เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เก็ง วิอาญา เนติ (ข้อมูล ในอดึต)

เก็ง วิอาญา เนติ (สรุปมาตราสำคัญวิอาญา)

ภาค1-2 มาตรา2,3,4,5,6,7,18,19,20,22-39,43-46,120-147

ภาค3-4 มาตรา158-167,172-181,185,191,192,193-198ทวิ202,221,224,225,245

สิทธิมนุษยชน  มาตรา74,78,80,81,85,87,90,92,117,119รธน.ดูเรื่องสิทธิผู้ต้องหาจำเลยผู้เสียหายและโจทก์

พยานวิอาญา มาตรา15,134,226,228,230,234,237ทวิ,238,239,240,243รธน.มตรา243,244

พยานวิแพ่ง  84,86,87,88,90,92,93,94,95,98,112-127,177

วิชาว่าความ ร่างฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง

วิชาการจัดทำเอกสาร  ร่างสัญญา ..... ตามที่อาจารย์เน้นแต่ละเทอม

--- ข้อมูล มาตราสำคัญๆ ในอดีต ที่สามารถนำมาท่องทบทวน ให้มีความแม่นยำ ----

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559 ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560 คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 ส. เป็นเจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่ตน ระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23125 และ 23126 ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา โดยไม่ปรากฏว่า ส. ผู้เป็นเจ้าหนี้ทราบเหตุดังกล่าว เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้การฟ้องเรียกร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น ดังนี้ อายุความ 1 ปี จึงยังไม่เริ่มนับเนื่องจาก ส. เจ้าหนี้ได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนวันที่จำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมดังกล่าว ส. จึงมิอาจรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องคดีอาญาว่า โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลยทั้งสี่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันดังกล่าวกรณีจึงต้องบังคับตามอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย

คำวินิจฉัยที่ 12/2560 (กฎหมายปกครอง 5 ดาว)

     คำวินิจฉัยที่ 12/2560  คดีที่เอกชนยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของมารดา เจ้าของที่ดิน น.ส. ๒ แต่จำเลยนำที่ดินบางส่วนของโจทก์ไปจัดสรรและออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. และไปขอออกเป็นโฉนดที่ดิน เมื่อโจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ออกให้ ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. และโฉนดที่ดินส่วนที่ทับ น.ส. ๒ ของโจทก์ จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูป จำเลยจึงมีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาทำการปฏิรูปได้ การขอออกโฉนดและการออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่าตามคำฟ้องและคำให้การคู่ความต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าว โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป โดยไม่จำต้องวินิจฉัยการกระทำของหน่วยงานทางปกครองว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560
ป.วิ.พ. ม.172 สอง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.17, ม.25 (4)
          แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559

      สินไถ่ไม่ใช่การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ จึงกำหนดสินไถ่เกินกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงได้ ซึ่งถ้าหากเกินกำหนดร้อยละ 15 ผู้ไถ่ก็สามารถไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากโดยรวมประโยชน์ตอบแทนได้เพียงร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นแม้จะเรียกสินไถ่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่เป็นการขัดต่อ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ไม่ทำให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด
       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559  น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีจึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เก็ง วิแพ่ง เนติ (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

เก็ง วิแพ่ง เนติ  (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

ข้อ 1-2 มาตรา 4 4 ทวิ 5 7 (2) 55-59 144 145 148 155 156 (มาตรา 18 27 ดูประกอบ)
2916/48 8553/47 772/49 1443/48 2962/43 6162/48 7047/48 1841/48
1864/48 674/49 4250/49 4813/48 133/49 3267/48 1887/46 3635/47 8712/47 4926/48

ข้อ 3 มาตรา 175 176 179 180 174 173 วรรคสอง(1) วรรคสาม วรรคท้าย
2214/49 1577/48 3688/47 3920/48 4856-4857/48

ข้อ 4 เน้นขาดนัดพิจารณา 2770/49

(ข้อ 3-4 2686/48 3132/49)

ข้อ 5 มาตรา 224-229 (มาตรา 223 ทวิ 234 236 ดูประกอบ)
6109/48(หรือ 49 ไม่แน่ใจ)/ 3933/48
1112/49 1203/49 1621/49 2539/49 132/49 6443/48 2376/48 4581/48 5590/48 5167/48 143/48 8882/48

ข้อ 6 มาตรา 254 255 260 264 267 (มาตรา 253 253 ทวิ ดูประกอบ)
(มาตรา 253 ทวิ วรรคสอง 254 264 เทียบไต่สวนคำร้องในศาลสูง)
3740/49 7221/44 9270/47 7140/47

