เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2560
ป.วิ.พ. ม.172 สอง
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.17, ม.25 (4)
          แม้คำขอบังคับของโจทก์ทั้งสองในข้อที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือว่ามีทุนทรัพย์พิพาทกันเพียง 300,000 บาท ก็ตาม แต่คำขอบังคับข้อ 2 ที่โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย และหักกลบลบหนี้กับค่าบ้านที่คงเหลือที่โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งสี่ไม่ยินยอม ให้ใช้คำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาให้โจทก์ผู้ซื้อไปโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินได้และวางเงินคงเหลือไว้ต่อศาล คำขอบังคับส่วนนี้มุ่งประสงค์บังคับให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายรวมราคาซื้อขายไว้เป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ทั้งสองชนะคดีโจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทที่มีราคาดังกล่าว ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีจึงเกินกว่า 300,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559

      สินไถ่ไม่ใช่การเรียกดอกเบี้ยเงินกู้ จึงกำหนดสินไถ่เกินกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงได้ ซึ่งถ้าหากเกินกำหนดร้อยละ 15 ผู้ไถ่ก็สามารถไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากโดยรวมประโยชน์ตอบแทนได้เพียงร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้นแม้จะเรียกสินไถ่เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ก็ไม่เป็นการขัดต่อ พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ไม่ทำให้เป็นโมฆะแต่อย่างใด
       คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559  น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีจึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เก็ง วิแพ่ง เนติ (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

เก็ง วิแพ่ง เนติ  (กลุ่มมาตราสำคัญ ในอดีต)

ข้อ 1-2 มาตรา 4 4 ทวิ 5 7 (2) 55-59 144 145 148 155 156 (มาตรา 18 27 ดูประกอบ)
2916/48 8553/47 772/49 1443/48 2962/43 6162/48 7047/48 1841/48
1864/48 674/49 4250/49 4813/48 133/49 3267/48 1887/46 3635/47 8712/47 4926/48

ข้อ 3 มาตรา 175 176 179 180 174 173 วรรคสอง(1) วรรคสาม วรรคท้าย
2214/49 1577/48 3688/47 3920/48 4856-4857/48

ข้อ 4 เน้นขาดนัดพิจารณา 2770/49

(ข้อ 3-4 2686/48 3132/49)

ข้อ 5 มาตรา 224-229 (มาตรา 223 ทวิ 234 236 ดูประกอบ)
6109/48(หรือ 49 ไม่แน่ใจ)/ 3933/48
1112/49 1203/49 1621/49 2539/49 132/49 6443/48 2376/48 4581/48 5590/48 5167/48 143/48 8882/48

ข้อ 6 มาตรา 254 255 260 264 267 (มาตรา 253 253 ทวิ ดูประกอบ)
(มาตรา 253 ทวิ วรรคสอง 254 264 เทียบไต่สวนคำร้องในศาลสูง)
3740/49 7221/44 9270/47 7140/47

ข้อ 7 มาตรา 271 282 283 287-290 296 จัตวา (3) 309 ทวิ
3137/49 638/49 2117/48**ดูหมายเหตุด้วย 2070/48 5294/47 1362/48

(ข้อ 6-7 130/49 638/49 835/49 258/49 4661/48 9270/47)

ข้อ 8 878/49 มาตรา 123
608/48 มาตรา 22 155 179(3)
5369/49 มาตรา 101
7966/44 678/08(ป) 1708/48
1594/42 7786/48

ข้อ 9 5375/48 2125/48 5020/47 1665/48 4862/48

(ข้อ 8-9 4230/48 136/40 7786/48 8443/47 3747/47 2450/47 5375/48 1219/49 1239/47 5369/49 3902/49 2125/48 3195/49 591/47 5198/47 6084/48 4239/45 318/45 4822/45 698/46 457/47 122/47 5414-5415/47 1592/47 2068/49 2125/48 2450/47

ข้อ 10 7368/48 7601/48 5943/48(ป) 4892/48


ฟื้นฟูกิจการ** มาตรา 90/60 มาตรา 90/42 ทวิ





มาตราเด่น

ชุดที่ 1 
มาตรา 4 23 27 40 42 55-57 59-60 73ทวิ 76 79 83 ทวิ 138 142 144 145 146 148 173วรรคสอง(1) 156 168 174 175 177 วรรคสาม 180 182 198(911/48) 200 202 207 193 ทวิ 199 เบญจ
223-249 (เน้น 223 223 ทวิ 224+248 225+249 226 228 229 234 236)
296 309 ทวิ 254 264 267 271 287 288 290 292 296 296 ทวิ 306

