เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง. ภาค1 ภาคค่ำ อ.ศิริชัยฯ วันเสาร์ 25 พย 60 สมัยที่70

ฎีกาเนติฯ วิแพ่ง ภาค1 ภาคค่ำ อ.ศิริชัยฯ 
วันเสาร์ ที่ 25 พย 60 สมัยที่70
-------------------------



ป.วิ.พ.มาตรา ๔ (๑)   
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๖๔/๒๕๔๒ บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียนการหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๔ (๑)
        ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๕๕/๒๕๔๐ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๒๐ และมาตรา ๑๕๖๖() เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต* กรุงเทพมหานครจึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๖๔/๒๕๔๒ บันทึกในทางทะเบียนการหย่าตามฟ้องทำที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยไม่ทำหน้าที่ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสองจึงถือว่า เป็นกรณีที่อ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่านั้น แม้จำเลยและบุตรทั้งสองมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ก็ตาม ก็ถือว่าสถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนการหย่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในท้องที่ที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงในทะเบียน การหย่าไว้นั้น จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ในเขตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔() ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับ คำฟ้อง โจทก์แล้ว ต่อมามีคำสั่งใหม่เป็นว่าไม่รับคำฟ้องและให้จำหน่ายคดี เมื่อศาลสูงเห็นว่า ไม่ถูกต้อง ย่อมพิพากษากลับเป็นให้ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องของโจทก์แล้วให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากกระบวนพิจารณาที่ได้ทำไว้ก่อนวันมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้น

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๑๕๕/๒๕๔๐ จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๒๐ และมาตรา ๑๕๖๖() เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต* กรุงเทพมหานครจึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้

       
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๔๔๓/๒๕๔๖ คำว่า "มูลคดีเกิด" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔() หมายถึง ต้นเหตุอันเป็นที่มาของคำฟ้อง โจทก์ฟ้องหย่าจำเลย ต้นเหตุของคำฟ้องคือเหตุหย่า ส่วนการจดทะเบียนสมรสเป็นต้นเหตุของความเป็นสามีภริยากัน สถานที่จดทะเบียนสมรสจึงมิใช่เป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด เมื่อโจทก์จำเลยพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำเลยได้กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา โดยทำร้ายร่างกายโจทก์และขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน อันเป็นเหตุฟ้องหย่า จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นสถานที่มูลคดีของเหตุฟ้องหย่าเกิด

คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์
        มาตรา ๔ ทวิ “คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล”
        คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ศาลที่จะเสนอคำฟ้องต้องอยู่ในบังคับของมาตรา ๔ ทวิ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของ มาตรา ๔ (๑) คือ ยื่นคำฟ้องได้ที่
        ก. ศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาลหรือ
        ข. ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
        คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หมายถึง คดีที่การใช้สิทธิเรียกร้องที่จะต้องบังคับ หรือพิจารณาเกี่ยวกับตัวอสังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิหรือประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นการฟ้องบังคับที่ตัวอสังหาริมทรัพย์เข้ามาเกี่ยวข้องในการที่จะต้องถูกบังคับตามคำขอ ด้วยได้แก่ฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน บังคับจำนอง ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมหรือฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเก็บกิน สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น หมายถึง ทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ๔ ว่าด้วยทรัพย์

