เนติบัณฑิต เก็งเนติ เตรียมสอบ เนติบัณฑิต ภาค1-2 สมัยที่ 74

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สรุปขอบเขตแพ่ง เตรียมสอบเนติบัณฑิต สมัยที่ 71



สรุปขอบเขตแพ่ง เตรียมสอบเนติบัณฑิต


ภาพรวมขอบเขตมาตราสำคัญๆ เนื้อหาหลัก ในการสอบเนติบัณฑิต กลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภาค1 สมัยที่ 71
----------------------- 


⚖️ ข้อที่ 1 วิชาทรัพย์ ที่ดิน (ม.137-148,1298-1434)
1. ส่วนควบ  มาตรา 144 + มาตรา 145 + มาตรา 146
2. การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์  มาตรา 1299 + มาตรา 1300
3. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มาตรา 1304 + มาตรา 1305 + มาตรา 1306 + มาตรา 1307
4. ที่งอกริมตลิ่ง  มาตรา 1308
5. ปลูกโรงเรือนในที่ดิน หรือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น  มาตรา 1310 + มาตรา 1311 + มาตรา 1312
6. ทางจำเป็น  มาตรา 1349 + มาตรา 1350 + มาตรา 1351
7. ภาระจำยอม  มาตรา 1387 + มาตรา 1388 + มาตรา 1390 + มาตรา 1391 + มาตรา 1396 + มาตรา 1399 + มาตรา 1400 + มาตรา 1401
8. กรรมสิทธิ์รวม  มาตรา 1357 + มาตรา 1358 + มาตรา 1359 + มาตรา 1361 + มาตรา 1363
9. สิทธิครอบครอง มาตรา ที่สำคัญ
   การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง มาตรา 1367 + มาตรา 1368 + มาตรา 1369 + มาตรา 1373
   การถูกรบกวน การแย่ง และการเปลี่ยนการยึดถือ มาตรา 1374 + มาตรา 1375 + มาตรา 1381
   การสิ้นสุดของสิทธิครอบครอง มาตรา 1377 + มาตรา 1378 + มาตรา 1379
10. ครอบครองปรปักษ์  มาตรา 1382



⚖️ ข้อที่ 2 หนี้ นิติกรรม สัญญา
นิติกรรม
1. หลักทั่วไป  คือ มาตรา 149
2. นิติกรรมที่เป็นโมฆะกรรม มาตรา 150 + มาตรา 152 + มาตรา 154 + มาตรา 155 + มาตรา 156
3. นิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรม  มาตรา 153 + มาตรา 157 + ( มาตรา 159 + มาตรา 160 + มาตรา 161 + มาตรา 163 ) + ( มาตรา 164 + มาตรา 165 )
4. ความสำคัญผิดโดยประมาท  มาตรา 158
5. ชุดโมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม มาตรา 172 + มาตรา 174 + มาตรา 175 + มาตรา 176 + มาตรา 177 + มาตรา 181

สัญญา
1. หลักทั่วไป  ( มาตรา 354+ มาตรา 355 + มาตรา 356 ) + ( มาตรา 357 + มาตรา 358 + มาตรา 359 ) + มาตรา 361
2. สัญญาต่างตอบแทน  มาตรา 369 + มาตรา 370 + มาตรา 371 + มาตรา 372ต้องดูคู่กับ มาตรา 217 + มาตรา 218 + มาตรา 219 ด้วยเสมอ
3. มัดจำและเบี้ยปรับ  มาตรา 377 ( มัดจา ) + มาตรา 379 + มาตรา 380 + มาตรา 381 + มาตรา 382 ( เบี้ยปรับ )
4. การเลิกสัญญา  มาตรา 386 + มาตรา 387 + มาตรา 388 + มาตรา 389 + มาตรา 391


หนี้
1. ผิดนัด แยกได้ดังนี้
   1.1 ลูกหนี้ผิดนัด  มาตรา 203 + มาตรา 204 + มาตรา 206…. มาตรา 205 เป็นข้อยกเว้น
   1.2 เจ้าหนี้ผิดนัด  มาตรา 207 + มาตรา 210 มาตรา 211 + มาตรา 212 เป็นข้อยกเว้น
2. สิทธิของเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด
   2.1 สิทธิในการที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชาระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง ตาม มาตรา 213
   2.2 สิทธิในการที่จะให้ชาระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง ตาม มาตรา 214
   2.3 สิทธิในการที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดจากการที่ลูกหนี้ผิด นัดไม่ชาระหนี้ ตาม มาตรา 215
   2.4 สิทธิในการบอกเลิกสัญญา ตาม มาตรา 387 + มาตรา 388
3. ความรับผิดของลูกหนี้  มาตรา 217 + มาตรา 218 + มาตรา 219 สามารถโยง มาตรา 370 + มาตรา 371 + มาตรา 372 ได้ ในเรื่องสัญญา
4. เครื่องมือของเจ้าหนี้ในการที่จะบังคับให้สมดังสิทธิของเจ้าหนี้
   4.1 รับช่วงสิทธิ  มาตรา 226 + มาตรา 227 + มาตรา 228 + มาตรา 230
   4.2 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้  มาตรา 233 + มาตรา 235 + มาตรา 236
   4.3 เพิกถอนการฉ้อฉล  มาตรา 237 + มาตรา 238
5. เจ้าหนี้ร่วมลูกหนี้ร่วม  มาตรา 290 + มาตรา 291 + มาตรา 292 + มาตรา 294 + มาตรา 296 + มาตรา 300 + มาตรา 301
6. โอนสิทธิเรียกร้อง  มาตรา 303 + มาตรา 304 + มาตรา 306 + มาตรา 308
7.ความระงับแห่งหนี้ (เน้นออกสอบเสมอ**)
   7.1 หักกลบลบหนี้  มาตรา 341 + มาตรา 342 + มาตรา 344 + มาตรา 345 + มาตรา 346
   7.2 แปลงหนี้ใหม่  มาตรา 349 + มาตรา 350 + มาตรา 351
   7.3 หนี้เกลื่อนกลืนกัน  มาตรา 353


