มยิงทหารชุดคุ้มครองครูจึงเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังแยกออกจากกัน การกระทําความผิดฐานพยายาม ฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง


ความผิดฐานซ่องโจร 

๑. การกระทํา ได้แก่ การสมคบกันตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๐๕๐/๒๕๓๔ ความผิดฐานเป็นซ่องโจรจะต้องมีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปคบคิดประชุมหารือร่วมกัน และตกลงกันที่จะกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค ๒ แห่ง ป.อ. และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทั้งนี้โดยการประชุมหารือร่วมกันและตกลงกันว่าจะกระทำความผิดอะไรเป็นข้อสาระสำคัญของความผิดฐานเป็นซ่องโจร ได้ความเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้เล่ห์เพทุบายในการเล่นการพนันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเป็นฝ่ายเล่นแพ้และเสียทรัพย์พนัน แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยกับพวกได้คบคิดร่วมประชุมปรึกษาหารือกันที่ไหนเมื่อใด และได้ตกลงกันจะกระทำความผิดอย่างใดหรือไม่ จึงจะลงโทษจำเลยฐานเป็นซ่องโจรมิได้

 

หากได้ความเพียงว่ามีกลุ่มคนร้ายวัยรุ่น จะเข้ามาชิงหรือปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ในเขตเทศบาลเมืองกําแพงเพชรเท่านั้น แต่โจทก์สืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามกับพวกได้คบคิดร่วมกันประชุมปรึกษาหารือกันที่ไหน เมื่อใดและได้ตกลงกันจะกระทําความผิดอย่างใดหรือไม่  หากโจทก์สามารถพิสูจน์ในส่วนนี้ได้ ศาลจึงจะลงโทษจำเลยฐานซ่องโจรได้ (ฎีกาที่ ๓๒๐๑/๒๕๒๗)


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๒๐๑/๒๕๒๗ ความผิดฐานเป็นซ่องโจรนั้น การประชุมหารือร่วมกันและตกลงกันว่าจะกระทำความผิดอะไร เป็นข้อสาระสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่ามีการกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจรหรือไม่


     ๒. การสมคบกันนั้นต้องเป็นการสมคบกันระหว่างผู้ที่เป็นตัวการร่วมกัน จำนวน ๕ คน ไม่ใช่กับบุคคลภายนอก

หากรวมกันแล้วไม่ถึง ๕ คน ก็ถือว่าขาดองค์ประกอบความผิดฐานนี้เช่นกัน เช่น การที่จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๕ ร่วมกันเจรจากับเจ้าพนักงานตํารวจที่ไปล่อซื้อเสนอขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกลักมาให้แก่เจ้าพนักงานตํารวจ มีลักษณะเป็นการกระทําต่อบุคคลภายนอก เป็นต้น


๓. ความผิดที่สมคบกันเพื่อกระทําความผิดนั้น ต้องเป็นความผิดฐานใดฐานหนึ่ง ในประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๑ ปี ขึ้นไป ด้วย

ดังนั้น หากเป็นฐานความผิดที่อยู่ในภาค ๓ ลหุโทษ ก็ไม่เข้า หรือเป็นฐานความผิด อยู่ในภาค ๒ แต่อัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง ๑ ปี ก็ไม่เข้าเกณฑ์เช่นกัน ในส่วนนี้ จึงทําให้ความผิดฐานซ่องโจรต่างจากความผิดฐานอั้งยี่ เพราะความผิดฐานอั้งยี่ ไม่ได้จำกัดว่าความผิดอาญาดังกล่าวต้องเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิดเท่านั้น