เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปวิแพ่ง ข้อ4 เนติฯ (ขาดนัดพิจารณา (น่าสนใจ*))

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ขาดนัดพิจารณา (น่าสนใจ)


มาตรา ๒๐๐ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาต จากศาลให้เลื่อนคดี ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา
ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความ ฝ่ายนั้นสละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วยแล้ว”

สรุป จากบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคหนึ่ง มีข้อที่จะพิจารณาในเบื้องต้น ดังนี้
คำว่า ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๘ ทวิ และมาตรา ๑๙๘ ตรี หมายความ ว่า บทบัญญัติในเรื่องการขาดนัดพิจารณาไม่นำไปใช้แก่คดีที่จำเลยขาดนัดยื่น คำให้การหรือคดีที่มีจำเลยหลายคนและจำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ หากใน คดีดังกล่าวมีการสืบพยาน ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การไม่มาศาลในวันสืบพยานก็ต้องบังคับตามมาตรา ๑๙๘ ทวิ วรรคสี่ หรือ มาตรา ๑๙๘ ตรี วรรคสอง กล่าวคือ ไม่ถือว่าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การนั้นขาดนัดพิจารณาอีก จะนำบทบัญญัติเรื่องคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๑ หรือโจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา ๒๐๒ มา ปรับแก่คดีไม่ได้ ต้องใช้บทกฎหมายเรื่องการขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้แก่คดีเพียงอย่างเดียว

คำว่า คู่ความ มีความหมายตามมาตรา ๑ (๑๑) ที่บัญญัติว่า คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณา ให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๕๘/๒๕๖๐ จำเลยที่ ๑ มอบฉันทะให้ ส. มายื่นคำร้องขอคัดถ่ายสำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ซื้อทรัพย์เพื่อแถลงต่อศาลและวางเงินค่าส่งหมายนัดสำเนาคำร้อง ส. จึงมีอำนาจเพียงยื่นคำร้องและวางเงินค่าส่งหมายนัดสำเนาคำร้องตามที่ระบุไว้ในใบมอบฉันทะเท่านั้น การที่ ส. ท่าคำร้องขอคัดถ่ายสำเนา แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ซื้อทรัพย์โดยลงชื่อเป็นผู้เรียงและเขียนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งซึ่งต้องกระทำโดยคู่ความหรือทนายความ การมอบฉันทะ ดังกล่าวไม่ทำให้ ส. อยู่ในฐานะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑ (๑๑)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๐/๒๕๔๙ เสมียนทนายจำเลยที่ ๒ ได้รับมอบฉันทะ จากทนายจำเลยที่ ๒ มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ ๒ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑ (๑๑) เพราะเสมียนทนายจำเลยที่ ๒ ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ ๒ เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ ๒ และทนายจำเลยที่ ๒ ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์

สรุป คำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ เสมียนทนายได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยให้ มายื่นเฉพาะคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งศาลเกี่ยวกับเรื่องการขอถอนทนาย เท่านั้น ไม่ได้รับมอบฉันทะให้มีอำนาจเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหรือกำหนดวันนัดสืบพยาน เสมียนทนายจึงไม่ถือว่าเป็นคู่ความในกิจการที่ได้รับมอบหมาย เท่ากับไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ ๒ มาศาลในวันสืบพยานโจทก์เลย
แต่ถ้าเสมียนทนายที่มาศาลได้รับมอบฉันทะให้มีอำนาจยื่นคำร้องขอ เลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลย*** ถือว่าเป็นการมอบฉันทะที่เกี่ยวข้องกับการสืบพยาน เสมียนทนายจึงมีฐานะเป็น คู่ความในกิจการที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา ๖๔ จึงเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายจำเลยมาศาลแล้ว ไม่ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๗๙๐/๒๕๔๙ ในวันสืบพยาน ทนายจำเลยมอบฉันทะ ให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณาฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อทนายจำเลยเช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๐ ที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๐๔๙/๒๕๕๘ ในวันสืบพยานโจทก์วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ทนายจำเลยทั้งสามมอบฉันทะให้ ส. เสมียนทนายนำคำร้องมายื่นขอเลื่อนคดี ฟังคำสั่งศาลและกำหนดวันนัดแทน ส. ย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความมิใช่คู่ความฝ่าย จำเลยทั้งสามไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลอันจะให้ถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาในคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๓ ทวิ วรรคสอง การไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีคงมีผลเพียงทำให้จำเลย ทั้งสามเสียสิทธิในการซักค้านพยานโจทก์ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เท่านั้น จำเลยทั้งสามยังคงมีสิทธินำพยานเข้าสืบในนัดวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ตามที่นัดไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถือว่าจำเลยทั้งสามขาดนัดพิจารณาและให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการไม่ชอบ (คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๕๙/๒๕๕๘, ๓๗๙๐/๒๕๔๙ วินิจฉัยเช่นกัน) 


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

สรุปประเด็น ข้อ 4 วิแพ่ง เนติฯ ที่น่าออกสอบ* (กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ4 วิธีพิจารณาคดีวิสามัญในศาลชั้นต้น

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่

มาตรา ๑๙๙ จัตวา ได้บัญญัติให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งศาลมี คำพิพากษาให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

(๑) การยื่นคำขอในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ

(๒) การยื่นคำขอในกรณีที่จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) เพราะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ในกรณีเช่นนี้ จำเลยนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง

พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้น หมายถึง กรณีที่มีเหตุขัดขวาง ที่ทำให้จำเลยไม่อยู่ในวิสัยที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาตามปกติ ตามข้อ (๑) นั้นเอง เช่น ขณะที่เจ้าพนักงานศาลส่งคำบังคับให้จำเลยตามมาตรา ๒๗๒ จำเลยไปทำธุรกิจอยู่ต่างประเทศ หรือมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น วาตภัย อุทกภัย เป็นต้น กรณีต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนจัดได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอในกรณีปกติตามข้อ (๑) ได้ กฎหมายจึงยอมผ่อนคลายให้สิทธิแก่จำเลย อาจมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด ๑๕ วันนับแต่วันที่พฤติการณ์ นั้นได้สิ้นสุดลง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๗๔/๒๕๕๙ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสอง อ้างเหตุแห่งการขาดนัดว่า ขณะที่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง จำเลยทั้งสองไม่ได้อาศัยอยู่ที่บ้านดังกล่าวเป็นเวลานานหลาย เดือนแล้ว จำเลยทั้งสองเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อคดีเสร็จสิ้นไปแล้วโดยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ เช่นนี้แม้ข้อกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองจะเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่จำเลยทั้งสองต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้ เริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงหรือไม่ นอกจากนี้ในส่วนของข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นจำเลยทั้งสองเพียงแต่กล่าวอ้างว่า หากจำเลยทั้งสอง ได้นำพยานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองมีโอกาสชนะคดีอย่างแน่นอน ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดีจึงไม่ชอบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น เพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นส่วนใดไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใด เพราะเหตุใด ทั้งเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้ง ว่า หากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่แล้วตนอาจเป็นฝ่ายชนะ คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ จัตวา วรรคหนึ่ง และวรรคหนึ่ง

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๘๒/๒๕๓๙ โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยปิดหมายเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๗ ซึ่งจำเลยที่ ๑ มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ แม้ทนายจำเลยที่ ๑ จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๗ ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก ๖ วัน ที่จำเลยที่ ๑ สามารถยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน ๑๕วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๘ วรรคหนึ่ง กรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน ๑๕ วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ ๑ ได้ด้วย กรณีของจำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่ ๑ ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ การที่จำเลยที่ ๑ ยื่นคำขอในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗ จึง ล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๑๘/๒๕๕๘ พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับ เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๓๙ ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา ๑๕ วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๗๙ วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ลูกหนี้อาจยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
(๓) แต่กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้จำเลยยื่นคำขอต่อศาล เมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น

กำหนดระยะเวลายื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามข้อ (๓) นี้เป็นกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุด กล่าวคือ แม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุดลง หากระยะเวลาได้ล่วงพ้นกำหนดหกเดือน นับแต่วันยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแล้ว จำเลยย่อมต้องห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยเด็ดขาด


อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ สัมมนา วิ.แพ่ง อ.ประเสริฐฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ข้อ9 ฟื้นฟูกิจการ (ผู้ทำแผนนำเงินจากกองทรัพย์สิน มาชำระหนี้ได้หรือไม่?)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ประเด็นปัญหา คือ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนแล้ว ตัวผู้ทำแผนจะนำเงินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้หรือไม่ จะถือว่าเป็นการดำเนินการค้าตามปกติหรือไม่?

คำตอบ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๑๐/๒๕๕๙*** เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๒๗ วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา ๑ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ตามมาตรา ๙๐/๒๖ วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิรับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผน ซึ่งนำเงินมาชำระหนี้หรือมาวางที่สำนักงานวางทรัพย์ 




อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ดาวน์โหลด* ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด* ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ (ภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว...)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ


ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


ภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะเอาเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไม่ได้ 




คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๑๐/๒๕๕๙**** เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา ๙๐/๒๗ วรรคหนึ่ง จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา ๑ เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนตามมาตรา ๙๐/๒๖ วรรคหนึ่ง และ การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผนที่ฟื้นฟูกิจการ กล่าวคือ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวน เท่าใดจะต้องนำหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทำแผนซึ่งได้นำเงินมาชำระหนี้หรือนำเงินมาวางที่สำนักงานวางทรัพย์ การที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปหลังจากศาลมีคำสั่งให้ที่ฟื้นฟูกิจการหรือผู้ทำ แผนนำเงินไปวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ใช่วิธีการที่ กฎหมายกำหนดเพื่อชำระหนี้ในมูลแห่งหนี้ที่ได้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟู กิจการ จึงเป็นการกระทำที่ไม่อาจกระทำได้ขัดต่อมาตรา ๙๐/๑๒ (๙) ย่อมตกเป็น โมฆะตามมาตรา ๙๐/๑๒ วรรคท้าย หนี้ไม่ระงับ เจ้าหนี้มีสิทธินำหนี้นั้นมายื่นคำขอ รับชำระหนี้ได้ มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๗๔๘/๒๕๕๙ วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน


สรุป จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวภายหลังที่เกิดสภาวะพักการชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะเอาเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ก็โดยการมายื่นคำขอชำระหนี้ แล้วหนี้ดังกล่าวจะต้องเข้าสู่แผน เมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้บริหารแผนมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ การที่ผู้ทำแผนไปชำระหนี้หรือมีการเรียกเก็บเงินตามเช็คในหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ใช่การดำเนินการค้าตามปกติย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๙๐/๑๒ วรรคท้าย 



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ เนติฯ (การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ)

สรุปย่อคำบรรยายเนติ เน้นประเด็นสำคัญ เก็งฎีกา เก็งมาตรา ขอบเขตสำคัญ ที่น่าออกสอบ

ข้อ9 กฎหมายฟื้นฟูกิจการ

เจาะประเด็น เน้นฎีกา ที่น่าสนใจ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต สมัยที่ 72


การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ



คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๓๗/๒๕๔๖ (เน้น**) มูลหนี้ระหว่างผู้ร้องและบริษัท อ. พร้อมทั้งลูกหนี้ได้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หาใช่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องอาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ตามมาตรา ๙๐/๒๗ และเมื่อพิเคราะห์ถึงการกระทำดังกล่าวของผู้ทำแผนซึ่งกระทำในนามของลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วตามมาตรา ๙๐/๒๕ ก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะเป็นการดำเนินกิจการที่ต่อเนื่องมาจากการติดต่อทางการค้ากับผู้ร้องในนามของลูกหนี้ในฐานะของกรรมการลูกหนี้มาตั้งแต่ก่อน ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงไม่ต้องห้ามมิให้ลูกหนี้ก่อหนี้ตามมาตรา ๙๐/๑๒ (๙) อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่าลูกหนี้ผิดสัญญา จึงดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นกรณีที่ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน จึงต้องห้ามตามมาตรา ๙๐/๑๒ (๔) แต่ผู้ร้องอาจมีคำร้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งแกไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อจำกัดสิทธิของตนได้ตามมาตรา ๙๐/๑๑ หากข้อจำกัดสิทธินั้นไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อเท็จจริงที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่ากรณีดังกล่าว ผู้ร้องไม่อาจขอคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ใน การฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๒๗ ได้ เหตุนี้จึงถือได้ว่าการจำกัดสิทธิมิให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา ๙๐/๑๓ (๑) ศาลจึงต้องมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง ศาลฎีกาพิพากษาอนุญาตให้ผู้ร้องฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งตามคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๑๓ ประกอบมาตรา ๙๐/๑๒ (๔)

สรุป*** ตามคำพิพากษาฎีกานี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้นั้น ไม่มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งในการฟื้นฟูกิจการมีวัตถุประสงค์ที่จะดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และกำหนดให้เจ้าหนี้ดังกล่าวต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามมาตรา ๙๐/๒๖ และมาตรา ๙๐/๒๗ หนี้ในคดีนี้เป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนได้ก่อให้เกิดขึ้น ถือว่าเป็นหนี้ของกองทรัพย์สินในการฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา ๙๐/๖๒ ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้รายนี้จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฟื้นฟูกิจการที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้


คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒๑๗/๒๕๔๘** มูลหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงได้รับการคุ้มครองสิทธิด้วยการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา ๙๐/๒๗ อยู่แล้ว ทั้งหนี้ของผู้ร้องเกิดจากการชำระเงินซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากการประกาศขายของลูกหนี้ แต่ไม่มีการส่งมอบหรือโอนกรรมสิทธิ์ให้ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของลูกหนี้ โดยมีเจ้าหนี้อีกหลายรายที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ร้องที่ต้องจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้เดียวกันและตาม มาตรา ๙๐/๔๒ ทวิ และมาตรา ๙๐/๔๒ ตรี สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน การยกเลิกข้อจำกัดสิทธิให้แก่ผู้ร้องจึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันและไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหนี้รายอื่นในกลุ่มเดียวกัน การจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงยังมีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการ



อ้างอิง : คำบรรยายเนติฯ ฟื้นฟูกิจการ อ.เอื้อนฯ

-------------------

แนะนำ :-

         - ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปย่อ ฎีกา5 ดาว เก็งท่องพร้อมสอบรายข้อ เตรียมสอบเนติฯ ภาค 2 อัพเดทที่ ...   https://www.lawsiam.com/?name=thaibar2

       -  ร่วมสนับสนุนเว็บไซต์ ดาวน์โหลด ถอดเทปเนติ สรุปประเด็น เก็งก่อนสอบ อัพเดทที่....  https://www.lawsiam.com/?file=donate

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ10 ทรัพย์สินทางปัญญา สมัยที่72

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ10 ทรัพย์สินทางปัญญา สมัยที่72


เก็งแพ่ง ข้อ10 ทรัพย์สินทางปัญญา


รายละเอียด...

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ9 การค้าระหว่างประเทศ สมัยที่72

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง สมัยที่72

ข้อ9 การค้าระหว่างประเทศ




ข้อ9 การค้าระหว่างประเทศ เก็งออกสอบ

เก็งเนติการค้าระหว่างประเทศ


สรุปเนติ ข้อ9 การค้าระหว่างประเทศ

เก็งข้อ9  การค้าระหว่างประเทศ

เก็งเนติ แพ่ง

เก็งเนติบัณฑิต ข้อ9 การค้าระหว่างประเทศ

เก็งเนติ

รายละเอียด...


เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ8 ครอบครัว-มรดก สมัยที่72

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ8 ครอบครัว-มรดก สมัยที่72


เก็ง ครอบครัว - มรดก ข้อ8

เก็งครอบครัว - มรดก

เก็งเนติบัณฑิต ครอบครัว - มรดก

สรุปเนติ ครอบครัว - มรดก

เก็ง เนติ ข้อ8 แพ่ง

เก็งข้อ8 แพ่ง เนติ

สรุป เก็ง ข้อ8 แพ่ง

รายละเอียด...

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ7 หุ้นส่วน-บริษัท สมัยที่72

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ7 หุ้นส่วน-บริษัท สมัยที่72








รายละเอียด...

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ 6 ตั๋วเงิน สมัยที่72

เก็งเนติ ที่ออกสอบ แพ่ง ข้อ 6 ตั๋วเงิน สมัยที่72



เก็งตั๋วเงิน เนติ

เก็งตั๋วเงิน เนติบัณฑิต

เก็งแพ่ง

เก็งข้อ 6 แพ่ง ตั๋วเงิน

รายละเอียด..