⚖️ ข้อที่ 3 ละเมิด
1. การทำละเมิด  มาตรา 420 + มาตรา 421 + มาตรา 422 + มาตรา 423
ข้อสังเกต หลักตามมาตรา 420 ต้องเขียนวางหลักไว้เสมอ***

2. บุคคลที่เป็นคนทำละเมิดและบุคคลที่จะต้องร่วมรับผิด แยกพิจารณาดังนี้
2.1. มาตรา 425 นายจ้างรับผิดร่วมกับลูกจ้าง
2.2 มาตรา 427  ผู้ที่ทำละเมิด ก็คือ ตัวแทน ผู้ร่วมรับผิด ก็คือ ตัวการ แล้วให้นำเอา มาตรา 425 กับ มาตรา 426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
2.3 มาตรา 428   ผู้ที่ทำละเมิด ก็คือ ตัวผู้รับจ้างทำของ ผู้ที่ร่วมรับผิดนั้น คือ ตัวผู้ว่าจ้างทาของ
2.4 มาตรา 429 ผู้ทำละเมิด คือ ตัวผู้เยาว์ หรือ ตัวของ ผู้วิกลจริต ผู้ที่ต้องร่วมรับผิด ก็คือ บิดามารดา หรือ ผู้อนุบาล
2.5 มาตรา 430 ผู้ทำละเมิด คือ ตัวผู้เยาว์ หรือ ผู้วิกลจริต ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้ร่วมรับผิดด้วย ก็คือ ครูบาอาจารย์ หรือ นายจ้าง ผู้รับดูแล
2.6 มาตรา 432 เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด เป็นกรณีที่บุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน
2.7 มาตรา 433 เป็นกรณีที่สัตว์ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมา (สัตว์ไม่สามารถทำละเมิดได้) ผู้เป็นเจ้าของ หรือ ผู้ที่รับรักษาไว้แทนเจ้าของ ต้องรับผิด
2.8 มาตรา 434  ความเสียหายจะเกิดขึ้นมาจาก โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง ชารุดบกพร่อง
2.9  มาตรา 436  ความเสียหายเกิดขึ้นจากของตกหล่นจากโรงเรือน ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ บุคคลที่อยู่ในโรงเรือน นั้นๆ
2.10  มาตรา 437 ความเสียหาย เกิดจาก  ก.) ยานพาหนะ ที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล  ข.) ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ
3. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด ออกสอบเสมอ**
    มาตราที่สำคัญๆ คือ มาตรา 438 + มาตรา 442 + (มาตรา 443 +มาตรา 445) + ( มาตรา 444 + มาตรา 445 + มาตรา 446)
    ข้อสังเกต** บางสมัยข้อ 3 ออกเรื่องหนี้ เป็นหลัก** ลองดูข้อสอบย้อนหลัง



⚖️ ข้อที่ 4 ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
ซื้อขาย
1. คำมั่น  มาตรา 454
2. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มาตรา 456
3. ชุดสัญญาจะซื้อจะขาย  มาตรา 456 วรรค 2
4. โอนกรรมสิทธิ์  มาตรา 458 – มาตรา 460
5. หน้าที่ของผู้ขาย  มาตรา 461 + มาตรา 465 + ม466
6. ความรับผิดเพื่อชารุดบกพร่องของผู้ขาย  มาตรา 472 + มาตรา 473
7. ความรับผิดในการรอนสิทธิ์ของผู้ขาย  มาตรา 475 + มาตรา 479
8. ขายฝาก  มาตรา 491 + มาตรา 492 + มาตรา 493 + (มาตรา 494 + มาตรา 496 ) + มาตรา 497 + มาตรา 498 + มาตรา 499
เช่าทรัพย์
1 หลักทั่วไป  มาตรา 537 + มาตรา 538
2 เช่าช่วง มาตรา 544 + มาตรา 545 **
3 สัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่า เป็นหลักจากคำพิพากษา ***
4 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่า  มาตรา 546 + มาตรา 548 + มาตรา 549 + มาตรา 550 +มาตรา 551
5 หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่า มาตรา 552 + มาตรา 554 + มาตรา 556 + มาตรา 557 + มาตรา 558 + มาตรา 560
6 ความระงับของสัญญาเช่า  มาตรา 564 + มาตรา 566 + มาตรา 569 + มาตรา 570

เช่าซื้อ
1 หลักทั่วไป  มาตรา 572
2 สิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อ  มาตรา 573
3 ชุดสิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าซื้อ  มาตรา 574



⚖️ ข้อที่ 5 ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนา
ยืม
1  ยืมใช้คงรูป มาตรา ( มาตรา 640 + มาตรา 641 ) + ( มาตรา 643 + มาตรา 644 + มาตรา 645 ) + มาตรา 646
2  ยืมใช้สิ้นเปลือง  มาตรา 653**
ค้ำประกัน ( มีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใหม่)
1 หลักทั่วไป คือ มาตรา 680 + มาตรา 681 + มาตรา 682 + มาตรา 683 + มาตรา 685
2 ผลก่อนที่ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มาตรา 686 + มาตรา 687 + มาตรา 688 + มาตรา 689 + มาตรา 690 + มาตรา 691
3 ผลภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว… มาตรา 693 + มาตรา 694 + มาตรา 695 + มาตรา 696 + มาตรา 697
4 ความระงับไปของการค้ำประกัน  มาตรา 698 + มาตรา 699 + มาตรา 700 + มาตรา 701
                ข้อสังเกต มาตราที่สำคัญ* ตามพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2557)  มาตรา 681 , 681/1 , 685/1 , 686 , 691 , และ มาตรา 700

จำนอง ( มีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใหม่)
1. หลักทั่วไป มาตรา 702 + มาตรา 705 + มาตรา 710 + มาตรา 711 +มาตรา 712 + มาตรา 714
2. สิทธิจำนองครอบเพียงใด มาตรา 716 + มาตรา 717 + (มาตรา 718 +มาตรา 719 + มาตรา 720 + มาตรา 721
3. สิทธิหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง  มาตรา 722 + มาตรา 723 + มาตรา 724 + มาตรา 725 + มาตรา 726 + มาตรา 727
4. บังคับจำนอง มาตรา 728 + มาตรา 729 ++ มาตรา 733 + มาตรา 734 + มาตรา 735
5. การระงับสิ้นไปของสัญญาจำนอง  มาตรา มาตรา 744 + มาตรา 745
            ข้อสังเกต มาตราที่สำคัญ* ตามพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2557)  มาตรา 714/1 , 727 , 727/1, 728 , 729 , 729/1, 735 , 737, 744 )

จำนำ
1 หลักทั่วไป  มาตรา 747
2 สิทธิหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ มาตรา 758 + มาตรา 759 + มาตรา 760
3 บังคับจำนำ ( มาตรา 764 + มาตรา 765 ) + มาตรา  767 + มาตรา 768



⚖️ ข้อที่ 6 ตั๋วเงิน
ตั๋วแลกเงิน
1. หลักทั่วไป มาตรา 899 + มาตรา 900
2. ผู้ทรง มาตรา 904 + มาตรา 905 + มาตรา 927 + มาตรา 928 + มาตรา 929 + มาตรา 941 + มาตรา 943 + มาตรา 944 + มาตรา 948 + มาตรา 959 + มาตรา 967 + มาตรา 973
3. ผู้สลักหลังมาตรา 900 + มาตรา 914 + มาตรา 916 + มาตรา 967 + มาตรา 971 + มาตรา 973
4. ผู้อาวัล มาตรา 900 + มาตรา 916 + มาตรา 921 + มาตรา 938 + มาตรา 939 + มาตรา 940 + มาตรา 967 + มาตรา 973
5. ผู้รับรอง มาตรา 900 + มาตรา 927 + มาตรา 928 + มาตรา 929 + มาตรา 967 + มาตรา 971 + มาตรา 973
6. ผู้จ่ายมาตรา 949 + มาตรา 1009
7. ยกข้อต่อสู้ขึ้นสู้ผู้ทรง มาตรา 916

เช็ค
1. แบบพิมพ์ของเช็ค มาตรา 987 + มาตรา 988
2. ให้นำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้ในเรื่องเช็คด้วย มาตรา 989 เป็นมาตราที่เป็นเชื่อมไปสู่ตั๋วแลกเงิน
3. การยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงิน  มาตรา 990
4. อำนาจหน้าที่ของธนาคารในการจ่ายเงินตามเช็ค  มาตรา 991 + มาตรา 992
5. การรับรองเช็ค มาตรา 993
6. เช็คขีดคร่อม มาตรา 994 + มาตรา 995 + มาตรา 996 + มาตรา 997 + มาตรา 998 + มาตรา 1000
7. อายุความ มาตรา 1001 + มาตรา 1002 + มาตรา 1003 + มาตรา 1004 + มาตรา 1005
8. ตั๋วปลอม มาตรา 1006 + มาตรา 1007 + มาตรา 1008



⚖️ ข้อที่ 7 หุ้นส่วน บริษัท
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
1. หลักห้างหุ้นส่วนสามัญ  มาตรา 1012 + มาตรา 1025 + มาตรา 1026
2. ความสัมพันธ์กันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน (มาตรา 1026 + มาตรา 1027 + มาตรา 1028 + มาตรา 1029 ) ( มาตรา 1044 + มาตรา 1045 ) ( มาตรา 1033 + มาตรา 1034 + มาตรา 1035)
3. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน กับ บุคคลภายนอก ( มาตรา 1049 + มาตรา 1050 + มาตรา 1051 + มาตรา 1052 + มาตรา 1053 + มาตรา 1054)
4. การเลิก และ การชาระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
1. เรื่องการถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก มาตรา 1065
2. เรื่องความรับผิดเมื่อได้ออกไปจากห้างฯแล้ว มาตรา 1068

ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. บ่อเกิดของห้างฯจำกัด  มาตรา 1077 + มาตรา 1079
2. กรณีนำเรื่องห้างสามัญมาใช้  มาตรา 1080
3. หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด  มาตรา 1081 + มาตรา 1082 + มาตรา 1088 + มาตรา 1092 + มาตรา 1093 + มาตรา 1094 + มาตรา 1095
4). หุ้นส่วนจำพวกไม่จากัดความรับผิด  มาตรา 1080 + มาตรา 1087

บริษัท***
1. หลักทั่วไป บริษัท มาตรา 1012 + มาตรา 1096 + มาตรา 1097
2. การดำเนินการก่อตั้งบริษัท  มาตรา 1097 + มาตรา 1099 + มาตรา 1100 + มาตรา 1104 + มาตรา 1105 + มาตรา 1107 + มาตรา 1108 + มาตรา 1110 + มาตรา 1111 + มาตรา 1112
3. ความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ  มาตรา 1113
4. เพิกถอนการซื้อหุ้นไม่ได้  มาตรา 1114
5. หุ้นและผู้ถือหุ้น  มาตรา 1117 + มาตรา 1118 + มาตรา 1119 + ( มาตรา 1123 + มาตรา 1124 + มาตรา 1126 ) ( มาตรา 1129 + มาตรา 1130 ) ออกสอบเสมอ**
6. กรรมการบริษัท  มาตรา 1144 + มาตรา 1151 + มาตรา 1154 + มาตรา 1167 + มาตรา 1169
7. ประชุมใหญ่  มาตรา 1171 + มาตรา 1172 + มาตรา 1173 + มาตรา 1174 + มาตรา 1175 + มาตรา 1178 +1179 + มาตรา 1182 + มาตรา 1183 + มาตรา 1184 + มาตรา 1185 + มาตรา 1194 + มาตรา 1195



⚖️ ข้อที่ 8 ครอบครัว มรดก
ครอบครัว
1. การหมั้น มาตรา 1435, มาตรา 1436, มาตรา 1437, มาตรา 1439
2. การสมรสที่เป็นโมฆะ มาตรา 1449 + มาตรา 1450 + มาตรา 1452 + มาตรา 1458 + มาตรา 1496 + มาตรา 1497 + มาตรา 1499
3. ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน มาตรา 1465 , มาตรา 1466 ,มาตรา 1469 , มาตรา 1471 ,มาตรา 1474 , มาตรา 1476 ,1มาตรา  480
4. บุตรบุญธรรม มาตรา 1598/19 ,มาตรา 1598/20, มาตรา 1598/21, มาตรา 1598/25, มาตรา 1598/27, มาตรา 1598/28, มาตรา  1598/32
5. การสิ้นสุดแห่งการสมรส 1501 ,1514, 1516


มรดก
1. ทรัพย์ที่ตกเข้าสู่กองมรดก  มาตรา 1599 + มาตรา 1600
2. ทายาทโดยธรรมผู้ที่มีสิทธิรับมรดก  มาตรา 1603 + มาตรา 1604 + มาตรา 1607 +มาตรา 1615 + มาตรา 1629 +มาตรา 1630 วรรค 2 + มาตรา 1639
3. ทายาทโดยธรรมที่ไม่มีสิทธิรับมรดก  มาตรา 1604 + ( มาตรา  1605 + มาตรา 1606 ) + มาตรา 1608 + ( มาตรา 1615 +มาตรา 1617
4. พระภิกษุ  มาตรา 1622 + มาตรา 1623 + มาตรา 1624
5. สิทธิในการรับมรดกและการแบ่งมรดก  มาตรา 1620 + มาตรา 1630วรรค 2 + มาตรา 1633 + มาตรา 1635
6. การรับมรดกแทนที่  มาตรา 1631 + มาตรา 1639 + มาตรา 1640 + มาตรา 1641มาตรา 1642 + มาตรา 1643 + มาตรา 1644 + มาตรา 1645
7. การเข้าสืบมรดก  มาตรา 1607 + มาตรา 1615
8. ทายาทโดยพินัยกรรม ( ผู้รับพินัยกรรม  มาตรา 1652+มาตรา 1653+มาตรา 1656+มาตรา 1657+มาตรา 1670+มาตรา 1705


⚖️ ข้อที่ 9 การค้าระหว่างประเทศ
พ.ร.บ. รับขนทางทะเล
มาตรา 3 ผู้ขนส่ง คือ บุคคลซึ่งประกอบการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ โดยทำสัญญากับผู้ส่งของ
ผู้ขนส่งอื่น คือ บุคคลซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำ
การขนส่งของตามสัญญานั้นแม้เพียงชั่วระยะทาง และให้รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไป
ผู้ส่งของ คือ บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งในสัญญารับขนของทางทะเล
ภาชนะขนส่ง คือ ตู้สินค้า / ไม้รองสินค้า / สิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งใช้บรรจุ / รองรับของ / ใช้รวมหน่วยการขนส่ง
ของหลายหน่วยการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล
หน่วยการขนส่ง คือ หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง + แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ / ชิ้น / ถัง / ตู้ / ม้วน / ลัง / ลูก / ห่อ / หีบ / อัน / หน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
มาตรา 8 ก่อนบรรทุกของลงเรือ / ก่อนที่เรือนั้นจะออกเดินทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้อง (1) ทำให้เรือมีสภาพดี (2) จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ / เครื่องใช้ / เครื่องอุปกรณ์ + สิ่งจำเป็นให้เหมาะสม (3) จัดระวางบรรทุกให้เหมาะสม + ปลอดภัย + รักษาอุณหภูมิ
มาตรา 10 ผู้ขนส่งต้องใช้ความระมัดระวัง + ปฏิบัติการให้เหมาะสมในการบรรทุก / การยกขน / การเคลื่อนย้าย / การเก็บรักษา
มาตรา 11 ผู้ขนส่งมีสิทธิบรรทุกของบนปากระวางเฉพาะในกรณีที่ได้ตกลงกันไว้
มาตรา 17 ข้อกำหนดใดในสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งมีวัตถุประสงค์ /มีผล ดังต่อไปนี้ เป็นโมฆะ
(1) ปลดเปลื้องผู้ขนส่งจากหน้าที่ / ความรับผิดใดๆตามที่กฎหมายกำหนด
(2) กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งให้น้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน มาตรา 48, 60 แต่ไม่ตัดสิทธิให้กำหนดความรับผิดมากขึ้น
(3) ปัดภาระการพิสูจน์ กรณีที่กำหนดให่เป็นหน้าที่ของผู้ขนส่ง
(4) ให้ผู้ขนส่งเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันภัย
มาตรา 31 ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่ง / ผู้ขนส่งอื่น ได้รับความเสียหาย / การที่เรือเสียหาย เว้นแต่เป็นความผิด / ประมาทของผู้ส่งของ /ตัวแทน /ลูกจ้าง / จากสภาพแห่งของนั้น โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามประเพณีแห่งการค้า
มาตรา 39 ความรับผิดของผู้ขนส่ง ต้องรับผิดในความเสียหายระหว่างที่ของอยู่ในการดูแลของตน
มาตรา 40 กรณีที่ถือว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของแล้ว
มาตรา 43 ผู้ขนส่งยังคงรับผิดเพื่อการเสียหาย สูญหาย หรือส่งมอบชักช้าแม้จะได้มอบหมายให้ผู้ขนส่งอื่น
มาตรา 44 นำบทบัญญัติความรับผิดของผู้ขนส่งมาใช้กับผู้ขนส่งอื่น เฉพาะที่ผู้ขนส่งอื่นได้รับมอบหมาย
มาตรา 45 กรณีรับผิดร่วมกันให้ผู้ขนส่งอื่นเป็นลูกหนี้ร่วม
มาตรา 48 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับตราส่งต้องส่งคำบอกกล่าวเป้นหนังสือ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับของ
มาตรา 51 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าปฏิบัติตาม มาตรา 8 วรรคสอง และมาตรา 9 แล้ว
มาตรา 52 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด (1) เหตุสุดวิสัย (9) ความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง (10) สภาพแห่งของนั้น
มาตรา 57 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดหากของที่ส่งนั้นเป็นของมีค่าแต่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งมิได้แจ้ง
มาตรา 58 จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาท / หนึ่งหน่วยการขนส่ง , กิโลกรัมละ 30 บาท
มาตรา 59 ในการคำนวณว่าเงินจำนวนใดจะมากกว่าตาม มาตรา 58 ให้ใช้หลักดังนี้
(1) กรณีรวมหลายหน่วยการขนส่งเป็นหน่วยเดียวกัน ถ้าระบุจำนวน + ลักษณะที่รวมกันไว้ในใบตราส่ง ให้ถือตามที่ระบุ แต่ถ้าไม่ระบุ ให้ถือว่าของทั้งหมดเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง
(2) กรณีตัวภาชนะขนส่งสูญหาย / เสียหาย ถ้าผู้ขนส่งไม่ได้เป็นเจ้าของ / ผู้จัดหา ถือว่าภาชนะขนส่งอันหนึ่งเป็นของหนึ่งหน่วยการขนส่งอีกต่างหากจากที่มีอยู่ใน / บนภาชนะขนส่งนั้น
มาตรา 60 การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม มาตรา 48 มิให้ใช้บังคับ กรณีดังต่อไปนี้
(1) การสูญหาย / เสียหาย / ส่งมอบชักช้า เป็นผลจากการที่ผู้ขนส่ง / ตัวแทน / ลูกจ้าง กระทำ / งดเว้นกระทำ โดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย / เสียหาย / ส่งมอบชักช้า ทั้งที่รู้ว่าอาจเกิดขึ้นได้
(2) ผู้ส่งของ + ผู้ขนส่งตกลงกันกำหนดความรับผิดไว้มากกว่าที่กำหนดตาม มาตรา 58 โดยระบุไว้ในใบตราส่ง
(3) ผู้ขนส่งได้จดแจ้งรายการใดๆ ไว้ในใบตราส่งตามที่ผู้ส่งของแจ้ง / จัดให้โดยไม่บันทึกของสงวนเกี่ยวกับรายการนั้นไว้ ในใบตราส่ง ทั้งนี้ โดยมีเจตนาที่จะฉ้อฉลผู้รับตราส่ง
(4) ผู้ส่งของได้แจ้งราคาของที่ขนส่งให้ผู้ขนส่งทราบ + ผู้ขนส่งยอมรับโดยแสดงราคาของนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่ถ้าราคาที่คำนวณได้ตาม มาตรา 61 ต่ำกว่าราคาที่แสดงในใบตราส่ง ให้ผู้ขนส่งรับผิดเพียงเท่าราคาที่คำนวณได้
มาตรา 61 การคำนวณราคาของที่สูญหาย /เสียหาย ตาม มาตรา 58 ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ถ้าสูญหาย / เสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่ของส่งมอบ ณ ปลายทาง
(2) ถ้าสูญหาย / เสียหายบางส่วน ให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกัน + คุณภาพเท่าเทียมกัน ที่ยังเลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ปลายทาง

⚖️ ข้อที่ 10 ทรัพย์สินทางปัญญา
1. ติดตามสรุปรวมคำบรรยายท่องก่อนสอบ ตามแนวการบรรยายในแต่ละสมัย


ดาวน์โหลดถอดเทป เน้นประเด็น เก็งรายข้อ อัพเดททันก่อนสอบ คลิก!