ชุดที่ 2
มาตรา 4 10 23 24 27 40 42 46 55 57 59-61 67 74 79 132 138 142-145 148 156 157 167 172-174 176 177 180 198 ทวิ ตรี 199 เบญจ 200 202 207 223 224+248 225+249 226 229 231 234 236 246 247 254 260 264 271 280 287 288 289 290 296 307 309 ทวิ 312 313

---- ข้อมูลในอดีต สำหรับนำไปพิจารณาท่องมาตราสำคัญๆ -----

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป

การใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ปพพ มาตรา 1336 ไม่จำต้องใช้สิทธิทางศาลเสมอไป
           คำพิพากษาฎีกาที่ 10504 / 2558 จำเลยร่วมได้ขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่บุคคลภายนอกอันเป็นเหตุให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงตามข้อตกลงในสัญญาเช่าโดยจำเลยร่วมมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าแจ้งให้โจทก์ออกจากทรัพย์สินที่เช่าแล้วโจทก์ก็ควรจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยยินยอมออกไปจากทรัพย์สินที่เช่าโดยดีเมื่อโจทก์ประพฤติผิดสัญญาเช่าโดยไม่ยินยอมออกไปจำเลยที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งมีสิทธิใช้สอยติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฏหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองใช้กลุ่มบุคคลประมาณ 50 คนเข้ายึดถือครอบครองโรงแรมพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิ์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของตนจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ไม่มีสิทธิที่จะครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปได้การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ถอดคำบรรยายเนติ พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค2 สมัยที่ 70

ถอดคำบรรยายเนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค2 สมัยที่ 70

     การเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ในเบื้องต้นนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีอยู่คู่กาย ในเบื้องต้น คือ
     1. ตัวบทกฎหมาย (ที่อัพเดท) ซึ่งปัจจุบัน กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง , กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีการแก้ไขใหม่ หลายมาตรา*
     2. หนังสือรวมคำบรรยายเนติ (ที่อัพเดท สมัยปัจจุบัน) สั่งตรงจากสำนักฝึกอบรมเนติฯ
     3. สรุปตัวบท สาระสำคัญ มาตราที่ออกสอบแล้วในปีที่ผ่านมา หรือ หลายๆ สมัยย้อนหลัง
     4. ข้อสอบเนติฯ (ข้อสอบเก่า) ฝึกทบทวน หัดเขียน หรือคัดลอก เพื่อความคล่องในเวลาลงสนามสอบ

     ดังนั้น 4 ประการดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้นจะช่วยทำให้ผู้ศึกษาในระดับเนติบัณฑิต จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก


---------------------------------------
ถอดเทป สรุป เก็งฎีกา เตรียมสอบ รายข้อ อัพเดท ก่อนถึงวันสอบ 1-2 วัน ที่ LawSiam.com

คำพิพากษาฎีกาที่ 14281/2558

         คำพิพากษาฎีกาที่ 14281/2558 คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

แจกถอดเทป ไฟล์เสียงเนติฯ กฎหมายล้มละลาย อ.ชีพ (ครั้งที่ 1) 21 พ.ย 60 เนติ ภาค2/70

ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติฯ กฎหมายล้มละลาย อ.ชีพ (ครั้งที่ 1) 21 พ.ย 60 เนติ ภาค2/70
.
วิธีใช้งาน : เพียงเข้าระบบ+กดดาวน์โหลดตามลิงค์ ข้างต้น

ถอดไฟล์เสียงเนติ วิ.แพ่ง ภาค1 อ.อำนาจฯ 21 พ.ย 60 (ภาคปกติ) ครั้งที่1 ภาค2/70


 ถอดไฟล์เสียงเนติ วิ.แพ่ง ภาค1 อ.อำนาจฯ 21 พ.ย 60 (ภาคปกติ) ครั้งที่1 ภาค2/70
 

สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มวิ.แพ่ง   รอทยอย ถอดเทป สรุป พร้อมเน้นประเด็น ดังนี้

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 ภาคปกติ (ถอดเทป เน้นประเด็น สรุปย่อ ครบทุกคาบ*)
วิ.แพ่ง ภาค 4 อ.สมชาย จุลนิติ์
วิ.แพ่ง ภาค 1  อ. อำนาจ พวงชมภู
กฎหมายล้มละลาย อ.ชีพ จุลมนต์

ภาคค่ำ (เป็นเพียงส่วนเสริม)
วิ.แพ่ง ภาค 2 อ.พงษ์เดช วานิชกิตติกูล
สัมมนาวิ.แพ่ง อ.ทนงศักดิ์ ดุลยกาญจน์

หมายเหตุ ทยอยอัพเดทข้อมูล ไม่เรียงตามรายวิชา ทุกวัน จนถึงก่อนสอบ 1-2 วัน

คำแนะนำ : แบ่งปันสำหรับทบทวนการศึกษา เพียงเข้าระบบ + กดดาวน์โหลดตามลิงค์ข้างต้น


สรุปฎีกา ถอดคำบรรยายเนติฯ* วิ.แพ่ง ภาค1 (อ.อำนาจ พวงชมภู) 21 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

สรุปฎีกา ถอดคำบรรยายเนติฯ* วิ.แพ่ง ภาค1 (อ.อำนาจ พวงชมภู)
 21 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70
--------------


          คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๖๑/๒๕๓๕ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยนั้น ศาลอุทธรณ์จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิยื่นคำร้องนั้นหรือไม่ ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือจะสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้น อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์เพียงสั่งว่า “รวม” จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๑ (๑) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเสร็จไปแล้ว การที่จะเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์แต่อย่างใด เพราะไม่มีผลทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เปลี่ยนแปลง ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
    ข้อสังเกต มาตรา ๑๓๑ (๑) นี้ใช้ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาด้วย ดังนั้น คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ถ้ามีการยื่นคำขอต่อศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลชั้นอุทธรณ์หรือศาลชั้นฎีกาก็ต้องมีคำสั่งอนุญาตหรือ ยกคำขอตามมาตรา ๑๓๑ (๑) เช่นกัน


           คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๖๐๔/๒๕๔๐ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๗ วรรคสาม ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การได้ ถ้าข้ออ้างตามฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ศาลย่อมจะต้องรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๘ แล้ว ย่อมเกิดประเด็นข้อพิพาทที่จะนำไปสู่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความแพ้หรือชนะกัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๓๑ (๒) และมาตรา ๑๓๓ บัญญัติไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ ๒ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๗๓๓/๒๕๔๓ โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้ระงับการก่อสร้างและให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน อ้างว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การก่อสร้างขยายท่าอากาศยานทำให้เกิดฝุ่นละออง ประชาชนและโจทก์ทั้งสิบหกสูดฝุ่นละอองทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่องและเรื้อรัง และมีผลต่อการระบายน้ำในหมู่บ้านทำให้เกิดความเสียหายแก่สุขภาพอนามัยและทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกดังนี้ กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกเป็นเรื่องแหล่งกำเนิดมลพิษที่ก่อให้เกิดหรือแพร่กระจายของมลพิษ ซึ่งหากเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสิบหกได้รับอันตรายแก่ร่างกายสุขภาพอนามัย และเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสิบหกเสียหายด้วยประการใด ๆโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษนั้นให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายเพื่อการนั้น ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๙๖ ได้ หรืออาจเรียกค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐในกรณีที่ได้รับความเสียหายอันมีสาเหตุมาจากกิจการหรือโครงการที่ริเริ่ม สนับสนุนหรือดำเนินการโดยส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๖ (๒) หรือหากเป็นกรณีจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อโจทก์ทั้งสิบหกโดยผิดกฎหมายให้โจทก์ทั้งสิบหกเสียหายแก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสิบหก โจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องผู้ทำละเมิดหรือนายจ้างของผู้ทำละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ หรือหากผู้ทำละเมิดทำละเมิดต่อเนื่องกันไม่ยอมหยุดโจทก์ทั้งสิบหกก็ชอบที่จะฟ้องร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ทำละเมิดหยุดทำละเมิดเสียก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา  ๔๒๐
    การที่โจทก์ทั้งสิบหกฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าหากจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วจะมีผลถึงขนาดที่คณะรัฐมนตรีจะไม่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานจึงยังไม่อาจถือได้ว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบ ยิ่งกว่านั้นโจทก์ทั้งสิบหกได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างอันเนื่องมาจากความบกพร่องของผู้ก่อสร้างที่ไม่ป้องกันมลพิษซึ่งความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ผลโดยตรงจากมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ทั้งสิบหกย่อมไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติการก่อสร้างโครงการพัฒนาท่าอากาศยานได้
    เมื่อคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสิบหกไม่อาจจะพิพากษาให้ได้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ทั้งสิบหกเสียได้ในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๓๑ (๒) การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ทั้งสิบหกทั้งหมดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย



ติดตาม ถอดเทป-เน้นประเด็นคำบรรยาย สรุป เก็ง วิแพ่ง วิอาญา ทยอยอัพเดท.. ที่ LawSiam.com


ฎีกาที่ 6969/2555 - ถอดเทป เนติฯ* วิ.อาญา ภาค1-2 (อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์) 20 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

ฎีกา ถอดเทป เนติฯ* วิ.อาญา ภาค1-2 (อ.จุลสิงห์ วสันตสิงห์)
 20 พ.ย.60 ภาคปกติ สัปดาห์ที่1 สมัยที่ 2/70

-----------------
 
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๖๙/๒๕๕๕ จำเลยพูดหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ จนโจทก์ร่วมที่ ๑ หลงเชื่อส่งมอบเงินให้แก่จำเลย แม้เงินบางส่วนเป็นเงินของโจทก์ร่วมที่ ๒ ที่โอนมาให้ในบัญชีของโจทก์ร่วมที่ ๑ เพื่อให้ส่งมอบแก่จำเลย เนื่องจากเมื่อโจทก์ร่วมที่ ๑ หลงเชื่อ ตามคำหลอกลวงของจำเลยแล้วได้เล่าให้โจทก์ร่วมที่ ๒ ฟัง โจทก์ร่วมที่ ๒ หลงเชื่อว่า เป็นความจริงจึงร่วมลงทุนด้วย แต่การพูดหลอกลวงของจำเลยเป็นการพูดเพื่อให้มีผลต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ และได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๑ เท่านั้น จำเลยมิได้หลอกลวง โจทก์ร่วมที่ ๒ หรือเจตนาให้ได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่อาจถือได้ว่าการที่โจทก์ร่วมที่ ๒ รับฟังเรื่องราวจากโจทก์ร่วมที่ ๑ แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริงและประสงค์ร่วมลงทุนกับโจทก์ร่วมที่ ๑ ด้วย จึงได้โอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วม ที่ ๑ เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยเกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยต่อโจทก์ร่วมที่ ๑ โจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คดีนี้จำเลยพูดหลอกลวงโจทก์ร่วมที่ ๑ เท่านั้น จำเลยมิได้หลอกลวงโจทก์ร่วม ที่ ๒ หรือเจตนาให้ได้ทรัพย์สินจากโจทก์ร่วมที่ ๒ การที่โจทก์ร่วมที่ ๒ รับฟังเรื่องราว จากโจทก์ร่วมที่ ๑ แล้วหลงเชื่อว่าเป็นความจริงและประสงค์ร่วมลงทุนกับโจทก์ร่วมที่ ๑ ด้วย โดยโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมที่ ๑ เพื่อส่งมอบให้แก่จำเลยนั้นไม่ได้ เกิดจากการกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยต่อโจทก์ร่วมที่ ๒ โจทก์ร่วมที่ ๒ จึงไม่เป็นผู้เสียหายในคดีนี้แต่ในเรื่องทางแพ่งก็ว่ากันไปใครเป็นเจ้าหนี้ใครเป็นลูกหนี้มูลหนี้ มีอยู่ ๕ อย่างก็ว่ากันไป แต่ในทางอาญาต้องรู้สึกสำนึกในการกระทำและเป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา จำเลยไม่ได้หลอกลวงโจทก์ที่ ๒ โจทก์ที่ ๒ ก็ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาแต่เป็นเจ้าหนี้ในคดีแพ่ง ถ้ามีการร้องทุกข์โดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิก็ไม่ใช่การร้องทุกข์ตามกฎหมายอัยการก็ฟ้องไม่ได้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้เพราะว่าการสอบสวนในคดีความผิดต่อส่วนตัวต้องมีการร้องทุกข์ แล้ว อัยการฟ้องคดีไม่ได้ถ้าไม่มีการสอบสวนเพราะอัยการในประเทศไทยเริ่มต้นคดีเองไม่ได้ แต่โดยปกติคดีในประเทศไทยถ้ารัฐดำเนินคดีให้จะเริ่มที่พนักงานสอบสวน แต่ถ้าผู้เสียหาย สามารถฟ้องคดีเองได้ แต่ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อน แต่ถ้าเป็นอัยการฟ้องศาลจะไม่ไต่สวนก็ได้