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๑๕/๒๕๒๓ คดีฟ้องให้จดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๗/๒๕๒๕ โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ตั้งอยู่ในจังหวัดตราด โจทก์ได้ตกลงกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดอ. ให้โจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แล้วโจทก์จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้ห้าง และห้างใช้ที่ดินพิพาทเป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็งของห้าง เมื่อเลิกห้างแล้วถ้าหากมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้โจทก์ออกเงินเข้ากองทรัพย์สินของห้าง ๕๐,๐๐๐ บาทแล้วห้างจะโอนที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์ ต่อมาห้างถูกศาลแพ่งสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและ พิพากษาให้ล้มละลายคดีถึงที่สุด โจทก์ขอชำระเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้แก่ห้างและขอให้ห้างจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้โจทก์จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างไม่ยอมปฏิบัติตามที่โจทก์ขอ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดตราดขอให้บังคับจำเลยรับเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท จากโจทก์ แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์กับขอให้บังคับห้างออกไปจากที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้อง ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.๒๔๘๓มาตรา ๒๖,๒๗ ซึ่งปฏิบัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งอันเกี่ยวกับหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็ห้ามเฉพาะหนี้เงิน ไม่ได้ห้ามฟ้องหนี้เกี่ยวด้วยการกระทำงดเว้นกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์อื่นนอกจากเงิน ซึ่งเจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นฟ้องโจทก์ ในคดีนี้ และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๘ ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.๒๔๘๓ มาตรา ๑๕๓ โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดตราด ซึ่งเป็นศาลที่ที่ดินพิพาทตั้งอยู่ในเขตไม่จำต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เด็ดขาด เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดที่ดินพิพาทและขอให้สั่งถอนการยึด

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๓๐/๒๕๔๒ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินของจำเลยด้วย คำฟ้องบังคับ จำนองที่ดินเช่นนี้ย่อมเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากจะต้องมีการบังคับคดีแก่ตัวทรัพย์นั้น โจทก์จึงมีสิทธิ เสนอคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ใน เขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ ทวิ

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๓๓๔/๒๕๑๗ คำฟ้องเรียกเงินค่าขายที่ดิน มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดินนั้น จึงไม่ใช่คำฟ้องที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใดๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น จะฟ้องต่อศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔(๑) หาได้ไม่ ต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ถ้าโจทก์ประสงค์จะฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ก็ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง แสดงให้เห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลนั้นๆ จะเป็นการสะดวก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔(๒) เสียก่อน

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๓/๒๕๓๔ โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืน กับเรียกค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาและโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว เป็นการฟ้องให้บังคับตัวจำเลยเป็นหนี้เหนือบุคคลไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เพราะไม่ได้ฟ้องขอให้บังคับเกี่ยวกับตัวทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๘๓/๒๕๒๗ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ ได้รับความเสียหายต้องสูญเสียที่ดินของโจทก์ไป จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินที่พิพาทเป็นที่สาธารณะ มิใช่ของโจทก์ และจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์แม้จำเลยจะมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดิน เป็นของจำเลย และตามคำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอที่จะ บังคับแก่ที่ดินที่พิพาท แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลย กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าที่ดินที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
        ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์อยู่ในอำนาจดูแลปกปักรักษาของนายอำเภอท้องที่ แม้โจทก์จะมีชื่อเป็นผู้ครอบครองและทำ ประโยชน์ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่เมื่อนายอำเภอโต้แย้งว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะและดำเนินการที่จะเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ก็ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องนายอำเภอเพื่อขอให้ระงับการกระทำอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เพราะโจทก์จะเสียสิทธิในที่พิพาทหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่ มิใช่อยู่ที่การกระทำของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับที่อันเป็นสาธารณประโยชน์และถึงหากจำเลยจะมาช่วยเหลือในการรังวัดปักหลักเขตด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ ๖/๒๕๒๗)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๓๒๑/๒๕๕๐ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจากการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นขึ้นว่ากล่าวได้ในเวลาใด ๆ ก่อนศาลมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ทั้งนี้คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๗ เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามแล้ว จำเลยทั้งสามทราบถึงการฟ้องแล้วไม่ได้คัดค้านว่า ศาลชั้นต้นไม่มีเขตอำนาจที่จะรับฟ้องไว้พิจารณากลับยินยอมให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา โดยสืบพยานโจทก์และให้จำเลยทั้งสามอ้างตนเข้าเบิกความ จนกระทั่งทั้งสองฝ่ายแถลงหมดพยานและศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว เท่ากับจำเลยทั้งสามยอมปฏิบัติตามที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้น อันเป็นการให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบแล้ว จำเลยทั้งสามจึงยกการผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
        เอกสารใบเสร็จรับเงินที่แนบท้ายอุทธรณ์และฎีกากับสำเนาฟ้องที่แนบมาท้ายฎีกาเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณา จำเลยทั้งสามมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น หามีสิทธิส่งเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่
        ฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมาเป็นฎีกาทั้งสิ้น โดยไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร และศาลอุทธรณ์ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙ วรรคหนึ่ง

คดีที่ภูมิลำเนาจำเลยและมูลคดี มิได้อยู่ในราชอาณาจักร
        มาตรา ๔ ตรี “คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔ ทวิ ซึ่ง จำเลยมิได้ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มิสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาล แพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มิภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
        คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ใน ราชอาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้”
        บทบัญญัติในมาตรานี้บัญญัติเพื่อสิทธิในการฟ้องคดีของคนสัญชาติไทยหรือ คนที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทยไม่ว่าจะมีสัญชาติใด
        คำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๔ ทวิ ก็เป็นคดีที่เกี่ยวด้วย หนี้เหนือบุคคลตามกฎหมายถ้าจำเลยมิได้อยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิดในราชอาณาจักรนั้น ถ้าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยจะมีภูมิลำเนาที่ใดไม่สำคัญ หรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรจะเป็นคนสัญชาติใดไม่สำคัญโจทก์จะฟ้องคดีประเภทนี้ได้ต่อ
        ก.   ศาลแพ่ง หรือ
        ข.   ศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนา หรือ
        ค.   ศาลที่จำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับได้ในราชอาณาจักรอยู่ในเขต
        โดยโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลใดก็ได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขออนุญาตเพราะคำว่า “ก็ได้” ในตอนท้ายน่าจะเป็นการให้สิทธิโจทก์ แต่ในคำฟ้องน่าจะต้องบรรยายให้เห็นว่าที่จะฟ้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใดที่ตนมีภูมิลำเนาก็ได้
        ในเรื่องทรัพย์สินที่อาจจะถูกบังคับนั้นต้องเป็นทรัพย์สินของจำเลย จะเป็นทรัพย์สินประเภทใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ และถ้ามีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในเขตศาลหลายแห่ง โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลหนึ่งศาลใดที่ทรัพย์อันอาจจะบังคับคดีอยู่ในเขตก็ได้ไม่ว่าจะอยู่อย่างถาวรหรือชั่วคราว
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๐๓๘/๒๕๑๔ ซ. บุตรผู้ร้องได้อยู่กับผู้ร้องที่ตลาดชุมแสงตั้งแต่เล็ก ๆ และได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนจีนในอำเภอชุมแสง ต่อมา ซ. มาเรียนต่อที่จังหวัดพระนครจนสำเร็จแล้วสมัครเป็นครูโรงเรียนจีนสอนอยู่ประมาณปีเศษ ก็ถูกศาลลงโทษฐานเป็นอั้งยี่และถูกเนรเทศไปประเทศจีนก่อนถูกเนรเทศ ซ. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ตามทะเบียนบ้านและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนี้ แม้ ซ.จะไปประกอบอาชีพชั่วคราว ณ จังหวัดพระนครก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่า ซ. มีเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา

คดีร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
        มาตรา ๔ จัตวา “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
        ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล”
        สำหรับคดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลหนึ่ง ศาลใดได้ดังนี้
        ก. ศาลที่เจ้ามรดกมิภูมิลำเนาในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายในเขตศาลใด เช่นเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่มาถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลนครธน อย่างนี้ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ในการขอเป็นผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรนั้น ถึงแม้จะมีทรัพย์มรดกไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์อยู่ในเขตศาลที่มิใช่ภูมิลำเนาขณะเจ้ามรดกตาย ก็จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลที่ทรัพย์ตั้งอยู่ไม่ได้ ทั้งไม่อาจที่จะขออนุญาตยื่นต่อศาลทีทรัพย์มรดกตั้งอยู่ได้
        ถ้าเจ้ามรดกมีภูมิลำเนาหลายแห่งจะยื่นต่อศาลที่มีภูมิลำเนาแห่งใดก็ได้
        ข. ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล คำว่า ทรัพย์มรดกตามความหมายของมาตรานี้ต้องหมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ถ้ามีทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลหลายศาลผู้ร้องก็อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลใดศาลหนึ่งซึ่งทรัพย์มรดกอยู่ในเขตก็ได้ ไม่ว่ามรดกนั้นจะเป็นทรัพย์ประเภทใด

         คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๑๔/๒๕๕๗ บุคคลอาจมีภูมิลำเนาหลายแห่งได้ถ้ามีถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญหลายแห่ง เดิมผู้ตายอยู่บ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ ๔ ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ต่อมาในปี ๒๕๔๙ จึงย้ายไปอยู่จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕ ผู้ตายถึงแก่ความตายขณะอยู่ที่จังหวัดนครปฐม และ ฌาปนกิจที่จังหวัดนครปฐม ผู้ร้องและทายาทก็มีภูมิลำเนาที่จังหวัดนครปฐม แสดงว่า ผู้ตายมีบ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ ๔ เป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย บ้านที่จังหวัดนครปฐมจึงเป็นภูมิลำเนาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๗ ดังนั้น ผู้ร้องมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดนครปฐมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔ จัตวา

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๔๘/๒๕๔๓ พระภิกษุ ก. ได้มาซึ่งที่ดินในจังหวัดลำพูนในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศต่อมาพระภิกษุ ก. ถึงแก่มรณภาพขณะที่พระภิกษุ ก. มีภูมิลำเนาอยู่ที่วัดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมิได้จำหน่ายที่ดินไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรมการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกรายนี้จึงต้องยื่นต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ จัตวา
เมื่อผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลจังหวัดลำพูนการที่ศาลจังหวัดลำพูนรับคำร้องไว้พิจารณาและมีคำสั่ง กับศาลอุทธรณ์ภาค ๒พิจารณาอุทธรณ์ผู้ร้องและพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิชอบปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒(๕) เป็นไม่รับคำร้องขอของผู้ร้องและให้คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลแก่ผู้ร้อง

คดีที่ร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคล
        มาตรา ๔ เบญจ “คำร้องขอเพิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอต่อศาลที่นิติบุคคลนั้นมี สำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล”
        ในคดีที่ต้องใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับนิติบุคคลนั้นเป็นคนละกรณีกับคดีที่ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลย หลักของการเสนอคดีต่อศาลใดในมาตรานี้ใช้เฉพาะกรณีที่เริ่มคดีด้วยคำร้องขอเท่านั้น ถึงแม้บางกรณีโจทก์อาจจะดำเนินคดีโดยทำเป็นคำฟ้องหรือคำร้องขอได้ก็ตาม ถ้าเริ่มคดีโดยทำเป็นคำฟ้องก็ไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ของมาตรานี้
คำร้องขอที่เกี่ยวกับนิติบุคคลตามมาตรานี้ ได้แก่
        ก. คำร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมหรือที่ประชุมใหญ่ของนิติบุคคล
        ข.  คำร้องขอเลิกนิติบุคคล
        ค. คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล
        ง.  คำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล
คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะต้องจัดการในราชอาณาจักร
        มาตรา ๔ ฉ บัญญัติว่า “คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร ก็ดี คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการหรือเลิก จัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักรและผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าว อยู่ในเขตศาล”
        บทบัญญัติของมาตรา ๔ ฉ นี้อาจเรียกว่าเป็นการบัญญัติไว้สำหรับบุคคลที่ย้ายภูมิสำเนาระหว่างประเทศอาจจะเป็นคนไทยอพยพไปอยู่ต่างประเทศ แต่ยังคงมีทรัพย์สินไว้ในประเทศไทย หรือคนต่างประเทศอพยพมาอยู่เมืองไทย มาทำมาหากินและมีทรัพย์สินอยู่ในประเทศไทย แต่ต่อมาอพยพไปอยู่ต่างประเทศก็ได้ ฉะนั้นบัญญัติมาตรานี้จึงบัญญัติ ไว้โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสนอคดีต่อศาลของผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงภูมิสำเนาในระหว่างประเทศ
        คำร้องขอตามมาตรานี้ หมายถึง คำร้องขอเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอแล้ว จะต้องมีการจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือต้องเลิกจัดการทรัพย์สินนั้น ที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งทำให้มีผู้มีอำนาจจัดการหรือเลิกจัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรนั้นโดยผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีที่เป็นเหตุให้มีการร้องขอนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร ทั้งนี้พิจารณาเฉพาะตัวทรัพย์สินอย่างเดียว และหากผู้ร้องมีภูมิสำเนาอยู่ในราชอาณาจักรก็ใช้มาตรา ๔ (๒) ได้ การเสนอคดีตามมาตรานี้เป็นการเสนอคดีต่อศาลทีมีเขตเหนือทรัพย์สินที่จะต้องจัดการหรือขอให้เลิกจัดการนั้น ถ้าทรัพย์สินที่จะจัดการหรือขอให้เลิกจัดการนั้นมีหลายอย่างอยู่ ต่างเขตศาลกัน ก็ต้องอาศัยหลักตามมาตรา ๕ คือจะยื่นคำร้องขอต่อศาลไหนก็ได้

ศาลที่มีอำนาจเหนือคดีนั้นหลายศาล
        มาตรา ๕ “คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือกว่า นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดี เกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่น ว่านั้นก็ได้”

คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลหลายศาลนั้น ได้แก่
        ก. คดีที่ฟ้องจำเลยร่วมกันหลายคนที่มูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกัน แต่ละคน มีภูมิลำเนาต่างกัน
        ข.  คดีที่มีมูลคดีเกิดขึ้นหลายท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลต่างกัน
        ค. คดีที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ในเขตศาลหลายศาล
        ง.  คดีที่มีหลายข้อหา

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๙๒/๒๕๔๑ คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ ๒ ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ กับให้จำเลยที่ ๓ ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑ กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ ๑และที่ ๓ โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรีแม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๕ ประมวลรัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้อง ปิดอากรแสตมป์

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๖๔๗/๒๕๔๔ อ. ก. และ ป. เจ้ามรดกทั้งสามรายมีทรัพย์สินอันเป็นมรดกร่วมกัน คือที่ดินน.ส. ๓ ที่จังหวัดมหาสารคาม ย่อมถือได้ว่าคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งสามรายดังกล่าวมีมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันพอที่พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ อ. และ ก. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดมหาสารคามในขณะที่ถึงแก่ความตาย ตามมาตรา ๔ จัตวา และขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ซึ่งไม่ได้มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดมหาสารคามมาในคำร้องเดียวกันได้


   ถอดเทป-เน้นประเด็นคำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา ติดตาม ทยอยอัพเดท.. ที่ LawSiam.com

เก็ง วิอาญา เนติ (ข้อมูล ในอดึต)

เก็ง วิอาญา เนติ (สรุปมาตราสำคัญวิอาญา)

ภาค1-2 มาตรา2,3,4,5,6,7,18,19,20,22-39,43-46,120-147

ภาค3-4 มาตรา158-167,172-181,185,191,192,193-198ทวิ202,221,224,225,245

สิทธิมนุษยชน  มาตรา74,78,80,81,85,87,90,92,117,119รธน.ดูเรื่องสิทธิผู้ต้องหาจำเลยผู้เสียหายและโจทก์

พยานวิอาญา มาตรา15,134,226,228,230,234,237ทวิ,238,239,240,243รธน.มตรา243,244

พยานวิแพ่ง  84,86,87,88,90,92,93,94,95,98,112-127,177

วิชาว่าความ ร่างฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง

วิชาการจัดทำเอกสาร  ร่างสัญญา ..... ตามที่อาจารย์เน้นแต่ละเทอม

--- ข้อมูล มาตราสำคัญๆ ในอดีต ที่สามารถนำมาท่องทบทวน ให้มีความแม่นยำ ----

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9367/2559 ในการท้ากันนั้น โจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงให้จำเลยดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าด้วย การดื่มน้ำสาบานและรับศีลห้าจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของคำท้า ส่วนการที่จำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์ และผู้อำนวยการฯ ได้ยินด้วยนั้น เป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งของคำท้า เมื่อปรากฏว่าจำเลยกล่าวคำสาบานโดยผู้อำนวยการฯ ได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยขณะอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 1 เมตร เมื่อผู้อำนวยการฯ แจ้งให้โจทก์เข้าไปใกล้จำเลยเพื่อจะได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลย ฝ่ายโจทก์กลับปฏิเสธว่าต้องการให้จำเลยพูดเสียงดังเพื่อให้ได้ยินทั่วกัน ถือว่าโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลทั่วไปได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วย ซึ่งมิใช่เป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของคำท้า และก็ไม่ได้กำหนดให้จำเลยกล่าวสาบานผ่านเครื่องขยายเสียง อันจะแปลเจตนาของคำท้าได้ว่าจำเลยต้องกล่าวคำสาบานให้บุคคลทั่วไปได้ยิน โจทก์ย่อมสามารถเข้าไปใกล้จำเลยได้ แต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่เข้าไปใกล้เพื่อให้ได้ยินเสียงถ้อยคำสาบาน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายเสียเปรียบกระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขที่ฝ่ายโจทก์ต้องได้ยินถ้อยคำสาบานของจำเลยด้วยนั้นไม่สำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยสาบานตนตรงตามคำท้าครบถ้วน โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560

          คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560 คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 ส. เป็นเจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่ตน ระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23125 และ 23126 ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา โดยไม่ปรากฏว่า ส. ผู้เป็นเจ้าหนี้ทราบเหตุดังกล่าว เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้การฟ้องเรียกร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น ดังนี้ อายุความ 1 ปี จึงยังไม่เริ่มนับเนื่องจาก ส. เจ้าหนี้ได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนวันที่จำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมดังกล่าว ส. จึงมิอาจรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องคดีอาญาว่า โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลยทั้งสี่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันดังกล่าวกรณีจึงต้องบังคับตามอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย

คำวินิจฉัยที่ 12/2560 (กฎหมายปกครอง 5 ดาว)

     คำวินิจฉัยที่ 12/2560  คดีที่เอกชนยื่นฟ้องสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของมารดา เจ้าของที่ดิน น.ส. ๒ แต่จำเลยนำที่ดินบางส่วนของโจทก์ไปจัดสรรและออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. และไปขอออกเป็นโฉนดที่ดิน เมื่อโจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจึงไม่ออกให้ ขอให้เพิกถอน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ก. และโฉนดที่ดินส่วนที่ทับ น.ส. ๒ ของโจทก์ จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาให้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตปฏิรูป จำเลยจึงมีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาทำการปฏิรูปได้ การขอออกโฉนดและการออกโฉนดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่าตามคำฟ้องและคำให้การคู่ความต่างฝ่ายต่างกล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีได้นั้น จำต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าว โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แล้วจึงจะพิจารณาประเด็นอื่นได้ต่อไป โดยไม่จำต้องวินิจฉัยการกระทำของหน่วยงานทางปกครองว่าชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560
ป.วิ.พ. ม.172 สอง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.17, ม.25 (4)
          แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559

      สินไถ่ไม่ใช่การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ จึงกำหนดสินไถ่เกินกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงได้ ซึ่งถ้าหากเกินกำหนดร้อยละ 15 ผู้ไถ่ก็สามารถไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากโดยรวมประโยชน์ตอบแทนได้เพียงร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นแม้จะเรียกสินไถ่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่เป็นการขัดต่อ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ไม่ทำให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด
       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559  น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีจึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เก็ง วิแพ่ง เนติ (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

เก็ง วิแพ่ง เนติ  (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

ข้อ 1-2 มาตรา 4 4 ทวิ 5 7 (2) 55-59 144 145 148 155 156 (มาตรา 18 27 ดูประกอบ)
2916/48 8553/47 772/49 1443/48 2962/43 6162/48 7047/48 1841/48
1864/48 674/49 4250/49 4813/48 133/49 3267/48 1887/46 3635/47 8712/47 4926/48

ข้อ 3 มาตรา 175 176 179 180 174 173 วรรคสอง(1) วรรคสาม วรรคท้าย
2214/49 1577/48 3688/47 3920/48 4856-4857/48

ข้อ 4 เน้นขาดนัดพิจารณา 2770/49

(ข้อ 3-4 2686/48 3132/49)

ข้อ 5 มาตรา 224-229 (มาตรา 223 ทวิ 234 236 ดูประกอบ)
6109/48(หรือ 49 ไม่แน่ใจ)/ 3933/48
1112/49 1203/49 1621/49 2539/49 132/49 6443/48 2376/48 4581/48 5590/48 5167/48 143/48 8882/48

ข้อ 6 มาตรา 254 255 260 264 267 (มาตรา 253 253 ทวิ ดูประกอบ)
(มาตรา 253 ทวิ วรรคสอง 254 264 เทียบไต่สวนคำร้องในศาลสูง)
3740/49 7221/44 9270/47 7140/47

ข้อ 7 มาตรา 271 282 283 287-290 296 จัตวา (3) 309 ทวิ
3137/49 638/49 2117/48**ดูหมายเหตุด้วย 2070/48 5294/47 1362/48

(ข้อ 6-7 130/49 638/49 835/49 258/49 4661/48 9270/47)

ข้อ 8 878/49 มาตรา 123
608/48 มาตรา 22 155 179(3)
5369/49 มาตรา 101
7966/44 678/08(ป) 1708/48
1594/42 7786/48

ข้อ 9 5375/48 2125/48 5020/47 1665/48 4862/48

(ข้อ 8-9 4230/48 136/40 7786/48 8443/47 3747/47 2450/47 5375/48 1219/49 1239/47 5369/49 3902/49 2125/48 3195/49 591/47 5198/47 6084/48 4239/45 318/45 4822/45 698/46 457/47 122/47 5414-5415/47 1592/47 2068/49 2125/48 2450/47

ข้อ 10 7368/48 7601/48 5943/48(ป) 4892/48


ฟื้นฟูกิจการ** มาตรา 90/60 มาตรา 90/42 ทวิ





มาตราเด่น

ชุดที่ 1 
มาตรา 4 23 27 40 42 55-57 59-60 73ทวิ 76 79 83 ทวิ 138 142 144 145 146 148 173วรรคสอง(1) 156 168 174 175 177 วรรคสาม 180 182 198(911/48) 200 202 207 193 ทวิ 199 เบญจ
223-249 (เน้น 223 223 ทวิ 224+248 225+249 226 228 229 234 236)
296 309 ทวิ 254 264 267 271 287 288 290 292 296 296 ทวิ 306

ชุดที่ 2
มาตรา 4 10 23 24 27 40 42 46 55 57 59-61 67 74 79 132 138 142-145 148 156 157 167 172-174 176 177 180 198 ทวิ ตรี 199 เบญจ 200 202 207 223 224+248 225+249 226 229 231 234 236 246 247 254 260 264 271 280 287 288 289 290 296 307 309 ทวิ 312 313

---- ข้อมูลในอดีต สำหรับนำไปพิจารณาท่องมาตราสำคัญๆ -----

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป
           คำพิพากษาฎีกาที่ 10504 / 2558 จำเลยร่วมได้ขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่บุคคลภายนอกอันเป็นเหตุให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าโดยจำเลยร่วมมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าแจ้งให้โจทก์ออกจากทรัพย์สินที่เช่าแล้วโจทก์ก็ควรจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยยินยอมออกไปจากทรัพย์สินที่เช่าโดยดีเมื่อโจทก์ประพฤติผิดสัญญาเช่าโดยไม่ยินยอมออกไปจำเลยที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งมีสิทธิใช้สอยติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฏหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองใช้กลุ่มบุคคลประมาณ 50 คนเข้ายึดถือครอบครองโรงแรมพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิ์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปได้การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์