เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2559 เจาะฎีกา 5 ดาว ห้องบรรยายเนติฯ (ภาคทบทวน) สมัยที่ 70 วิชากฎหมายสารบัญญัติ อ.ประเสริฐฯ 4 มิ.ย.60 (ครัั้งที่ 1)

เจาะฎีกา 5 ดาว ห้องบรรยายเนติฯ (ภาคทบทวน) สมัยที่ 70
 วิชากฎหมายสารบัญญัติ  อ.ประเสริฐฯ  4 มิ.ย.60 (ครัั้งที่ 1)  
......................

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3391/2559 ผู้ตายขับรถยนต์เข้ามาจอดบริเวณที่เกิดเหตุแล้วผู้ตายลงมาพูดคุยและด่าว่านาง ต. ที่ไม่ยอมออกจากที่ดินด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพและไม่เหมาะสมซึ่งขณะนั้นจำเลยยืนอยู่ข้างๆ นาง ต. ด้วย จำเลยจึงพูดกับผู้ตายว่าให้พูดคุยกันดีๆ แต่ผู้ตายไม่พอใจเข้าชกต่อยจำเลยทันที จากนั้นทั้งสองกอดปล้ำกันจนล้มลงโดยผู้ตายคร่อมตัวจำเลยไว้ เมื่อผู้ตายและจำเลยแยกกันแล้ว จำเลยชักอาวุธปืนเล็งยิงไปที่ผู้ตาย 1 นัด แต่กระสุนปืนไม่ถูก ผู้ตายจึงวิ่งกลับไปที่รถยนต์ของผู้ตายที่จอดอยู่ จำเลยถืออาวุธปืนวิ่งไล่ตามแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย พฤติการณ์ที่จำเลยตักเตือนผู้ตายให้พูดกับนาง ต. ดีๆ แต่ผู้ตายกลับแสดงความไม่พอใจจำเลย แล้วเดินเข้าไปชกต่อยจำเลยก่อนทันทีโดยจำเลยไม่ได้มีท่าทีจะทำร้ายผู้ตายก่อนแต่อย่างใดทั้งเมื่อพิจารณาบาดแผลที่ผู้ตายได้รับนอกจากบาดแผลถูกกระสุนปืนแล้วพบเพียงบาดแผลถลอกบริเวณหน้าผากซ้าย หางตาซ้ายและเข่าขวาเท่านั้น ประกอบกับจำเลยเคยเป็นทหารมาก่อนและขณะเกิดเหตุจำเลยอายุเพียง 50 ปีซึ่งมีอายุน้อยกว่าผู้ตาย หากจำเลยสมัครใจชกต่อยกับผู้ตายแล้วน่าจะพบบาดแผลฟกช้ำหรือร่องรอยถลอกตามร่างกายของผู้ตายมากกว่านี้ เชื่อว่าจำเลยมิได้สมัครใจชกต่อยทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนแต่เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อื่นใดว่าผู้ตายจะเข้าทำร้ายผู้ตายอีกโดยผู้ตายวิ่งกลับไปที่รถยนต์จอดอยู่และไม่ปรากฏว่าขณะนั้นผู้ตายมีอาวุธติดตัวด้วย ถือได้ว่าภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จำเลยวิ่งไล่ตามผู้ตายไปในทันทีแล้วใช้อาวุธปืนยิ่งผู้ตายจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ แต่อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเนื่องกระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่จำเลยถูกผู้ตายชกต่อยก่อน โดยจำเลยมิได้สมัครใจทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย ถือได้ว่าจำเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้อยแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำความผิดฐานเจตนาฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 72
.

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ถอดเทป 1/70 อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

ถอดเทป 1/70 อาญา  มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ)
 อ.เดชา หงส์ทอง 30 พฤษภาคม 2560 สัปดาห์ที่ 2  ครั้งที่2
..............................

อั้งยี่
        ๑. เพียงแค่เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมิความ มุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
        ๒. มีบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
        ๓. คณะบุคคลดังกล่าวต้องปกปิดวิธีดำเนินการ และมีความมุ่งหมายเพื่อการ อันมิชอบด้วยกฎหมาย (ไม่ได้ระบุว่าเป็นกฎหมายใด)

ซ่องโจร
        ๒. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๑. เพื่อกระทำต้องเป็นความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติในภาค ๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น และอัตราโทษจำคุกอย่างสูง ตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ข้อนี้แตกต่างกับการเป็นอั้งยี่ตามมาตรา ๒๐๙ ที่อาจเป็นความผิดตามกฎหมายอื่น
        ๓. แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานเป็นซ่องโจรตาม มาตรา ๒๑๐ ทันที ทำนองเดียวกับการเป็นอั้งยี่
        ๓. สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป

ความผิดฐานเป็นอั้งยี่
        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๗๖/๒๕๔๓ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๐ นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้

        จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ วรรคหนึ่ง./ อ้านต่อ แบ่งปัน เพื่อทบทวนการศึกษา คลิกที่นี่ >>>  ถอดเทป 1/70 วิชา อาญา มาตรา 209-287,367-398 (ภาคค่ำ) อ.เดชา สมัยที่ 70 30 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่ 2 ครั้งที่2

สรุปฎีกาเนติฯ 1/70 (ฎีกา ห้องบรรยาย) วิชา อาญา มาตรา288-366 อ.มล.ไกรฤกษ์ (ภาคปกติ) 31 พ.ค 60 สัปดาห์ที่2

                เจาะสรุปฎีกา ห้องบรรยายเนติฯ 1/70 
วิชา อาญา มาตรา288-366 อ.มล.ไกรฤกษ์ (ภาคปกติ) 31 พ.ค 60 สัปดาห์ที่2 
.............................................

                     คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2493 ผู้ตายซึ่งวิกลจริตขึ้นไปบนเรือนจำเลย หญิงซึ่งอยู่บนเรือนคนเดียวเข้าใจว่าเป็นคนร้าย จึงร้องว่าชะโมยให้ชาวบ้านช่วย มีชาวบ้าน 30-40 คนรวมทั้งจำเลยมีอาวุธปืน 6-7 กระบอก ไล่ตามยิงผู้ตาย ๆ หนีไปแอบจำเลยกับคนอื่น 2 คนยิงไปยังผู้ตายคนละนัด พอสิ้นเสียงปืนปรากฎว่าผู้ตายถูกกระสุนปืนล้มลงตาย โดยไม่ปรากฎว่าตายเพราะถูกกระสุนปืนของใคร ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดเพียงฐานพยายามฆ่าผู้ตาย และไม่ถือว่าจำเลยและผู้ที่ยิ่ง ตลอดจนชาวบ้านที่ไล่ติดตามนั้นสมคบกัน


                  คำพิพากษาฎีกาที่ 14559/2556 จำเลยที่ 1 ชักอาวุธปืนยิงผู้ตายกับ ป. 3 นัด ผู้ตายกับ ป. วิ่งหนี จากนั้นจำเลยที่ 2 คว้าอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 ไล่ยิงผู้ตายกับ ป. อีก 3 นัด กระสุนปืนถูกบ่าและต้นขาของผู้ตาย 4 รู แม้ไม่ปรากฏว่ารอยกระสุนใดเกิดจากการยิงของจำเลยทั้งสองแยกต่างหากจากกัน แต่รอยกระสุนแต่ละรู ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกายอันอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ทุกรอย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เมื่อเกิดเหตุรถเฉี่ยวกัน การที่ทั้งสองฝ่ายอยู่ในอาการมึนเมามาตะโกนด่ากัน แล้วจำเลยทั้งสองเลี้ยวรถกลับมาหาผู้ตายกับ ป. ซึ่งจอดรถอยู่ในที่เกิดเหตุ แม้ฝ่ายผู้ตายพูดด้วยว่าถ้าแน่จริงให้ลงมา แต่จำเลยทั้งสองก็ยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์ที่แล่นมาจอดห่างประมาณ 3-5 เมตร และไม่มีพฤติการณ์อื่นให้เห็นว่า จำเลยทั้งสองสมัครใจทะเลาะวิวาท การที่ผู้ตายกับ ป. เข้าไปรุมชกจำเลยทั้งสองซึ่งยังนั่งคร่อมรถจักรยานยนต์อยู่โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสมัครใจเข้าต่อสู้กับผู้ตาย นับว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยทั้งสองย่อมมีอำนาจกระทำการป้องกันสิทธิของตนได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงใส่ผู้ตายกับ ป. โดยที่ผู้ตายกับ ป. ไม่มีอาวุธและเพียงแต่ชกจำเลยทั้งสอง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ป. กับผู้ตายวิ่งหนีแล้วภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายย่อมสิ้นสุดลง การที่จำเลยที่ 2 คว้าอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 ไล่ยิงผู้ตายในทันทีทันใดนั้นโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 2 ฆ่าผู้ตาย

                  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2522 ยิง 4-5 นัด เจตนาฆ่า ก. กระสุนถูกก.ตายถูกส. อันตรายสาหัส เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 288 กับมาตรา 288,80 อีกบทหนึ่งคำพิพากษาต้องอ้างความผิดทั้ง 2 บท ให้ลงโทษตาม มาตรา 288 บทหนัก
คำให้การชั้นสอบสวนของพยานโจทก์ที่ได้ตัวมาเบิกความ และที่ไม่ได้ตัวมาเบิกความเพราะติดตามตัวไม่พบ ระบุชื่อผู้ยิงว่านายประทีปสุขเกษม มาในชั้นศาลพยานโจทก์ว่าคนยิ

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สรุปฎีกา เนติบัณฑิต* ภาค1 สมัยที่70 วิชา กฎหมายอาญา มาตรา209-287 367-398 อ.เดชา (ภาคค่ำ) ครั้งที่ 2 30 พ.ค. 60

เจาะฎีกา ห้องบรรยยายเนติบัณฑิต*  ภาค1 สมัยที่70 
วิชา กฎหมายอาญา มาตรา209-287 367-398 อ.เดชา (ภาคค่ำ) ครั้งที่ 2 30 พ.ค. 60 
................................


        คำพิพากษาศาลฎีกาที่  ๑๑๗๖/๒๕๔๓ แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี ๒๕๔๐ นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
        จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ วรรคหนึ่ง

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๗๙/๒๕๕๔ จำเลยกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะ ประกอบกิจการบริษัท อ. ในอาคารที่เกิดเหตุอย่างแท้จริง การนำชื่อของบริษัทที่ เป็นสำนักงานทนายความไปติดตั้งไว้ที่อาคารด้านหน้าโดยต่อมามีการเช่าอาคารส่วนกลาง และด้านหลังเพื่อการเล่นพนันไพ่บาการา จึงมีเหตุผลที่ เชื่อได้ว่าเป็นเพียงการบังหน้าเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเกรงกลัวและไม่กล้าเข้าไปค้น พฤติการณ์ในการกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันไพ่บาการาในอาคาร ที่เกิดเหตุ โดยนำชื่อบริษัทซึ่งเป็นสำนักงานทนายความและชมรมมาบังหน้าเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันมาแต่ต้น ย่อมเรียกได้ว่าจำเลยกับพวกเป็นสมาชิกของคณะบุคคล ซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นอั้งยี่

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๒/๒๕๕๖ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ จำเลยกระทำความผิดโดยเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนความผิดฐานสนับสนุนการก่อการร้าย จำเลยกระทำความผิดด้วย การให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ก่อนหรือขณะกระทำความผิด การกระทำความผิดทั้งสองฐาน แม้จำเลยจะได้กระทำในช่วงเวลาเดียวกัน แต่เป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกัน และต่างกรรมต่าง วาระกันทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการเป็นอั้งยี่และสนับสนุนการก่อการร้าย เป็นคนละอย่างต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกันมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียว   เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท



        คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๔/๒๕๕๗ ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐๙ เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตามมาตรา ๒๑๐ เป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นคบคิดกัน หรือตกลงกันหรือประชุมหารือกันเพื่อจะกระทำความผิด สภาพความผิดฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจรจึงสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366 (ภาคค่ำ) อ.ทวีเกียรติฯ 27 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1ครั้งที่1

ถอดคำบรรยาย ไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366  
อ.ทวีเกียรติฯ วันที่ 27 พฤษภาคม 2560 (ภาคค่ำ)  สัปดาห์ที่1ครั้งที่1
.................................


ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
        มาตรา ๒๘๘  ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
ความผิดตามมาตรานี้มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
๑. ผู้ใด
๒. ฆ่า
๓. ผู้อื่น
๔. โดยเจตนา (องค์ประกอบภายใน)
       
        ตัวอย่าง นายเอ เป็นลม แพทย์ตรวจสอบว่าตาย เพื่อนจับใส่โลง  นายเอเปิดโลงออกมาเพื่อนที่จับใส่โลงตกใจถึงแก่ตาย ญาติฟ้องหมอว่าประมาททำให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย
        แนวการวินิจฉัย  ๑. เจตนามีหรือไม่ (ไม่มี) ๒. ประมาทหรือไม่ เมื่อพิจารณาถึงการตรวจมีเกณฑ์การตรวจที่เป็นมาตรฐานแล้ว แพทย์ไม่ต้องรับผิด
        ผู้อื่น หมายถึง บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่ผู้กระทำ และหมายถึงบุคคลธรรมดา เท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจถูกฆ่าได้
        ตัวอย่าง นายแดง ไปเรียนวิชาอาคม กับนายดำ โดยนายดำสอนตามตำรา มีการทดสอบโดยยิงไปที่ศีรษะนายแดง ทำให้นายแดงถึงแก่ความตาย นายดำถูกฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา นายนายต่อสู้ว่าไม่ได้เจตนาให้นายแดงตาย
        แนวการวินิจฉัย ปืนเป็นอาวุธร้ายแรง ยิงไปที่อวัยวะสำคัญ เป็นเจตนาฆ่า 

        อาจารย์ให้ข้อสังเกต ในข้อสอบหากมีประเด็นว่า นาย ก. ยิงนาย ข. เช่นนี้ ถือว่ามีเจตนาฆ่าแล้ว ไม่ต้องไปสับสนในข้อเท็จจริง  หากประเด็นข้อสอบไม่ต้องการถามเรื่องเจตนาฆ่า จะมีข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่นยิงลงต่ำ ยิงที่ขา ยิงที่แขน ยิงขึ้นฟ้า ข้อเท็จจริงเช่นนี้ คือ ไม่มีเจตนาฆ่า เป็นต้น...../อ่านต่อ แบ่งปัน.... คลิกที่นี่ >>>  ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 อาญา มาตรา 288-366 (ภาคค่ำ) อ.ทวีเกียรติฯ 27 พ.ค. 60 สัปดาห์ที่1ครั้งที่1

ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) อ.สหธนฯ วันที่ 26 พ.ค 60 ครั้งที่1

ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) 
อ.สหธนฯ วันที่ 26 พฤษภาคม 2560 ครั้งที่1
..................


           ในวันนี้อาจารย์จะบรรยายในส่วนวิชาหุ้นส่วน บริษัท เวลา ๒ ชั่วโมง โดยจะบรรยาย ๑๕ ครั้ง ในช่วงแรกอาจารย์จะบรรยายในเรื่องทั่วไปและเรื่องห้างหุ้นส่วน จำนวน ๘ ครั้ง

หุ้นส่วนและบริษัท
        มาตรา ๑๐๑๒  อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
        สรุป เมื่อใดที่นำทุนมาร่วมกัน เมื่อนั้นเป็นเรื่องของการตั้งองค์กรธุรกิจ
        สมมุติ อาจารย์สหธน จะเปิดร้านไก่ย่าง ได้จ้างสมโชคมาเป็นลูกจ้าง กรณีนี้มีเจ้าของทุนคนเดียว ไม่ใช่องค์กรธุรกิจ

ประเภทองค์กรธุรกิจ มี ๒ แบบด้วยกัน คือ
        ๑. มีชื่อเรียกเฉพาะทางกฎหมาย  เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น

        ๒. ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะทางกฎหมาย เช่น กงสี กิจการร่วมค้า เป็นต้น /.... อ่านต่อ  คลิกที่นี่ >>> ถอดเทป ไฟล์เสียงเนติ 1/70 กฎหมายหุ้นส่วน-บริษัท (ภาคค่ำ) อ.สหธนฯ วันที่ 26 พ.ค 60 ครั้งที่1 

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1

 ถอดไฟล์เสียง เนติ  วิชา ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) สมัยที่70
วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1 
---------------------------


        ทางสำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิตยสภายินดีต้อนรับนักศึกษาทุกท่าน ในปีที่ผ่านมาในการเปิดการบรรยายในวันแรก คือ วันจันทร์ ชั่วโมงแรก ทางเลขาธิการสำนักอบรมก็ได้ขึ้นมาพูดคุยกับนักศึกษา ในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ผู้บรรยายหลายท่าน ยกตัวอย่าง กฎหมายอาญาในวันเสาร์ ได้ มี อ.ทวีเกียรติฯ มาบรรยาย และในอาจารย์ในภาคค่ำ ได้เลื่อนไปบรรยายในภาคปกติ รวมถึงตลอดภาคทบทวนทางเนติฯ ได้คัดสรร ผู้บรรยายเก่งๆ หลายท่าน ซึ่งเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ มาบรรยาย ผู้สนใจก็สมัครฟังคำบรรยายได้ รวมถึง หนังสือรวมคำบรรยาย ผู้สนใจก็สั่งจองได้ เพราะมีกฎหมายแก้ไขใหม่
        กฎหมายตั๋วเงิน เป็นหัวข้อหนึ่งที่ใช้สอบในชั้นเนติบัณฑิต ระดับผู้ช่วยผู้พิพากษาหลายครั้งก็มีกฎหมายตั๋วเงิน เป็นต้น
        เนื่องจากวันนี้เป็นการบรรยายในครั้งแรก จึงพูดถึงเรื่องทั่วไป หรือเรียกว่าภาพรวมก่อน เริ่มต้นที่มาตราแรก คือ มาตรา ๘๙๘
๑. ตั๋วเงิน
        มาตรา ๘๙๘  อันตั๋วเงินตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้มีสามประเภท ๆ หนึ่งคือ ตั๋วแลกเงิน ประเภทหนึ่งคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทหนึ่ง คือ เช็ค
        อันดับแรกเราก็มาดูในเรื่องของตั๋วแลกเงิน ตาม มาตรา ๙๐๘ จะเห็นได้ว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคน หนึ่งเรียกว่า “ผู้จ่าย” ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าเรื่องของตั๋วแลกเงินนั้นบุคคลผู้เกี่ยวข้องมีอยู่ ๓ คน
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน

ตั๋วสัญญาใช้เงิน
        มาตรา ๙๘๒ บัญญัติว่า อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นคือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับเงิน แสดงว่าตั๋วสัญญาใช้ เงินมีอยู่ ๒ คน คือ
        ๑. ผู้ออกตั๋ว
        ๒. ผู้รับเงิน

        และประเภทที่ ๓ คือ เช็ค ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องเช็คก็เป็นไปตามมาตรา ๙๘๗ ที่ว่า “อันเช็คนั้น คือ หนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน” ก็มี ๓ คนด้วยกัน คือ
        ๑. ผู้สั่งจ่าย
        ๒. ธนาคารหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นผู้จ่าย และ
        ๓. ผู้รับเงิน


        มีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเรื่องหนึ่งขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ข้อเท็จจริง ดังนี้  ...../ อ่านต่อ คลิก>>>ถอดไฟล์เสียง เนติ 1/70 ตั๋วเงิน อ.ประเสริฐฯ (ภาคค่ำ) วันที่ 25 พ.ค 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่1 



วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทปเนติ 1/70 วิชา มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1

ถอดเทป มรดก (ภาคปกติ) อ.กีรติฯ สมัยที่70
 วันที่ 22 พค. 60 สัปดาห์ที่ 1 ครั้งที่ 1
..............................

        สวัสดีครับนักศึกษา ในการเรียนเนติฯ ความยากอยู่ที่อะไร  อยู่ที่เรามีความขยันพอหรือไม่และมีความตั้งใจจริงหรือไม่ เมื่อจบปริญญาตรีมาแล้วก็คงไม่ยากสำหรับทุกคน  หลักสำคัญที่อาจารย์แนะนำ  คือ “สุ จิ ปุ ลิ”
        ที่ผ่านมาข้อสอบจะออกทั้งครอบครัวและมรดก แต่มีสมัยที่ ๖๗ , ๖๙ ที่ออกเฉพาะมรดก ดังนั้นข้อสอบที่ออกสอบได้นั้นหลักกฎหมายจะวนไปวนมา

เข้าสู่เนื้อหา
        มรดก เกิดขึ้นได้อย่างไร
        มรดกเกิดขึ้นได้เมื่อมีความตายตามาตรา มาตรา ๑๕๙๙
        มาตรา ๑๕๙๙  “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”

        มาตรา ๑๖๐๒  เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา ๖๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
               ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ในคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติมาตรา ๖๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาทของบุคคลนั้น

          มาตรา ๑๗๕๓  ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดก เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคคลในที่นี้ เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวแยกได้เป็น ๒ กรณี คือ

๑. ความตายตามธรรมชาติ (ตายความเป็นจริง)
        กรณีดังกล่าวจะเกิดปัญหาว่า ใครบ้างที่เป็นทายาท เช่น นายแดง เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายดำ ถ้านายแดงตายก่อน นายดำมีสิทธิได้รับมรดกในทรัพย์สินของนายแดง  แต่ถ้าตายพร้อมกันต่างคนต่างไม่เป็นทายาทซึ่งกันและกัน ไม่มีสิทธิรับมรดก (กรณีตายพร้อมกัน ออกสอบแล้ว เมื่อสมัยที่ ๖๙)

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๘/๒๕๕๔ เจ้ามรดกตลอดจนบุคคลในครอบครัวถูกสามีของเจ้ามรดกใช้อาวุธปืนยิงถึงแก่ความตายในเวลาต่อเนื่องกัน ถือเป็นการตายในเหตุภยันตรายร่วมกันและเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง จึงถือว่าทุกคนถึงแก่ความตายพร้อมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗ ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกจึงไม่ตกไปยังบุตรของเจ้ามรดกซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายพร้อมกัน แต่จะตกได้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นน้าของเจ้ามรดก และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่า สามีของเจ้ามรดกเป็นผู้กระทำโดยเจตนาให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจดำเนินคดีแก่สามีของเจ้ามรดกได้เนื่องจากสามีเจ้ามรดกฆ่าตัวตายไปก่อน จึงถือได้ว่าสามีของเจ้ามรดกเป็นบุคคลที่ต้องถูกจำกัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับสามีของเจ้ามรดกจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก และเมื่อผู้ร้องมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๑๒๙/๒๕๕๖ ธ. ซึ่งเป็นบุตรของ ก. และ ก. ตายพร้อมกัน ต่างไม่เป็นทายาทที่จะรับมรดกของกันและกัน เพราะในขณะที่บุคคลหนึ่งถึงแก่ความตายอีกบุคคลหนึ่งไม่มีสภาพบุคคลที่มีความสามารถที่จะมีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖๐๔ วรรคหนึ่ง และกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา ๑๖๓๙ เนื่องจาก ธ. ทายาทไม่ได้ตายก่อน ก. เจ้ามรดกอันจะทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ธ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ธ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ก. ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖ และมาตรา ๒๔๗


๒. ความตายโดยผลของกฎหมาย

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถอดเทปเนติบัณฑิต ภาค1 สมัยที่ 70

ถอดเทปเนติบัณฑิต พร้อมเน้นประเด็นหลักกฎหมาย ฎีกาเด่นติดดาว ภาค1 สมัยที่ 70

     การเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ในเบื้องต้นนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะต้องมีอยู่คู่กาย ในเบื้องต้น คือ
     1. ตัวบทกฎหมาย (ที่อัพเดท)
     2. หนังสือรวมคำบรรยายเนติ (ที่อัพเดท สมัยปัจจุบัน) สั่งจากสำนักฝึกอบรมเนติฯ
     3. สรุปตัวบท สาระสำคัญ มาตราที่ออกสอบแล้วในปีที่ผ่านมา หรือ หลายๆ สมัยย้อนหลัง
     4. ข้อสอบเนติฯ (ข้อสอบเก่า) ฝึกทบทวน หัดเขียน หรือคัดลอก เพื่อความคล่องในเวลาลงสนามสอบ

     ดังนั้น 4 ประการดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น นั้นจะช่วยทำให้ผู้ศึกษาในระดับเนติบัณฑิต จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรก


---------------------------------------
ถอดเทป สรุป เก็งฎีกา เตรียมสอบ รายข้อ อัพเดท ก่อนถึงวันสอบ 1-2 วัน ที่ LawSiam.com