ข้อ 7 มาตรา 271 282 283 287-290 296 จัตวา (3) 309 ทวิ
3137/49 638/49 2117/48**ดูหมายเหตุด้วย 2070/48 5294/47 1362/48

(ข้อ 6-7 130/49 638/49 835/49 258/49 4661/48 9270/47)

ข้อ 8 878/49 มาตรา 123
608/48 มาตรา 22 155 179(3)
5369/49 มาตรา 101
7966/44 678/08(ป) 1708/48
1594/42 7786/48

ข้อ 9 5375/48 2125/48 5020/47 1665/48 4862/48

(ข้อ 8-9 4230/48 136/40 7786/48 8443/47 3747/47 2450/47 5375/48 1219/49 1239/47 5369/49 3902/49 2125/48 3195/49 591/47 5198/47 6084/48 4239/45 318/45 4822/45 698/46 457/47 122/47 5414-5415/47 1592/47 2068/49 2125/48 2450/47

ข้อ 10 7368/48 7601/48 5943/48(ป) 4892/48


ฟื้นฟูกิจการ** มาตรา 90/60 มาตรา 90/42 ทวิ





มาตราเด่น

ชุดที่ 1 
มาตรา 4 23 27 40 42 55-57 59-60 73ทวิ 76 79 83 ทวิ 138 142 144 145 146 148 173วรรคสอง(1) 156 168 174 175 177 วรรคสาม 180 182 198(911/48) 200 202 207 193 ทวิ 199 เบญจ
223-249 (เน้น 223 223 ทวิ 224+248 225+249 226 228 229 234 236)
296 309 ทวิ 254 264 267 271 287 288 290 292 296 296 ทวิ 306

ชุดที่ 2
มาตรา 4 10 23 24 27 40 42 46 55 57 59-61 67 74 79 132 138 142-145 148 156 157 167 172-174 176 177 180 198 ทวิ ตรี 199 เบญจ 200 202 207 223 224+248 225+249 226 229 231 234 236 246 247 254 260 264 271 280 287 288 289 290 296 307 309 ทวิ 312 313

---- ข้อมูลในอดีต สำหรับนำไปพิจารณาท่องมาตราสำคัญๆ -----

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป
           คำพิพากษาฎีกาที่ 10504 / 2558 จำเลยร่วมได้ขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่บุคคลภายนอกอันเป็นเหตุให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าโดยจำเลยร่วมมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าแจ้งให้โจทก์ออกจากทรัพย์สินที่เช่าแล้วโจทก์ก็ควรจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยยินยอมออกไปจากทรัพย์สินที่เช่าโดยดีเมื่อโจทก์ประพฤติผิดสัญญาเช่าโดยไม่ยินยอมออกไปจำเลยที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งมีสิทธิใช้สอยติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฏหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองใช้กลุ่มบุคคลประมาณ 50 คนเข้ายึดถือครอบครองโรงแรมพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิ์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปได้การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ถอดคำบรรยายเนติ พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค2 สมัยที่ 70

ถอดคำบรรยายเนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค2 สมัยที่ 70

     การเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ในเบื้องต้นนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีอยู่คู่กาย ในเบื้องต้น คือ
     1. ตัวบทกฎหมาย (ที่อัพเดท) ซึ่งปัจจุบัน กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง , กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีการแก้ไขใหม่ หลายมาตรา*
     2. หนังสือรวมคำบรรยายเนติ (ที่อัพเดท สมัยปัจจุบัน) สั่งตรงจากสำนักฝึกอบรมเนติฯ
     3. สรุปตัวบท สาระสำคัญ มาตราที่ออกสอบแล้วในปีที่ผ่านมา หรือ หลายๆ สมัยย้อนหลัง
     4. ข้อสอบเนติฯ (ข้อสอบเก่า) ฝึกทบทวน หัดเขียน หรือคัดลอก เพื่อความคล่องในเวลาลงสนามสอบ

     ดังนั้น 4 ประการดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้นจะช่วยทำให้ผู้ศึกษาในระดับเนติบัณฑิต จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก


---------------------------------------
ถอดเทป สรุป เก็งฎีกา เตรียมสอบ รายข้อ อัพเดท ก่อนถึงวันสอบ 1-2 วัน ที่ LawSiam.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 14281/2558

         คำพิพากษาฎีกาที่ 14281/2558 คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295