วันเสาร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2561

คำถาม-ธงคำตอบ วิอาญา เนติ 2/70 (PDF)

คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ1) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ2) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ3) ภาค2 สมัยที่ 70

.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ4) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ5) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ6) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ7) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ8) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ9) ภาค2 สมัยที่ 70
.
คำถาม-ธงคำตอบ เนติบัณฑิต วิอาญา รายข้อ (ข้อ10) ภาค2 สมัยที่ 70

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปเก็ง ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ สัปดาห์ที่ 10 วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ 23 มค 61 สมัยที่70

สรุปเก็ง ฎีกาห้องบรรยายเนติฯ สัปดาห์ที่ 10 วิแพ่ง ภาค1 อ.สมชัยฯ 23 มค 61 สมัยที่70
 
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2559 คดีมโนสาเร่ กรณีคดีมีประเด็นว่า คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม กรณีย่อมต้องด้วยบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 191 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้องชัดเจนขึ้นก่อน หากโจทก์ไม่ทำการแก้ไขจึงจะถือว่ามีประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยต่อไป แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง ถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุจพินิจพิจารณาแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุมต้องถือว่าประเด็นเรื่องคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ เป็นอันยุติไปตามสภาพที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง จำเลยไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2538 ผู้ร้องทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ช.เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของ ช. และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องทั้งสามมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเมื่อพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้องทั้งสามอีกต่อไปแม้ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นแห่งคดีแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีคดีของผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ถึงที่สุดในการพิจารณาใหม่ศาลชั้นต้นต้องชี้ขาดตัดสินเกี่ยวกับคำร้องสอดของผู้ร้องทั้งสามด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนได้1ส่วนใน5ส่วนการแบ่งที่ดินหากตกลงแบ่งกันไม่ได้ให้เอาที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันระหว่างทายาทตามส่วนอันเป็นการขอให้แบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์มีส่วนได้ในที่ดินมรดก1ส่วนใน5ส่วนและจำเลยไม่ยอมแบ่งที่ดินมรดกให้โจทก์ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษาให้แบ่งตามคำขอของโจทก์

                คำพิพากษาฎีกาที่ 6475/2556 (เน้น***) หลังจากศาลจังหวัดสีคิ้ว (ปากช่อง) มีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 207 /2553 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องในคดีดังกล่าว ขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก และแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกแทน โดยอ้างว่าจำเลยนำพินัยกรรมฉบับแรก (ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2533) ซึ่งเป็นโมฆะแล้ว เพราะถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง มาอ้างต่อศาลเพื่อแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก อันมีพฤติกรรมไม่สุจริตและเท่ากับจำเลยสละสิทธิตามพินัยกรรมฉบับหลังสุด (ลงวันที่ 29 เมษายน 2536) และพินัยกรรมทุกฉบับสิ้นผลบังคับเพราะล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล จึงถือได้ว่าเป็นคำฟ้อง คำคัดค้านของจำเลยจึงเป็นคำให้การ แม้คดีดังกล่าวจะมีประเด็นข้อพิพาทว่า ใครสมควรเป็นผู้จัดการมรดก แต่การที่ศาลจังหวัดสีคิ้วจะมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดกันมรดก หรือแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนใหม่หรือไม่นั้น ศาลในคดีดังกล่าวก็จะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่าพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 ที่ผู้ตายระบุตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้นเป็นโมฆะหรือสิ้นผลบังคับแล้วตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างหรือไม่ คดีนี้ โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุทำนองเดียวกันกับคดีดังกล่าวว่า จำเลยใช้พินัยกรรมที่ถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังแล้วยื่นต่อศาลขอให้แต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าว ถือว่าจำเลยมีเจตนาไม่สุจริต ขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะ และให้แบ่งที่ดินมรดกแก่โจทก์ทั้งสอง แม้โจทก์ทั้งสองในคดีนี้จะมีคำขอให้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองด้วย แต่ศาลชั้นต้นก็จะต้องพิจารณาให้ได้ความเสียก่อนว่า พินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะหรือสิ้นผลบังคับแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 207/2553 ของศาลจังหวัดสีคิ้ว เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นด้วยกันและมีประเด็นจะต้องวินิจฉัยในเรื่องเดียวกับคดีนี้ฟ้องคดีนี้ ฟ้องคดีนี้ของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2558 ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังฟ้อง และร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นไปเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตน โดยไม่ได้ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น คำขอบังคับของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอด และห้ามโจทก์กับจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด เท่ากับเป็นการตั้งประเด็นฟ้องทั้งโจทก์และจำเลย และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง คดีร้องสอดคดีนี้จึงเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีใหม่และเป็นอีกคดีหนึ่งแยกกันได้กับคดีเดิม อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การแก้ร้องสอดได้ ผู้ร้องสอดจะยกข้อต่อสู้ที่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีเดิมมาเป็นข้อต่อสู้ของตนในคดีร้องสอดและฟ้องแย้งนี้ไม่ได้
                ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
                ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด กับห้ามโจทก์และจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด และที่โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งในคดีร้องสอด ก็เป็นไปเพื่อเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นการเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ที่มีผลให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย แล้วโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามคำฟ้องอีกทอดหนึ่ง ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจึงไม่ใช่พิพาทกันด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือของผู้ร้องสอด คดีร้องสอดและฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) (ก).
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2552 ประเด็นข้อพิพาทในคดีจะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ เป็นข้อสำคัญ มิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้พยานโจทก์จะได้เบิกความถึงว่า มีการเสนอว่าจะให้ค่าทดแทนแก่จำเลยแล้วก็ตาม แต่ในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้มีการเสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 หรือไม่ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวเสียแล้ว ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามฟ้องโจทก์และกำหนดค่าทดแทนเพื่อให้โจทก์ชำระแก่จำเลยได้เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2553 จำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์จำเลย 40,000 บาท แต่โจทก์กลับนำแบบพิมพ์หนังสือสัญญากูยืมเงินที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ไปกรอกข้อความเป็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ 50,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอม คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 50,000 บาท ตามฟ้องหรือไม่ไม่มีประเด็นว่า จำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วหาได้ไม่ เป็นการนำสืบนอกประเด็น ส่วนที่จำเลยให้การไว้ตอนหนึ่งว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเป็นการให้การประกอบข้ออ้างที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 40,000 บาท มิใช่เป็นการให้การในประเด็นที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินจำนวน 50,000 บาท ที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนตามฟ้องให้โจทก์แล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น


            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17094/2555 คำให้การของจำเลยตอนต้นเป็นการกล่าวให้เห็นที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทว่าเนื่องมาจากการซื้อจากบุคคลภายนอกโดยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันเพื่อให้เห็นเหตุและเจตนาในการเข้าครอบครอง ส่วนที่ให้การต่อมาว่า จากนั้นจำเลยและครอบครัวจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 40 ปี ก็เพื่อให้เห็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแล้วโดยการครอบครอง อันเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทกับโจทก์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ถือว่าขัดแย้งกัน หากแต่เป็นการลำดับที่มาของการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่แรกจนได้กรรมสิทธิ์โดยชัดแจ้ง เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องวินิจฉัยตามประเด็นดังกล่าวซึ่งจะต้องพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ด้วย เพราะหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินเสียแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมิได้วินิจฉัยนอกประเด็น


***ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น* สรุปคำบรรยายเล่ม1-16 ท่องพร้อมสอบ อัพเดทที่ LawSiam.com***

วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

เก็ง วิแพ่ง เนติ ข้อ4. วิธีพิจารณาวิสามัญฯ สมัยที่ 70

           คำพิพากษาหรือคำสั่งโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และคำพิพากษาหรือ คำสั่งอื่นๆ ของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีเดียวกันนั้น และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ตามมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสาม

        คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๓๙๗/๒๕๕๗ มูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่ง ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย ระหว่างการพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ศาลแพ่งมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมถือว่าคำพิพากษาในคดีแพ่งเป็นอันเพิกถอนไปในตัว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐๗ ประกอบมาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสาม โจทก์ไม่อาจนำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลหนี้ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายคงเหลือหนี้อันเป็นมูลฟ้องคดีแพ่งเนื่องมาจากจำเลยผิดสัญญาเช่าที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในคดีแพ่งเท่านั้น


        คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๙๐/๒๕๕๙ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งหากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่น คำให้การและมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามอุทธรณ์ของจำเลย ก็จะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านและที่ดิน กับให้จำเลยอำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นอันต้องถูกเพิกถอน ไปทันที ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเท่ากับเป็นการอุทธรณ์ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัวด้วย จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙ ทั้งไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศาลที่จะเรียก ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2561

เก็งวิแพ่ง เนติ ข้อ9 ฟื้นฟูกิจการ สมัยที่ 70

เก็งวิแพ่ง เนติ ข้อ9. ฟื้นฟูกิจการ สมัยที่ 70
-------------------------

การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน

- การจัดการประชุม
        ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทำแผนนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้อง โฆษณากำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่จะประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผนในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย ๑ ฉบับ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๗ วัน และต้องแจ้งไปยังลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบด้วย (มาตรา ๙๐/๑๘ วรรคหนึ่ง)

- การดำเนินการประชุม
        ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทำแผนนั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธาน ในการประชุมและให้มีรายงานการประชุมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เก็บไว้เป็นหลักฐาน การที่ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในที่ประชุมก็เพื่อควบคุมให้การประชุมนั้นได้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย
        อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ สังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม มิได้เป็นเจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะลงคะแนนเสียงอย่างหนึ่งอย่างใด หรือลงคะแนนเสียงเพื่อชี้ขาดไม่ได้ (มาตรา  ๙๐/๑๘ วรรคสอง)

- เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
        เจ้าหนี้ที่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผนนั้นต้องเป็นเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการและลูกหนี้ได้ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม โดยเจ้าหนี้ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประชุมตามแบบพิมพ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดและได้แสดงหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้จนเป็นที่พอใจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม
        ในการนี้ เจ้าหนี้อื่นหรือลูกหนี้จะขอตรวจหลักฐานแห่งความเป็นเจ้าหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ได้และในการประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้จะออกเสียงด้วยตัวเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาออกเสียงแทนก็ได้ (มาตรา ๙๐/๒๒)

- องค์ประชุม
        กฎหมายไม่ได้กำหนดจำนวนหนี้หรือเจ้าหนี้ที่จะเป็นองค์ประชุมไว้ เพราะฉะนั้น จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเท่าใดและมีจำนวนหนี้เพียงใดก็ตาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก็สามารถดำเนินการประชุมได้ตามกฎหมาย

- การลงคะแนนเสียงของเจ้าหนี้
        ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ทำแผน ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถามลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่มาประชุมว่าจะคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายใดหรือไม่ ถ้ามีผู้คัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายใด ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบถามผู้คัดค้าน เจ้าหนี้ผู้ถูกคัดค้านและลูกหนี้เกี่ยวกับเรื่องที่คัดค้านถ้าบุคคลดังกล่าวมาประชุม แล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายนั้นออกเสียงในจำนวนหนี้ได้หรือไม่ เท่าใด
        คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวให้เป็นที่สุด โดยมีผลเฉพาะให้เจ้าหนี้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ เท่านั้น แต่ไม่มีผลให้มติเลือกผู้ทำแผนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลเปลี่ยนแปลงไปหรือกระทบถึงสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ (มาตรา ๙๐/๒๓)

- การเสนอชื่อผู้ทำแผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้
        เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ที่เสนอชื่อผู้ทำแผนต่อที่ประชุมเจ้าหนี้นั้นจะต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทำแผนด้วย (มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคท้าย)

- มติที่ประชุม
        มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคสอง ในกรณีที่ลูกหนี้มิได้เสนอผู้ทำแผน มติเลือก ผู้ทำแผนต้องเป็นมติของเจ้าหนี้ฝายที่มิจำนวนหนี้ข้างมากฯ ซึ่งได้ออกเสียงลง คะแนนในมตินั้น แต่ในกรณีที่ลูกหนี้เสนอผู้ทำแผนด้วย ให้ผู้ทำแผนที่ลูกหนี้เสนอเป็นผู้ทำแผน เว้นแต่จะมีมติของเจ้าหนี้ฝายที่มีจำนวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสาม ของจำนวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ซึ่งได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นกำหนดให้ บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผน ในการลงมติตามมาตรานี้ให้เจ้าหนี้มีประกันออกเสียงได้ เต็มตามจำนวนหนี้

การรายงานมติที่ประชุมต่อศาล
        เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานผลการประชุมเจ้าหนี้ที่พิจารณาเลือกผู้ทำแผนทุกครั้งต่อศาลภายใน ๓ วัน นับแต่วันประชุม เพื่อให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่ง (มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคหก) หากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเลือกผู้ทำแผนได้ และศาลเห็นชอบด้วย ให้ศาลตั้งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทำแผน หากศาลไม่เห็นชอบด้วยก็ให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเลือกบุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสนอชื่อเป็นผู้ทำแผน (มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคสาม)
        ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทำแผนได้ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้ทำแผนอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่กรณีที่ศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก็ได้ (มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคสี่)


        มาตรา ๙๐/๑๗ วรรคห้า ในการประชุมเจ้าหนี้ในวรรคสามหรือวรรคสี่ ถ้า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติเลือกผู้ทำแทนได้ให้ศาลตั้งบุคคลด้งกล่าวเป็นผู้ทำแผน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควรที่จะไม่ตั้งบุคคลด้งกล่าวเป็นผู้ทำแผนหรือที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่อาจมีมติเลือกผู้ทำแผนได้ ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ กรณีนี้คดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงด้วยคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 สัปดาห์ที่ 8 อ.อรรถนิติ 12 ม.ค. 61 (ภาคปกติ) สมัยที่ 70

สรุปฎีกาห้องบรรยายเนติฯ วิแพ่ง ภาค3 สัปดาห์ที่ 8 อ.อรรถนิติ 12 ม.ค. 61 (ภาคปกติ) สมัยที่ 70

            คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ส่งสำนวนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนหนังสือ รับรองคดีถึงที่สุดที่ศาลชั้นต้นได้ออกให้แก่โจทก์นั้นล้วนเป็นคำสั่งที่ศาล ชั้นต้นได้สั่งหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แล้ว คำสั่งทั้งสองประการดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา อีกทั้งมิได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งทั้งสองดังกล่าวได้

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228
                การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
                จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
                ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน


                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7994/2547 ป.ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ย. จำเลยผู้มรณะโดยต่างคัดค้านซึ่งกันและกันว่าอีกฝ่ายหนึ่งมีคุณสมบัติไม่ เหมาะสม เมื่อไต่สวนพยานของผู้ร้องเสร็จแล้ว ระหว่างไต่สวนพยานของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนคำร้องของผู้คัดค้าน เนื่องจากเห็นว่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้คัดค้านและสั่งอนุญาตให้ ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมทำให้คดีเกี่ยวกับคำร้องขอเข้าเแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านเสร็จไป ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาย่อมอุทธรณ์ได้ทันที เมื่อทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับการจำหน่ายคำร้องขอเข้าแทนที่ผู้มรณะของผู้คัดค้านโดยอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเช่นนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
                ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะซึ่งทนายผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยผู้มรณะ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมนั้นก็เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4057/2540 คำสั่งอันจะถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะคำสั่งที่สั่งก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเท่านั้น แม้ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อจำเป็นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อมีคำสั่งชี้ขาดตามคำขอของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่อีกคำสั่งในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวก่อนมีคำสั่งชี้ขาดคำขอนั้นย่อมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเช่นเดียวกัน ดังนั้น หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ระหว่างการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่24 มกราคม 2538 จึงเป็นคำสั่งในระหว่างที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ก่อนที่จะมีคำสั่งชี้ขาดอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นนัดฟังคำสั่งวันที่ 31 มกราคม 2538 จำเลยจึงมีเวลาถึง7 วัน ที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวได้ แต่หาได้โต้แย้งคัดค้านไม่จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)

                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2516 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) จำเลยจึงอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งดังกล่าวนี้ได้
                ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะศาลหลงผิดว่าโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณา คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 และถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยเรื่องการพิจารณาโดยขาดนัดศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยหลงผิดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 (วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2516)


                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546 คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,173 วรรคสอง (1) และมาตรา 148 นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสองมาตรา 227 และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226


                 ถอดเทปพร้อมเน้นประเด็น สรุปคำบรรยายฯ เก็งพร้อมสอบรายข้อ อัพเดท ที่ LawSiam.com