เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74: เข้าใจว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้วไปแจ้งกับพนักงานสอบสวน มีความผิดฐานใด?

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เข้าใจว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้วไปแจ้งกับพนักงานสอบสวน มีความผิดฐานใด?

 

       กรณีเข้าใจโดยสุจริตว่ามีความผิดเกิดขึ้นแล้วไปแจ้ง แม้ความจริงจะไม่มีความผิดเกิดขึ้น ถือว่าไม่มีเจตนาไม่เป็นความผิด

        ฎีกาที่ ๘๙๗/๒๕๐๗ จําเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยเล่าเรื่องให้ฟังตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าในขณะที่โจทก์ออกจากบ้านได้มีเสียงปืนดังขึ้น ๑ นัด จําเลย ไม่เห็นคนยิง แต่เชื่อหรือเข้าใจว่าโจทก์เป็นผู้ยิงพนักงานสอบสวนได้สรุปข้อความตามคําแจ้งความไว้แล้ว มีความตอนหนึ่งว่าโจทก์ใช้ปืนพกยิงจําเลยเข้าใจว่าโจทก์มีเจตนาจะยิ่งจําเลยให้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ข้อความที่บันทึกไว้นั้นก็เป็นข้อความที่พนักงานสอบสวนบอกให้ตํารวจเขียน ไม่ใช่ถ้อยคําที่จําเลยแจ้งโดยแท้จริง ทั้งพฤติการณ์จําเลยมิได้เจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก็ไม่ผิด มาตรา ๑๗๒, ๑๗๓



อ้างอิง :  กฏหมายอาญา มาตรา1-58,107-208 (อ.ชาตรี สุวรรณิน) สมัยที่74

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น