เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

ฎีกาเด่น* ถอดเทป ห้องบรรยายเนติฯ สัปดาห์ที่8 วิ.อาญา ภาค 1-2 (ภาคปกติ) อ. จุลสิงห์ จันทร์ที่ 7 ม.ค 62 สมัยที่71

ฎีกาเด่น* ถอดเทป ห้องบรรยายเนติฯ  วิ.อาญา ภาค 1-2 (ภาคปกติ)
 อ. จุลสิงห์ฯ สัปดาห์ที่8  จันทร์ที่ 7 ม.ค 62 สมัยที่71



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2560*** ประชุมใหญ่ วินิจฉัยว่า การตีความคำว่า”ผู้เสียหาย” ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ไม่ถือตามความหมายมาตรา 2 (4) ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 1 ที่บัญญัติว่า “ประมวลกฎหมายนี้ ถ้าคำใดมีคำอธิบายไว้แล้วให้ถือตาม ความหมายดั่งได้อธิบายไว้ เว้นแต่ข้อความในตัวบทจะขัดกับคำอธิบายนั้น” ส่วนความประมาทของผู้เสียหาย (ผู้ร้อง) เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเท่านั้น ไม่ทำให้สิทธิของผู้เสียหายที่จะขอให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหมดไป


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2528 คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาทแก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้วย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8886/2549 จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานรับของโจรรถกระบะของกลาง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน 80,100 บาท แก่ผู้เสียหาย ซึ่งรวมถึงโทรศัทพ์เคลื่อนที่ราคา 3,900 บาท สินค้าอุปโภคบริโภคราคา 40,000 บาท กล้องถ่ายรูปราคา 9,000 บาท ซึ่งมิใช่ทรัพย์ที่จำเลยทั้งสองรับของโจรและรถกระบะของกลางนั้นผู้เสียหายก็ได้รับคืนไปแล้ว แม้ได้รับคืนในสภาพที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนซึ่งคิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 27,200 บาท พนักงานอัยการโจทก์ก็ขอให้คืนหรือใช้ราคาไม่ได้ เพราะ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเอาเองเป็นคดีใหม่ จะให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่มิได้รับของโจรกับมูลค่าความเสียหายของรถกระบะของกลางที่ถูกถอดชิ้นส่วนบางส่วนนั้นย่อมไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11776/2553 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 บัญญัติว่า "คดีลักทรัพย์...ฉ้อโกง...ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดคืน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญา ก็ให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายด้วย" ดังนี้ เมื่อจำเลยหลอกลวงเอาเงิน 80,000 บาท ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและโจทก์มีคำขอให้จำเลยคืนเงิน 80,000 บาท ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 43 ให้อำนาจไว้จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่ดินที่จำเลยจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้เสียหายแล้วนั้น หากผู้เสียหายไม่โอนที่ดินคืนแก่จำเลย จำเลยชอบที่จะดำเนินคดีทางแพ่งตามสิทธิของจำเลยต่อไป

บทบรรณาธิการเนติ ภาค2 สมัยที่71 เล่มที่7

       คำถาม โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ มีคำสั่ง ย้ายและตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์เคยได้รับโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์เสียหายขาดโอกาสความก้าวหน้า ประโยชน์ที่ควรได้รับ เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ขอให้เพิกถอนการประเมิน คำสั่ง คืนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และให้ใช้ค่าเสียหาย จำเลยฟ้องแย้งว่า โจทก์ร้องเรียน จำเลยไปยังหลายหน่วยงาน เป็นการจงใจทำให้จำเลยเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๒๒/๒๕๕๙ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๓ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ปี ๒๕๕๔ โดยไม่ชอบ จำเลยที่ ๑ มีคำสั่งย้ายโจทก์และตัดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์เคยได้รับโดยไม่ชอบ การกระทำของจำเลยที่ ๑ โดยจำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ทำให้โจทก์เสียหายขาดโอกาสในความก้าวหน้า ขาดประโยชน์ที่ควรได้รับ และเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ขอให้เพิกถอนการประเมินการปฏิบัติงานปี ๒๕๕๔ เพิกถอนคำสั่งย้ายโจทก์ ให้คืนสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ที่โจทก์เคยได้รับ กับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์ขาดโอกาสและสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่ง การพิจารณาคดีของโจทก์ ศาลต้องพิจารณาการกระทำของฝ่ายจำเลยทั้งสามว่าชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของจำเลยที่ ๑ หรือไม่ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน และการย้ายโจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ส่วนฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามที่อ้างว่า โจทก์ร้องเรียนจำเลยทั้งสามไปยังหลายหน่วยงานเป็นการจงใจทำให้จำเลยทั้งสามเสียหายนั้น เป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ว่าการร้องเรียนของโจทก์เป็นการละเมิด ต่อจำเลยทั้งสาม แม้ฟ้องเดิมจะมีคดีอันเกิดจากมูลละเมิดรวมอยู่ด้วย แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนพยานหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละประเด็นแตกต่างกันไม่มีความเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมได้










วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562

เก็งฎีกา วิอาญา ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา เนติบัณฑิต สมัยที่71

เก็ง วิอาญา ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา เนติบัณฑิต สมัยที่ 71


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2560 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุกตลอดชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 16 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แม้ฎีกาของจำเลยจะขอให้ลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 100/2 โดยได้รับอนุญาตให้ฎีกาจากศาลฎีกา ก็หาก่อให้เกิดสิทธิในการยื่นฎีกาไม่ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย


อ้างอิง : วิชา วิ.อาญา ภาค 3-4 (อ.ธานี สิงหนาท) ภาคปกติ  สมัยที่71 ปิดคอร์ส*

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

เก็งเนติ วิอาญา ข้อ2 สมัยที่71 ชุดที่1

เก็งฎีกาเด่น เนติ วิอาญา ข้อ2 สมัยที่71 ชุดที่1

-------------------


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2561  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเมื่อคดีส่วนอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมแล้วจึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ร่วม.

การยื่นคำร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 ผู้เสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากความผิดที่ไม่ถูกฟ้องไม่ได้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมิได้ประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำร้องของโจทก์ร่วมย่อมเป็นการไม่ชอบฎีกาของโจทก์ร่วมนี้จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 (เดิม)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 1


 การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและการขอค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 30 และมาตรา 44/1

คำพิพากษาฎีกาที่ 1935/2561 โจทก์ร่วมสมัครใจวิวาทกับจำเลย โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีอาญาโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) จึงไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีส่วนอาญาได้ แต่สำหรับคดีส่วนแพ่งที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 บัญญัติให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายหรือจิตใจได้นั้นหมายถึงผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนโดยพิจารณาจากสิทธิในทางแพ่ง มิใช่นำเอาความหมายของคำว่าผู้เสียหายในคดีอาญามาใช้บังคับ แม้โจทก์ร่วมจะไม่อาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ แต่ก็มีสิทธิเป็นผู้ร้องขอเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

ผู้ร้องและจำเลยสมัครใจต่อสู้กันถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างก่อให้เกิดความเสียหายด้วยกัน แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นซึ่งมีวิถีกระสุนกระจายเป็นวงกว้างยิงไปทางผู้ร้องจนกระสุนปืนถูกผู้ร้องได้รับอันตรายสาหัส ในขณะที่จำเลยไม่ถูกกระสุนปืนที่ร่างกายเลย ตามพฤติการณ์เป็นที่เห็นได้ว่าฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งกว่าฝ่ายผู้ร้อง จึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้ร้องกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายทั้งหมด

คำพิพากษาฎีกาที่ 3554/2561 แม้ตามคำฟ้องและทางพิจารณาคดีจะได้ความว่าการล่วงละเมิดทางเพศของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ 1 นั้นเป็นไปโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงเรื่องพิจารณาตามองค์ประกอบในเรื่องอายุโดยกฎหมายได้คำนึงถึงการคุ้มครองความเป็นผู้เยาว์ของผู้เสียหายที่อายุยังไม่เกิน 13 ปี ซึ่งยังขาดวุฒิภาวะ ตลอดจนความรู้ และความเข้าใจในการดำรงชีวิต ซึ่งจำเลยผู้กระทำความผิด หากล่วงรู้และทราบข้อเท็จจริงในองค์ประกอบเรื่องอายุในส่วนนี้ แล้วยังคงกระทำความผิด ก็จะอ้างถึงความยินยอมของผู้เสียหายที่ 1 มาเป็นเหตุปัดความรับผิดในเรื่องดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นคนละส่วนกัน กรณีย่อมถือว่าผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุยังไม่เกิน 13 ปีนั้น แม้จะถูกจำเลยกระทำความผิดโดยยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุพิจารณาว่ามิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ดังนั้น ผู้เสียหายที่ 1 โดยมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในส่วนความผิดที่ถูกจำเลยกระทำตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสามและมาตรา 279 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 1 โดย น. มารดาโจทก์ร่วมผู้แทนโดยชอบธรรมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะในความผิดดังกล่าวจึงชอบแล้ว และเมื่อเป็นโจทก์ร่วมก็ย่อมมีสิทธิในฐานะที่เป็นคู่ความในคดี จึงมีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาได้ ส่วนเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1 นั้น เมื่อจำเลยได้ล่วงละเมิดในทางเพศต่อโจทก์ร่วมและล่วงละเมิดอำนาจปกครองดูแลโจทก์ร่วมของผู้เสียหายที่ 2 ผู้เป็นยายซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลโจทก์ร่วมอยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นการทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 แล้ว โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 44/1


อ้างอิง : ฎีกาเด่น* ห้องบรรยายเนติฯ วิ.อาญา ภาค 1-2 (ภาคค่ำ) อ.ธนรัตน์ ทั่งทอง 28 ธค 61 สัปดาห์ที่7 สมัยที่71 

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ5 อุทธรณ์-ฎีกา สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1


        คำถาม คดีที่มีโจทก์หลายคนร่วมกันฟ้องจำเลย โดยโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวเรียกการเอาส่วนของตน การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกต่างหากจากกันหรือรวมกัน?

        คำตอบ กรณีเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา ๕๕ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของ โจทก์แต่ละคนแยกกัน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ตังนี้

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๓๕/๒๕๕๒ โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๙ แต่โจทก์ที่ ๑ อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดา โจทก์ที่ ๑ เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ ๑ ต่อมาโจทก์ที่ ๑ แบ่งที่ดินออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่ ๑ เนื้อที่ ๙ ไร่ ๙๓ ตารางวา ราคาประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ ๒ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๒ งาน ๕๓ ตารางวา ราคาประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ ๒ และ ส่วนที่ ๓ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๓๙ ตารางวา ราคาประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท โจทก์ที่ ๑ โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ ๓ หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา ๕๕ การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของ โจทก์แต่ละคนแยกกัน

บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต ภาค2 สมัยที่71 เล่มที่ 2

        บทบรรณาธิการเนติบัณฑิต ภาค๒ สมัยที่ ๗๑ เล่มที่ ๒

        คำถาม คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องจะหมายความรวมถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องตามที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษ จำเลยด้วยหรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๒๑/๒๕๖๑ โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลย ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาของศาลจังหวัดสุรินทร์ ให้ลงโทษจำคุก ๔ ปี ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในระหว่างที่จำเลยยังจะต้องรับโทษในคดีดังกล่าว จำเลยได้กระทำความผิดในคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จำเลยฟัง จำเลยก็ได้ให้การว่ารับสารภาพตามฟ้อง คำให้การจำเลยที่รับสารภาพตามฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงการรับว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ และเมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนเกิน ๖ เดือน จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖

        คำถาม ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี และความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นยินยอม มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการหรือยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนผู้เสียหายหรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๕๕๔/๒๕๖๑ แม้ตามคำฟ้องและทางพิจารณาคดีจะได้ความว่า การล่วงละเมิดทางเพศของจำเลยต่อผู้เสียหายที่ ๑ นั้น เป็นไปโดยผู้เสียหายที่ ๑ ยินยอมก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงเรื่องพิจารณาตามองค์ประกอบในเรื่องอายุ โดยกฎหมายได้คำนึงถึงการคุ้มครองความเป็นผู้เยาว์ของผู้เสียหายที่อายุยังไม่เกินสิบสามปี ยังขาดวุฒิภาวะ ตลอดจนความรู้และความเข้าใจในการดำรงชีวิตซึ่งจำเลยผู้กระทำความผิดหากล่วงรู้และทราบข้อเท็จจริง ในองค์ประกอบเรื่องอายุในส่วนนี้แล้ว ยังคงกระทำความผิด ก็จะอ้างถึงความยินยอมของผู้เสียหายที่ ๑ มาเป็นเหตุปัดความรับผิดในเรื่องดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นคนละส่วนกัน กรณีย่อมถือว่าผู้เสียหายที่ ๑ ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุยังไม่เกินสิบสามปีนั้น แม้จะถูกจำเลยกระทำความผิดโดยยินยอมหรือไม่ยินยอมก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุ พิจารณาว่ามิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ดังนั้น ผู้เสียหายที่ ๑ โดยมารดาผู้แทน โดยชอบธรรมจึงมีสิทธิร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในส่วนความผิดที่ถูกจำเลยกระทำ ตาม ป.อ. มาตรา ๒๗๗ วรรคสาม และมาตรา ๒๗๙ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ ๑ โดย น. มารดาโจทก์ร่วมผู้แทนโดยชอบธรรม เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะในความผิดดังกล่าวจึงชอบแล้วและเมื่อเป็นโจทก์ร่วมก็ย่อมมิสิทธิในฐานะที่เป็นคู่ความในคดี จึงมีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ และคำแก้ฎีกาได้ ส่วนเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๔/๑ นั้น เมื่อจำเลยได้ล่วงละเมิดในทางเพศต่อโจทก์ร่วม และล่วงละเมิดอำนาจปกครองดูแลโจทก์ร่วมของผู้เสียหายที่ ๒ ผู้เป็นยายซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลโจทก์ร่วมอยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นการกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๒๐ แล้ว โจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ ๒ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๔/๑
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๗๙๗/๒๕๖๐ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามี ของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวาง...” แสดงว่ากฎหมายคุ้มครองเด็กอายุน้อยเป็นกรณีพิเศษโดยไม่ให้ความสำคัญแก่ความยินยอมของเด็ก แม้ผู้เสียหายยินยอม การกระทำของจำเลยก็ยังเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๐ ผู้เสียหายจึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกค่าเสียหาย ฐานละเมิดจากจำเลย มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนผู้เสียหายได้

        คำถาม ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาข้อหาความผิดฐานยักยอกต่อศาลแขวงและขอให้บังคับจำเลยคืนเงินที่ยักยอกเกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผู้พิพากษาคนเดียว ในศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนแพ่งหรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๑๙๒/๒๕๖๐ แม้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๕ () วรรคหนึ่ง กำหนดว่าผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาทก็ตาม แต่ ป.วิ.อ. มาตรา ๔๐ บัญญัติว่า “การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะฟ้องต่อศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญา หรือต่อศาลที่มีอำนาจชำระคดีแพ่งก็ได้ การพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง” การที่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาโดยกำหนดให้รัฐ (พนักงานอัยการ) และผู้เสียหาย สามารถฟ้องคดีส่วนแพ่งรวมไปกับคดีอาญาและให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งไปในคราวเดียวกัน โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมให้ได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นถึงแม้ว่าในบางกรณีเขตอำนาจปกติของศาลที่พิจารณาคดีอาญาไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นได้ก็ตาม ต้องถือว่าเป็นกรณีที่กฎหมายประสงค์จะยกเว้นให้ทำได้ ดังเช่นพนักงานอัยการร้องขอให้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๓ หรือผู้เสียหายยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๔๔/๑ กรณีจึงไม่จำต้องคำนึงว่าศาลที่จะพิจารณาคดีอาญาจะเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒ (๑) และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๔) วรรคหนึ่ง และผู้เสียหายที่ยื่นฟ้องจะขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินมากน้อยเพียงใด ดังนี้ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำนวนเงินที่ขอเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิพากษาคดีในส่วนแพ่งได้

        คำถาม โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๗๒ (กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ) ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ได้หรือไม่?
        คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๓๙/๒๕๖๑ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลย ถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึงกระทำความผิดต่อผู้ตาย อันเป็นการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๗๒ ศาลอุทธรณ์ภาค ๙ เห็นพ้องกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ที่ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๗๒ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๙ พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ฎีกาของโจทก์ร่วมทั้งสองที่ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ตามฟ้อง โดยอ้างว่าการกระทำของจำเลยมิใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ จึงเป็นการฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๙ พิพากษายกฟ้อง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐

เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ1 สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1

        
เก็งเนติ วิแพ่ง ข้อ1 สมัยที่71 (แนวคำถาม-ตอบ ฎีกา) ชุดที่1


        คำถาม เจ้าหนี้โอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นโดยสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ทำที่สำนักงานของผู้รับโอน หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่ผู้รับโอน จะถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด?
        คำตอบ ถือว่ามูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเกิด ขึ้น ณ ที่สำนักงานของผู้รับโอน มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
        คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๓๐/๒๕๕๔ สัญญาว่าจ้างที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ระบุว่าทำ ณ ที่ทำการของจำเลยที่อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพล แม้ห้างดังกล่าวทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง ตามสัญญาว่าจ้างให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของห้างฯ ในอันที่จะบังคับชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมจากจำเลยแทนห้างฯ เมื่อสัญญาที่เป็นมูลหนี้ให้เกิดการโอนสิทธิเรียกร้อง เกิดขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย และจำเลยปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ถือว่ามูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องเกิด ขึ้น ณ ที่ทำการของจำเลย ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลจังหวัดพล โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลชั้น ต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๔ (๑) ไม่ได้

        อธิบาย ตามมาตรา ๔(๑) นี้ โจทก์สามารถฟ้องได้ยังศาลที่
        ๑. จำเลยมีภูมิลำเนาหรือ
        ๒. ศาลที่มูลคดีเกิดได้ ถ้าจำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชฯ ให้ฟ้องยังศาลที่มูลคดีเกิดโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาหรือสัญชาติของจำเลย

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ1. ทรัพย์-ที่ดิน สมัยที่ 71

    เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ1. ทรัพย์-ที่ดิน






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ2. นิติกรรม สัญญา หนี้ สมัยที่ 71



          เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ2. นิติกรรม สัญญา หนี้ 






สรุปเก็งที่ออกสอบเนติฯ ข้อ3. ละเมิด สมัยที่ 71

            เพื่อเป็นแนวทางการเตรียมตัวทบทวนอ่านหนังสือเตรียมสอบ เนติฯ ข้อ3. ละเมิด