เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: ประเด็นนี้เคยนําไปออกข้อสอบ อาญา ข้อ ๑ เนติฯ สมัยที่ ๖๐

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ประเด็นนี้เคยนําไปออกข้อสอบ อาญา ข้อ ๑ เนติฯ สมัยที่ ๖๐

 

         คําว่า “แกล้ง” ตามมาตรา ๑๗๔ และ มาตรา ๒๐๐ ศาลใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานในการให้ความหมาย ซึ่งหมายความว่า จงใจทํา พูด หรือ แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น

        ข้อสังเกต ประเด็นนี้เคยนําไปออกข้อสอบเนติฯ สมัยที่ ๖๐ ร่วมกับความผิด เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร****

        ฎีกาที่ ๒๐๙/๒๕๐๖ จําเลยเกิดปากเสียงกับนายชิงชองแล้วถูกนายชิงชอง ชกต่อยเอา แต่จําเลยกลับนําความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีนักเลง ๓ คน กลุ้มรุมทําร้ายจําเลย โดยคนหนึ่งใช้ไม้ตีคนหนึ่งล็อกคอ อีกคนหนึ่งล้วงเอาเงินในกระเป๋าเสื้อไป ๓๐๐ บาท ซึ่งเป็นความเท็จ การกระทําของจําเลยเช่นนี้ย่อมเป็นการแกล้งจะให้นายชิงชองต้องรับโทษหนักขึ้น




อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น