เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เก็ง วิอาญา เนติ (ข้อมูล ในอดึต)

เก็ง วิอาญา เนติ (สรุปมาตราสำคัญวิอาญา)

ภาค1-2 มาตรา2,3,4,5,6,7,18,19,20,22-39,43-46,120-147

ภาค3-4 มาตรา158-167,172-181,185,191,192,193-198ทวิ202,221,224,225,245

สิทธิมนุษยชน  มาตรา74,78,80,81,85,87,90,92,117,119รธน.ดูเรื่องสิทธิผู้ต้องหาจำเลยผู้เสียหายและโจทก์

พยานวิอาญา มาตรา15,134,226,228,230,234,237ทวิ,238,239,240,243รธน.มตรา243,244

พยานวิแพ่ง  84,86,87,88,90,92,93,94,95,98,112-127,177

วิชาว่าความ ร่างฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง

วิชาการจัดทำเอกสาร  ร่างสัญญา ..... ตามที่อาจารย์เน้นแต่ละเทอม

--- ข้อมูล มาตราสำคัญๆ ในอดีต ที่สามารถนำมาท่องทบทวน ให้มีความแม่นยำ ----

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559 ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560 คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 ส. เป็นเจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่ตน ระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23125 และ 23126 ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา โดยไม่ปรากฏว่า ส. ผู้เป็นเจ้าหนี้ทราบเหตุดังกล่าว เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้การฟ้องเรียกร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น ดังนี้ อายุความ 1 ปี จึงยังไม่เริ่มนับเนื่องจาก ส. เจ้าหนี้ได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนวันที่จำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมดังกล่าว ส. จึงมิอาจรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องคดีอาญาว่า โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลยทั้งสี่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันดังกล่าวกรณีจึงต้องบังคับตามอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย