เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลักกฎหมาย ฟ้องซ้ำ (มาตรา ๑๔๘)

ฟ้องซ้ำ (มาตรา ๑๔๘)
 
การฟ้องซ้ำมีขึ้นเพื่อมิให้คู่ความคือ เป็นโจทก์และเป็นจำเลยในคดีเดียวกันนำเรื่องที่เคยพิพาทกันนั้นมาฟ้องร้องกันอีกไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ฟ้อง เพราะจะทำให้เสียเวลาแก่คู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและต่อศาลเพราะมีคดีอยู่ในศาลมากมายโดยไม่จำเป็น
                ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับฟ้องซ้ำ มีดังนี้
              ๑ หลักเกณฑ์ฟ้องซ้ำ มีดังนี้
๑.๑ คดีนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว  (มาตรา ๑๔๗) มี ๓ กรณี คือ
                                               ๑.๑.๑ มีกฎหมายบัญญัติว่าให้เป็นที่สุด หรือบัญญัติว่าห้ามอุทธรณ์ฎีกาต่อไป – คำพิพากษาจะถึงที่สุด ตั้งแต่วันที่อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง
                                               ๑.๑.๒ ถ้าคำพิพากษานั้นไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา หรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ย่อมถึงที่สุด – คำพิพากษาจะถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ หรือฎีกา หรือจะมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ หากจะนำมายื่นฟ้องใหม่ จะกลายเป็นฟ้องซ้ำ
                                               ๑.๑.๓ ถ้ามีอุทธรณ์หรือฎีกาหรือีคำขอให้พิจารณาใหม่ – และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา หรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้นใหม่ มีคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีนี้คดีจะถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ศาลสั่งจำหน่ายคดี
                                ๑.๒ คู่ความทั้งสองเป็นคู่ความรายเดียวกัน – แม้จะเปลี่ยนฐานะเป็นโจทก์จำเลย คือเป็นคู่ความกลับกัน ก็ต้องถือว่าเป็นคู่ความเดิมนั่นเอง แต่หากเป็นกรณีจำเลยร่วมฟ้องจำเลยร่วมอีกคนหนึ่งด้วยกันเอง ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๔๖/๒๕๔๕ – ฟ้องซ้ำเป็นเรื่องที่ห้ามมิให้โจทก์จำเลยซึ่งฟ้องร้องกันและศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดไปแล้วกลับมารื้อร้องฟ้องกันอีก ข้ออ้างของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องรายเดียวกับที่โจทก์และจำเลยถูก ส ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกัน ถือว่าไม่เคยฟ้องร้องกันมาก่อน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๓๒/๒๕๑๐ – คดีแรกจำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์กับบริวารออกจากที่พิพาทโดยอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คดีที่สองโจทก์ซึ่งเป็นบริวารของจำเลยกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์ในที่ดินพิพาทนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะคู่ความในคดีทั้งสองมิใช่เป็นคู่ความเดียวกัน
                             ๑.๓ รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน – ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว หากว่าศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีที่ยังไม่วินิจฉัยชี้ขาด เช่น คำสั่งจำหน่ายคดี คำสั่งไม่รับฟ้อง คำสั่งยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุม เป็นต้น
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒๕/๒๕๑๑ – กรณีศาลวินิจฉัยประเด็นในฟ้องซึ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัย เป็นการวินิจฉัยเกินเลยไป ยังไม่ถือว่ามีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นอื่น โจทก์จะนำประเด็นนั้นมาฟ้องอีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๑๗๓/๒๕๓๕ – ยกฟ้องเพราะเหตุพยานหลักฐานเกี่ยวกับอำนาจฟ้องไม่พอรับฟัง ไม่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี หากจะฟ้องใหม่ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
 
เหตุแห่งการวินิจฉัยต้องเป็นเหตุอย่างเดียวกัน ถ้าคนละเหตุหรือมูลคดีต่างกัน ไม่ต้องห้ามตามมาตรานี้
                คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๐๙๔/๒๕๓๖ – เดิมโจทก์ฟ้องชำระหนี้ตามสัญญากู้แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ต่อมาโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามหนังสือสัญญารับสภาพหนี้เพราะเหตุจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ตามสัญญา ถือเป็นฟ้องซ้ำ เพราะหนังสือสัญญารับสภาพหนี้เพียงแต่เป็นหลักฐานยืนยันว่าจะชำระหนี้เงินกู้ ไม่ใช่การสร้างหนี้ใหม่ แต่เป็นการทำหลักฐานเพื่อยืนยันว่าจะชำระหนี้เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๔/๒๔๙๐ – การที่ศาลงดสืบพยาน เพราะโจทก์ขอเลื่อนคดีโดยไม่มีเหตุสมควร จนศาลยกฟ้องโจทก์ โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีกไม่ได้ ถือเป็นฟ้องซ้ำ
                .๒ ข้อยกเว้นที่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
                                ๑.๒.๑ การบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล – กระบวนพิจารณาไต่สวนและมีคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีในการบังคับคดี ซึ่งอาจซ้ำกับการพิจารณาคดีตอนแรก ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
                                ๑.๒.๒ ศาลกำหนดวิธีการชั่วคราวไว้ให้เปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ – เช่น การกำหนดค่าเสียหายเกี่ยวกับละเมิด หรือค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกรณีบิดามารดาหย่าร้างกัน ค่าเลี้ยงชีพ เป็นต้น

                                .๒.๓ ในกรณีที่ศาลยกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ยื่นฟ้องใหม่ – แม้ผลจากการสืบพยานได้ความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จริง แต่โจทก์ฟ้องผิดมาตรา หรือขอท้ายฟ้องไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้บังคับตามท้ายฟ้องไม่ได้ ศาลจะพิพากษายกฟ้องไปแต่เพียงอย่างเดียวโดยจะไม่พิพากษาต่อไปว่าตัดสิทธิโจทก์ฟ้องใหม่

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คำพิพากษาฎีกาที่ 6245-6246/2555

        คำพิพากษาฎีกาที่ 6245-6246/2555 เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยยื่นคำให้การสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ก็ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดอีก แม้จะเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ แต่การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องขอของโจทก์ ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในทางไม่จำหน่ายคดีและให้ดำเนินคดีต่อไปตามความประสงค์ของโจทก์ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 5746/2559

     คำพิพากษาฎีกาที่ 5746/2559 ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสองบัญญัติให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ หมายถึงผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่ายสัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
      เมื่อขณะคู่สัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญาเช่าซื้อโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อโดยไม่มีการประทับตราสำคัญของบริษัทซึ่งไม่มีผลสมบูรณ์เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้นสัญญาจึงเป็นโมฆะ แม้ต่อมาโจทก์จะได้ยอมรับเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อด้วยการใช้ตราประทับในชื่อใหม่ของโจทก์มาประทับในสัญญาเช่าซื้อก็ไม่อาจถือว่าโจทก์ลงชื่อเป็นคู่สัญญากับจำเลย อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นโมฆะกลับกลายเป็นสัญญาเช่าซื้อที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ เพราะโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้ตามมาตรา 172 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
        เมื่อสัญญาเช่าซื้อเป็นโมฆะจำเลยย่อมไม่มีเหตุจะยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของโจทก์ไว้โดยไม่มีมูลอันจะอ้างตามกฎหมาย จำเลยต้องคืน ทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งตามมาตรา 172 วรรคสองซึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่ต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะทำสัญญาทั้งโจทก์และจำเลยทราบว่าสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ทำเป็นหนังสือเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ในขณะทำสัญญา โจทก์จึงรับเงินเป็นค่าเช่าซื้อและจำเลยรับทรัพย์ที่เช่าซื้อไว้โดยสุจริต โจทก์จำต้องคืนเงินให้จำเลยเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืนตามมาตรา 412 และจำเลยจำต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อเพียงตามสภาพที่เป็นอยู่และมิต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลาย แต่เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์เพียงบางส่วนไม่คุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุน จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่เหลือเงินที่จะคืนแก่จำเลยในขณะเรียกคืน ส่วนจำเลยต้องคืนทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

สรุปเก็ง เนติ ข้อ3 ละเมิด สมัยที่ 1/70




...

สรุปประเด็น ที่ออกสอบ เก็งแพ่ง เนติ ข้อ2 นิติกรรม-สัญญา หนี้ สมัยที่ 70





วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2559 เจาะฎีกา 5 ดาว ห้องบรรยายเนติฯ (ภาคทบทวน) สมัยที่ 70 วิชากฎหมายสารบัญญัติ อ.ประเสริฐฯ 4 มิ.ย.60 (ครัั้งที่ 1)

เจาะฎีกา 5 ดาว ห้องบรรยายเนติฯ (ภาคทบทวน) สมัยที่ 70
 วิชากฎหมายสารบัญญัติ  อ.ประเสริฐฯ  4 มิ.ย.60 (ครัั้งที่ 1)  
......................

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2559 ผู้ตายขับรถยนต์เข้ามาจอดบริเวณที่เกิดเหตุแล้วผู้ตายลงมาพูดคุยและด่าว่านาง ต. ที่ไม่ยอมออกจากที่ดินด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพและไม่เหมาะสมซึ่งขณะนั้นจำเลยยืนอยู่ข้างๆ นาง ต. ด้วย จำเลยจึงพูดกับผู้ตายว่าให้พูดคุยกันดีๆ แต่ผู้ตายไม่พอใจเข้าชกต่อยจำเลยทันที จากนั้นทั้งสองกอดปล้ำกันจนล้มลงโดยผู้ตายคร่อมตัวจำเลยไว้ เมื่อผู้ตายและจำเลยแยกกันแล้ว จำเลยชักอาวุธปืนเล็งยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด แต่กระสุนปืนไม่ถูก ผู้ตายจึงวิ่งกลับไปที่รถยนต์ของผู้ตายที่จอดอยู่ จำเลยถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย พฤติการณ์ที่จำเลยตักเตือนผู้ตายให้พูดกับนาง ต. ดีๆ แต่ผู้ตายกลับแสดงความไม่พอใจจำเลย แล้วเดินเข้าไปชกต่อยจำเลยก่อนทันทีโดยจำเลยไม่ได้มีท่าทีจะทำร้ายผู้ตายก่อนแต่อย่างใดทั้งเมื่อพิจารณาบาดแผลที่ผู้ตายได้รับนอกจากบาดแผลถูกกระสุนปืนแล้วพบเพียงบาดแผลถลอกบริเวณหน้าผากซ้าย หางตาซ้ายและเข่าขวาเท่านั้น ประกอบกับจำเลยเคยเป็นทหารมาก่อนและขณะเกิดเหตุจำเลยอายุเพียง 50 ปีซึ่งมีอายุน้อยกว่าผู้ตาย หากจำเลยสมัครใจชกต่อยกับผู้ตายแล้วน่าจะพบบาดแผลฟกช้ำหรือร่องรอยถลอกตามร่างกายของผู้ตายมากกว่านี้ เชื่อว่าจำเลยมิได้สมัครใจชกต่อยทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนแต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดว่าผู้ตายจะเข้าทำร้ายผู้ตายอีกโดยผู้ตายวิ่งกลับไปที่รถยนต์จอดอยู่และไม่ปรากฏว่าขณะนั้นผู้ตายมีอาวุธติดตัวด้วย ถือได้ว่าภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จำเลยวิ่งไล่ตามผู้ตายไปในทันทีแล้วใช้อาวุธปืนยิ่งผู้ตายจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ แต่อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องกระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่จำเลยถูกผู้ตายชกต่อยก่อน โดยจำเลยมิได้สมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้อยแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72
.

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ถอดเทป 1/70 อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

ถอดเทป 1/70 อาญา  มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ)
 อ.เดชา หงส์ทอง 30 พฤษภาคม 2560 สัปดาห์ที่ 2  ครั้งที่2
..............................

อั้งยี่
        ๑. เพียงแค่เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมิความ มุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
        ๒. มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
        ๓. คณะบุคคลดังกล่าวต้องปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการ อันมิชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้ระบุว่าเป็นกฎหมายใด)

ซ่องโจร
        ๒. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๑. เพื่อกระทำต้องเป็นความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติในภาค ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น และอัตราโทษจำคุกอย่างสูง ตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ข้อนี้แตกต่างกับการเป็นอั้งยี่ตามมาตรา ๒๐๙ ที่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น
        ๓. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๓. สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป

ความผิดฐานเป็นอั้งยี่
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๗๖/๒๕๔๓ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๐ นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้

        จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ วรรคหนึ่ง./ อ้านต่อ แบ่งปัน เพื่อทบทวนการศึกษา คลิกที่นี่ >>>  ถอดเทป 1/70 วิชา อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา สมัยที่ 70 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

สรุปฎีกาเนติฯ 1/70 (ฎีกา ห้องบรรยาย) วิชา อาญา มาตรา288-366 อ.มล.ไกรฤกษ์ (ภาคปกติ) 31 พ.ค 60 สัปดาห์ที่2

                เจาะสรุปฎีกา ห้องบรรยายเนติฯ 1/70 
วิชา อาญา มาตรา288-366 อ.มล.ไกรฤกษ์ (ภาคปกติ) 31 พ.ค 60 สัปดาห์ที่2 
.............................................

                     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2493 ผู้ตายซึ่งวิกลจริตขึ้นไปบนเรือนจำเลย หญิงซึ่งอยู่บนเรือนคนเดียวเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงร้องว่าชะโมยให้ชาวบ้านช่วย มีชาวบ้าน 30-40 คนรวมทั้งจำเลยมีอาวุธปืน 6-7 กระบอก ไล่ตามยิงผู้ตาย ๆ หนีไปแอบจำเลยกับคนอื่น 2 คนยิงไปยังผู้ตายคนละนัด พอสิ้นเสียงปืนปรากฎว่าผู้ตายถูกกระสุนปืนล้มลงตาย โดยไม่ปรากฎว่าตายเพราะถูกกระสุนปืนของใคร ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย และไม่ถือว่าจำเลยและผู้ที่ยิ่ง ตลอดจนชาวบ้านที่ไล่ติดตามนั้นสมคบกัน


                  คำพิพากษาฎีกาที่ 14559/2556 จำเลยที่ 1 ชักอาวุธปืนยิงผู้ตายกับ ป. 3 นัด ผู้ตายกับ ป. วิ่งหนี จากนั้นจำเลยที่ 2 คว้าอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 ไล่ยิงผู้ตายกับ ป. อีก 3 นัด กระสุนปืนถูกบ่าและต้นขาของผู้ตาย 4 รู แม้ไม่ปรากฏว่ารอยกระสุนใดเกิดจากการยิงของจำเลยทั้งสองแยกต่างหากจากกัน แต่รอยกระสุนแต่ละรู ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายอันอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ทุกรอย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อเกิดเหตุรถเฉี่ยวกัน การที่ทั้งสองฝ่ายอยู่ในอาการมึนเมามาตะโกนด่ากัน แล้วจำเลยทั้งสองเลี้ยวรถกลับมาหาผู้ตายกับ ป. ซึ่งจอดรถอยู่ในที่เกิดเหตุ แม้ฝ่ายผู้ตายพูดด้วยว่าถ้าแน่จริงให้ลงมา แต่จำเลยทั้งสองก็ยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ที่แล่นมาจอดห่างประมาณ 3-5 เมตร และไม่มีพฤติการณ์อื่นให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองสมัครใจทะเลาะวิวาท การที่ผู้ตายกับ ป. เข้าไปรุมชกจำเลยทั้งสองซึ่งยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสมัครใจเข้าต่อสู้กับผู้ตาย นับว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยทั้งสองย่อมมีอำนาจกระทำการป้องกันสิทธิของตนได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงใส่ผู้ตายกับ ป. โดยที่ผู้ตายกับ ป. ไม่มีอาวุธและเพียงแต่ชกจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ป. กับผู้ตายวิ่งหนีแล้วภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายย่อมสิ้นสุดลง การที่จำเลยที่ 2 คว้าอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 ไล่ยิงผู้ตายในทันทีทันใดนั้นโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 ฆ่าผู้ตาย

                  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2522 ยิง 4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูกก.ตายถูกส. อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 288 กับมาตรา 288,80 อีกบทหนึ่งคำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม มาตรา 288 บทหนัก
คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ที่ได้ตัวมาเบิกความ และที่ไม่ได้ตัวมาเบิกความเพราะติดตามตัวไม่พบ ระบุชื่อผู้ยิงว่านายประทีปสุขเกษม มาในชั้นศาลพยานโจทก์ว่าคนยิ

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สรุปฎีกา เนติบัณฑิต* ภาค1 สมัยที่70 วิชา กฎหมายอาญา มาตรา209-287 367-398 อ.เดชา (ภาคค่ำ) ครั้งที่ 2 30 พ.ค. 60

เจาะฎีกา ห้องบรรยยายเนติบัณฑิต*  ภาค1 สมัยที่70 
วิชา กฎหมายอาญา มาตรา209-287 367-398 อ.เดชา (ภาคค่ำ) ครั้งที่ 2 30 พ.ค. 60 
................................


        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๗๖/๒๕๔๓ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๐ นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
        จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ วรรคหนึ่ง

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๗๙/๒๕๕๔ จำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะ ประกอบกิจการบริษัท อ. ในอาคารที่เกิดเหตุอย่างแท้จริง การนำชื่อของบริษัทที่ เป็นสำนักงานทนายความไปติดตั้งไว้ที่อาคารด้านหน้าโดยต่อมามีการเช่าอาคารส่วนกลาง และด้านหลังเพื่อการเล่นพนันไพ่บาการา จึงมีเหตุผลที่ เชื่อได้ว่าเป็นเพียงการบังหน้าเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเกรงกลัวและไม่กล้าเข้าไปค้น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่บาการาในอาคาร ที่เกิดเหตุ โดยนำชื่อบริษัทซึ่งเป็นสำนักงานทนายความและชมรมมาบังหน้าเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันมาแต่ต้น ย่อมเรียกได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นสมาชิกของคณะบุคคล ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๒/๒๕๕๖ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำเลยกระทำความผิดโดยเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้าย จำเลยกระทำความผิดด้วย การให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ก่อนหรือขณะกระทำความผิด การกระทำความผิดทั้งสองฐาน แม้จำเลยจะได้กระทำในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกัน และต่างกรรมต่าง วาระกันทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการเป็นอั้งยี่และสนับสนุนการก่อการร้าย เป็นคนละอย่างต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียว   เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท



        คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๔/๒๕๕๗ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตามมาตรา ๒๑๐ เป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นคบคิดกัน หรือตกลงกันหรือประชุมหารือกันเพื่อจะกระทำความผิด สภาพความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม