เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

การรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโดยเข้าใจว่าเป็นข้อกฎหมาย

***การที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้ร้องขอให้มีการรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโดยเข้าใจว่าเป็นข้อกฎหมาย และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ก็ไม่เป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์ต้องส่งสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์เสียใหม่ เพื่อที่โจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอให้รับรองในข้อเท็จจริง (เป็นกรณีโจทก์ผิดหลงเอง)***

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๔๑/๒๕๕๐ โจทก์ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขึ้นไปเฉยๆ โดยมิได้ร้องขอให้มีการรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ทั้ง ๆ ที่มีเวลาที่จะดำเนินการแต่โจทก์ก็หาดำเนินการไม่ถึง แม้โจทก์จะอ้างว่าเหตุที่ไม่ดำเนินการเพราะโจทก์เข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ ต้องส่งสำนวนพร้อมอุทธรณ์ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์เสียใหม่


อ้างอิง หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต 2/70 วิชา กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค3 (อ.อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) เล่มที่6 การบรรยายครั้งที่5

การรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง

**กรณีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมไม่อาจรับรองหรืออนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๔, ๒๓๐ ได้***

คำสั่งคำร้องศาลฎีกาที่ ๑๗๙-๑๘๐/๒๕๓๗ จำเลยอุทธรณ์ขอให้อธิบดี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ไม่มีกฎหมายให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
.
อ้างอิง หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต 2/70 วิชา กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค3 (อ.อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ) เล่มที่6 การบรรยายครั้งที่5

วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561

ฎีกาเด่น * รวมคำบรรยายเนติ เล่มที่6 การร้องสอด ตามมาตรา ๕๗ (๒) สมัยที่ 70

              การร้องสอด ตามมาตรา ๕๗ (๒) นี้ ผู้ร้องสอดจะอาศัยสิทธิอย่างอื่น นอกเหนือจากสิทธิที่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าร่วมมีอยู่เดิมไม่ได้ ถ้าเข้ามาในฐานะจำเลยร่วม ก็จะใช้สิทธิในทางที่ขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้ ถ้าจำเลยเดิมขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมก็ไม่มีสิทธิยื่นคำให้การ ถ้าจำเลยเดิมไม่ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยร่วมก็มีสิทธิยื่นคำให้การ

         คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๕/๒๕๓๗ (เน้น**) จำเลยร่วมได้รับอนุญาตให้ร้องสอดเข้ามา ตามมาตรา ๕๗ (๒) ยื่นคำให้การต่อศาลก่อนที่จำเลยเดิมจะครบกำหนดยื่นคำให้การ กรณีนี้ ศาลชั้นต้นจะต้องรับคำให้การของผู้ร้องสอด จะสั่งไม่รับโดยอ้างว่า จำเลยร่วมจะใช้สิทธินอกเหนือไปจากสิทธิของจำเลยเดิม หรืออ้างว่าจำเลยร่วมจะใช้สิทธิขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อจำเลยเดิมยังไม่ยื่นคำให้การ แต่ยังอยู่ในระยะเวลายื่นคำให้การ จะถือว่าคำให้การของจำเลยร่วมขัดกับสิทธิของจำเลยเดิมไม่ได้ ศาลฎีกาให้รับคำให้การของจำเลยร่วม

อ้างอิง หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต 2/70 วิชา กฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค2 (อ.สุวัฒน์ วรรธนะหทัย) เล่มที่6 การบรรยายครั้งที่1

ถอดเทป เนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นติดดาว ฎหมายล้มละลาย อ.ชีพ (ครั้งที่ 4) เนติ ภาค2/70

ถอดเทป เนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นติดดาว ฎหมายล้มละลาย อ.ชีพ (ครั้งที่ 4) ภาค2/70 

ถอดเทป เนติบัณฑิต กฎหมายล้มละลาย (ฟื้นฟูกิจการ) อ.เอื้อนฯ (ครั้งที่4) เนติ ภาค2/70

 ถอดเทป-พร้อมเน้นประเด็น ที่น่าออกสอบ* 
กฎหมายล้มละลาย (ฟื้นฟูกิจการ) อ.เอื้อนฯ (ครั้งที่4) เนติ ภาค2/70

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

วัตถุประสงค์ สภาวะพักการชำระหนี้ กฏหมายล้มละลาย(อ.เอื้อน ขุนแก้ว) เล่มที่6 การบรรยายครั้งที่4 2/70

***กฎหมายกำหนดเรื่องสภาวะพักการชำระหนี้ขึ้นเพื่อรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ ให้คงที่เพื่อจะได้นำทรัพย์สินนั้นไปแบ่งให้กับเจ้าหนี้ทั้งหลายภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการ อย่างเป็นธรรม****


        คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๓๕/๒๕๔๘ กฎหมายได้กำหนดให้เกิดสภาวะพักการชำระหนี้ขึ้นนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณาโดยมีวัตถุประสงค์ ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามระบบที่กฎหมายกำหนดไว้ภายใต้กรอบของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ และให้เวลาผู้ทำแผนสำรวจความบกพร่องของกิจการในการนำไปวางแผนปรับปรุงแก้ไขกิจการของลูกหนี้ให้ดำเนินการต่อไปได้และยังช่วยลดความกดดันทางด้านการเงินให้แก่ลูกหนี้จากการที่ถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สิน


อ้างอิง หนังสือรวมคำบรรยาย 2/70 วิชา กฏหมายล้มละลาย(อ.เอื้อน ขุนแก้ว) เล่มที่6 การบรรยายครั้งที่4

คำถาม-ตอบ บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต ภาค2 สมัยที่ 70 เล่มที่ 1- 6

เน้นประเด็น* คำถาม-ตอบ บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต  ภาค2 สมัยที่ 70 เล่มที่6
---------------------------------------------------------------------

 รายละเอียดพอสังเขป :-
- สำหรับทบทวน ถาม-ตอบแนวข้อสอบ คำบรรยายเนติบัณฑิต จากรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต
- สกัดหลักกฎหมาย-เจาะประเด็นคำถาม ฎีกาเด่น* จำแนกออกเป็นเรื่อง/กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการสืบค้น ท่องจำ*
- สรุปประเด็นถามตอบจากคำบรรยายเนติฯ คำพิพากษาฎีกาที่น่าใจ (ติดดาว) 


เน้นประเด็น* คำถาม-ตอบ บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต  ภาค2 สมัยที่ 70  

โหลดเอกสารประกอบการบรรยายเนติบัณฑิต วิแพ่ง 4 อ.วิวัฒน์ ครั้งที่ 2 สมัยที่ 70



วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

ฎีกาเก็ง ถอดเทป ฟื้นฟูกิจการ อ.วิชา 3 มกราคม 2561สัปดาห์ที่ 7 (ภาคปกติ) เตรียมสอบเนติ สมัยที่ 70

ฎีกาเก็ง ถอดเทป ฟื้นฟูกิจการ อ.วิชาฯ สัปดาห์ที่ 7
วันที่ 3 มกราคม 2561 (ภาคปกติ) เตรียมสอบเนติ สมัยที่ 70
.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 ที่บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นหนี้ลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้น เจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2525 แม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 จะให้สิทธิแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้หักกลบลบหนี้กันได้ แต่วิธีหักกลบลบหนี้ก็จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 โดยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ปรากฏว่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยอายัดเงินที่ผู้ร้องเป็นลูกหนี้จำเลยและให้ส่งเงินนั้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์. ผู้ร้องได้ส่งเงินฝากดังกล่าว ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ หนี้เงินฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องเป็นอันระงับลงสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอหักกลบลบหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2547 ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ส่วนลูกหนี้มีเงินฝากอยู่กับผู้คัดค้านตามบัญชีเงินฝากรวม 2 บัญชี โดยผู้คัดค้านรับฝากเงินไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เงินฝากดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านตั้งแต่มีการฝากเงิน ลูกหนี้ผู้ฝากเงินมีสิทธิที่จะถอนเงินฝากไปได้และผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องคืนเงินให้ครบตามจำนวนที่ขอถอน ถึงเห็นกรณีที่ผู้คัดค้านกับลูกหนี้ต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกันอยู่ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงใช้สิทธินำเงินฝากทั้งสองบัญชีดังกล่าวของลูกหนี้มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้คัดค้านได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/33 ภายหลังที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการแต่ก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าว ซึ่งเจ้าหนี้ยังไม่ถูกผูกมัดให้ได้รับชำระหนี้ตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ในแผนตามมาตรา 90/60 วรรคหนึ่ง

.
.
ติดตาม ถอดเทป สรุป เก็ง ท่องพร้อมสอบ รายข้อ เนติ ภาค2 ที่ LawSiam.com

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

ฎีกาเก็ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภาค 1-2 (ภาคค่ำ) อ.สุรสิทธิ์ แสงโรจนพัฒน์ เนติบัณฑิต สมัยที่ 70

ฎีกาเก็ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาภาค 1-2 (ภาคค่ำ) เนติบัณฑิต สมัยที่ 70
 อ.สุรสิทธิ์ แสงโรจนพัฒน์  
----------------------

         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4778/2543 เมื่อคำร้องขอถอนฟ้องฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ศาลฎีกาได้วินิจฉัยตามคำพิพากษาฎีกาที่ 6319/2541 ว่า ส. ซึ่งเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวเป็นผู้ทำปลอมขึ้นเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงเชื่อสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ การสั่งคำร้องขอศาลชั้นต้นจึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวความได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดและให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 25 มีนาคม 2542 ของโจทก์พอแปลเจตนารมณ์ของโจทก์ได้ว่า ประสงค์ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและยกคดีโจทก์ขึ้นพิจารณาต่อไปการยื่นคำร้องขอดังกล่าวมิใช่การยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 มาปรับใช้บังคับได้